เจาะเทรนด์การตลาดสุดฮิต "กล่องสุ่ม" วิธีขายแบบใหม่ที่พลิกธุรกิจให้ออเดอร์ปังๆ เปิดทั้งสองมุมมองใครคุ้ม? จะเป็นลูกค้าที่คุ้มเพราะได้ลุ้น หรือแม่ค้าคุ้มเพราะได้ระบายของ?
เหล่าทาสการตลาดทั้งหลาย นอกจากจะโดนโปร 12.12 หรือโปรต่างๆเมื่อหลายเดือนก่อน ที่เป็นโปรโมชันตัวเลขมหัศจรรย์ที่หลายแบรนด์หันมาใช้เพื่อสร้างความสนใจให้กับลูกค้า มาคราวนี้ก็ถึงทีของ "กล่องสุ่ม" บ้าง ที่ตอนนี้ดูจะเป็นอีกหนึ่งสินค้าฮิตในประเทศไทย เพราะไม่ใช่เพียงในร้านเสื้อผ้าหรือสกินแคร์เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายธุรกิจที่หันมาใช้เทคนิคนี้ในการทำให้ยอดขายปังและออเดอร์ไหลรัวๆ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ฟิ้วซ์โพสต์ ขนส่งควบคุมอุณหภูมิจัดแคมเปญแจกกล่องสุ่มกระตุ้นตลาด
กล่องสุ่มพิมรี่พาย กล่องละ 1 แสน ผิดกฏหมายหรือไม่? คุ้มค่ากับใคร มากกว่ากัน
เที่ยวทั้งที ต้องมีลุ้น Lucky Travel Box “กล่องสุ่มท่องเที่ยว”
ผงะ! สาวโพสต์ สั่งกล่องสุ่ม"หมูกระทะ" แต่ของที่ได้กลับไม่ตรงปก
พี่เดย์ทุกอย่าง20 เปิดกลยุทธ์การตลาด "กล่องสุ่ม" ขยายฐานลูกค้าออนไลน์
กล่องสุ่มกลายเป็นสินค้าที่คนไทยรู้จักมากขึ้นในช่วงนี้ และเทรนด์การตลาดนี้ก็มาจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีมานานตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับ Lucky Bag ที่ญี่ปุ่นเรียกว่า ฟุกุบุคุโระ หรือ สินค้าที่วางขายโดยการคละสินค้าไว้ในถุง และผู้ซื้อไม่รู้ว่าข้างในนั้นมีอะไร
สำหรับประเทศไทยนั้นเทรนด์กล่องสุ่มเริ่มได้รับความสนใจเมื่อปี 2562 มาจากบรรดายูทูบเบอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ เปิดกล่องสุ่มจากต่างประเทศ และก็เริ่มมาบูมมากขึ้นในปี 2564 นี้ และสินค้ามีหลายประเทศ เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง อาหารทะเล หมูกระทะ ขนม เป็นต้น
ต้องบอกก่อนว่าการได้รับ "ความท้าทาย ความหวัง และความไม่คาดคิดมาก่อน" เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้ชื่นชอบสินค้าประเภทนี้ต้องการได้รับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Harvard Business Review สรุปผลการศึกษาได้ว่า ความตื่นตาตื่นใจหรือความเซอร์ไพรส์ คือเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลัง
โดยสรุปได้ว่า “การไม่รู้ และอยากรู้” คือแรงกระตุ้นอย่างร้ายกาจในตัวมนุษย์ จึงไม่แปลกว่าทำไมคนเราจึงชอบหมุนกาชาปอง เซอไพรส์วันเกิด และซื้อกล่องสุ่ม ที่ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งของข้างใน
1.ความสนุก
กล่องสุ่ม เป็นระบบที่สำหรับคนชื่นชอบกาชาปองจะเข้าใจข้อนี้ได้ดี เพราะเป็นเสมือนการเสี่ยงโชคอย่างหนึ่ง ซึ่งการได้เปิดกล่องเรื่อยๆ โดยที่เราไม่รู้ว่าด้านในมีอะไรนั้น จะคล้ายกับการเล่นเกมที่ต้องทำเควสต่อไปเรื่อยๆ โดยที่เราไม่รู้นั้นเป็นสิ้นที่หลายคนชื่นชอบ
2.ความหวัง
กล่องสุ่ม เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่เมื่อเราไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ภายใน ทำให้ความคาดหวังในใจสูงขึ้น ซึ่งกล่องสุ่มมีความเสี่ยงของมัน บางครั้งอาจเปิดเจอของดี บางครั้งอาจเจอความผิดหวัง แต่กระนั้นการได้เปิดก็ยังคงเป็นเรื่องท้าทาย
3.ความเลียนแบบ
กล่องสุ่ม เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมมาจากคนดัง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเกิดจากการเสพคลิปวิดีโอการเปิดกล่องสุ่มของยูทูบเบอร์ และก็มีความคิดที่อยากลองเปิดบ้าง ซึ่งคลิปวิดีโอประเภทดังกล่าวก็นับว่าเป็นการตลาดอย่างหนึ่งเช่นกัน
หากเมื่อเราถามถึงความคุ้มค่าของการซื้อกล่องสุ่มแล้ว อาจจะไม่ได้มีตัวเลขที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุผลใดทำไมต้องซื้อ และอาจตอบเป็นสถิติไม่ได้ว่าเราจะเจอของดีหรือของไม่ดี และเราจะดีใจหรือรู้สึกไม่คุ้มนั้น เป็นเรื่องของความคาดหวังอย่างที่กล่าวไปข้างต้น
เพราะเมื่อเรามองในสถานะผู้ซื้อนั้น อาจจะได้รับความสนุก หรืออาจได้รับความเสียใจ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตัวบุคคลนั้น ลองเปรียบเทียบให้เห็นภาพในมุมผู้ซื้อ กล่องสุ่ม กับในมุมผู้ขาย จะมีข้อไหนต่างกันบ้าง
เรื่องนี้ทาง ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ ประธานเครือข่ายทนายคลายทุกข์ บอกว่า จริงๆแล้ว กลยุทธ์การขายในรูปแบบ “กล่องสุ่ม” ต้องขออนุญาตก่อน ไม่งั้นผิดกฏหมายการพนัน จำคุก 1 ปี ปรับ 50-2,000 บาท ทั้งจำทั้งปรับ และหากมีการว่าจ้างผู้อื่นให้ร่วมกระทำความผิด (กรณีจ้างคนอื่นเป็นหน้าม้ามาซื้อ เพื่อชักชวน ประชาชนให้หลงเชื่อ กระตุ้นการขายกล่องสุ่ม) เข้าข่ายฉ้อโกง และพ.ร.บ.คอมฯ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
กล่องสุ่ม เป็นสิ่งที่สนุก ตื่นเต้น แต่บางครั้ง หากมองย้อนกลับไปแล้ว สิ่งที่คุณเปิดได้จากกล่องสุ่ม ล้วนถูกวางทิ้งไว้และไม่ได้ใช้ พอลองนึกไปถึงเงินที่คุณจ่าย คุณอาจพบว่า เงินทั้งหมดจากการซื้อกล่องสุ่มนั้น อาจจะสามารถซื้อของที่คุณอยากได้จริงๆได้สักชิ้น
ดังนั้น กล่องสุ่ม กับเรื่องของความคุ้มค่าจึงเป็นสิ่งที่พูดได้ยาก แต่ตราบใดที่คุณรู้สึกพอใจกับการซื้อและยังคงมีความสุขที่ได้ซื้อ ก็อาจจะหมายถึงความคุ้มค่า เพราะความคุ้มค่าสำหรับแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน