ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมไทยมีอะไรให้เราน่าตกใจหลายเรื่อง บางเรื่องก็กลายเป็น Talk of the town ไปเลย ตรงกันข้ามกับบางประเด็นที่ดูจะเงียบหายไป
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถือว่าเผชิญกับปัญหาและภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากภัยธรรมชาติเองและภัยจากมนุษย์ เนื่องในวันที่ 4 ธันวาคม เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย Springnews จึงลองรวบรวมเหตุการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกิดขึ้น มาย้อนให้ดูกัน ทั้งความคืบหน้าและเรื่องราวที่เป็นบทเรียน
เปรมชัยล่าเสือดำ
เปรมชัยล่าเสือดำ คดีสุดโด่งดัง ของนายเปรมชัย กรรณสูตร อดีตประธานบริหารบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ย้อนไปเมื่อปี2561 ช่วงวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ นายเปรมชัยและพรรคพวก 4 คน ลักลอบเข้าไปล่าสัตว์ในเขตอนุรักษณ์พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบและจับกุม พบของกลางเป็นซากเสือดำ ไก่ฟ้าหลังเทา เก้ง พร้อมอาวุธปืนและเครื่องกระสุนจำนวนมากในที่พักชั่วคราวของนายเปรมชัย
คดีนี้โด่งดังขึ้นมาชั่วข้ามคืน สร้างความโกรธแค้นให้กับองค์การอนุรักษ์และประชาชนอย่างมาก จากการลักลอบล่าสัตว์ผิดกฎหมาย แถมเป็นสัตว์หายากด้วย อีกทั้งยังไม่โดนจับในทันที พร้อมเรียกทนายยื่นคำร้องต่อศาล แต่ใช้เวลาต่อสู้อยู่นานพอสมควร ศาลก็ได้ตัดสินคดีเปรมชัย ในปี 2562 จำคุก 16 เดือน คดีล่าสัตว์ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร แต่หลุดข้อหาครอบครองซากเสือดำ จนเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 มูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้วรุปบทลงโทษ “คดีเสือดำ” ทุ่งใหญ่นเรศวนไว้ดังนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ไครียะห์ ระหมันยะ ลูกสาวทะเลจะนะค้านก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม
การเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมจะนะนั้นเริ่มต้นมาจากโมเดลแผนพัฒนา “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ถูกเสนอโดย คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการพิจารณาและเห็นชอบ เมื่อวัน 21 กุมภาพันธ์ 2562 ภายใต้โครงการ เมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำการอนุมัติไปแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เป็นเมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ และ อ.เบตง จ.ยะลา เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
บริเวณหาดสวนกงถูกตรวจสอบพื้นที่และวิเคราะห์โดยนักวิชาการถึงความเหมาะสมต่อการเป็นสถานที่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 เพื่อเป็นท่าเรือจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์นำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ จึงนำไปสู่การเรียกร้องคัดค้านการสร้างนิคมอุตสาหกรรม นำโดย นางสาว ไครียะห์ ระหมันยะ ลูกสาวแห่งทะเลจะนะผู้มีอายุ 18 ปี ได้ออกมาเรียกร้องและขอให้รับฟังเหตุผลถึงข้อเสียของการสร้างนิคมอุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่บ้านเกิดของตน และตอนนี้เธอก็ยังคงเดินหน้าเรียกร้องอยู่ที่หน้ารัฐสภาเวลานี้ เพื่อทวงคืนคำสัญญาของคนในสภา
ปัญหาหลักที่ผู้คนในชุมชนได้รับผลกระทบ อย่างแรกคือ ขนาดยังไม่มีโรงงานตอนนี้ยังมีน้ำเสียในพื้นที่สาธารณะ ถ้ามีการจัดตั้งมันจะยิ่งมีมากขนาดไหน สอง นักการเมืองบางคนกว้านซื้อที่ดินชาวบ้านและเอาไปขายต่อในราคาที่แพงกว่า สาม คือมันจะทำลายระบบนิเวศน์ทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว สี่ ชาวบ้านจะถูกจ้างงานให้ทำงานในโรงงาน แต่พวกเขาเชื่อว่าในอนาคตต้องมี AI เข้ามาแทนที่ ผู้คนก็จะตกงานอยู่ดี ห้า ที่นี่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมาทำลายให้มันรบกวนสัตว์น้ำและกินพื้นทำกินของชาวบ้านด้วย
ปัจจัยหลักของการเรียกร้องคือการเวนคืนที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านเพื่อก่อตั้งโรงงาน แต่ใครมันจะไปยอมล่ะ ก็บ้านเกิดของพวกเขานี่นา
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่วมประชุม COP26 กับสหประชาชาติ
การประชุม COP26 (United Nations Climate Change Conference) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปีพ.ศ.2564 ที่ได้เริ่มต้นการประชุมมาตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.จนถึงวันที่ 12 พ.ย.เป็นวันที่ผู้นำโลกได้มารวมตัวกันเพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ในขณะเดียวกัน นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมก็ได้ออกมารวมตัวกันเรียกร้องให้ผู้นำทั้งหลายมีการตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของปัญหาภาวะโลกร้อนและลงมือทำสักที อย่ามัวแต่พูดและมองหาแต่เม็ดเงิน
โดยทางไทยเราตั้งมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ให้ได้ภายในปี 2065 และเป็นกลางทางคาร์บอน หรือเป้าหมาย Carbon Neutral ให้ได้ภายในปี 2050 และพร้อมที่จะสนับสนุนให้มีรถไฟฟ้ามากขึ้นในไทย แต่ในระหว่างการประชุมเราไม่ได้ร่วมลงนามยุติการใช้ถ่านกิน ลดการปล่อยก๊าซมีเทน และยุติการตัดไม้ เฉกเช่น ชาติอื่นๆ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การประชุม COP26 ด้วยถ้อยแถลงของพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา
ไทยมุ่งสู่ตลาดรถ EV และพลังงานหมุนเวียน
เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้าร่วมงานประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชนในการเตรียมความพร้อมกับการประชุม COP26 และเผยนโยบายในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตอนหนึ่งของการประชุมคือ นโยบายสนับสนุนการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากต่างประเทศเพื่อให้คนไทยมีรถยนต์ไฟฟ้าใช้มากขึ้นและเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็น 0 หรือ Zero Emission ซึ่งแน่นอนว่ามีการตั้งคำถามจากภาคประชาสังคมมากมายถึงขั้นตอนต่างๆในการสนับสนุนการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าว่ามีประสิทธิภาพรองรับเพียงพอต่อความต้องการของคนไทยและจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
จากวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น ทำให้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมผุดขึ้นมา ผนวกกับแรงกดดันจากนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ทำให้ผู้นำหลายประเทศต้องออกนโยบายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะเรื่องโลกร้อนจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หนึ่งในนโยบายสุดฮิตคือการสนับสนุนให้ประชากรโลกหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นแทนการใช้รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือรถเติมน้ำมัน
นักลงทุนหลายรายจึงเริ่มเล็งเห็นช่องทางการลงทุนใหม่ของอนาคตกลายๆ จึงเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการขยายกิจการด้านพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อช่วยบรรลุเป้าหมาย Net Zero และผลกำไรจากเทรนด์แห่งอนาคตนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เป็นไปได้ไหมที่ราคารถยนต์ไฟฟ้าในไทยจะถูกลง? Story of Green Ep.3
Beach for life ค้านสร้างกำแพงกันคลื่น
“ความน่ากลัวของกำเเพงกันคลื่น คือ หากคลื่นเข้ามาปะทะกำเเพงกันคลื่นได้ คลื่นจะม้วนตัว เเล้วกวาดทรายหน้ากำเเพงออกนอกชายฝั่งไปเรื่อยๆจนทรายหน้ากำเเพงกันคลื่นไม่มี เเละคลื่นจะขุดฐานลากของกำเเพงกันคลื่นทำให้เกิดการทรุดตัว เเละพังในที่สุด” Beach for life
ปัจจุบันหาดม่วงงามและหาดชะอำคือหาดที่ Beach for life เรียกร้องเป็นหลักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐมองว่ามันจะช่วยให้ระดับน้ำทะเลไม่กัดเซาะชายหาด หรือเพื่อความเป็นระเบียบของชายหาด แต่นั่นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ไม่ต่างอะไรกับสิ่งแปลกปลอมในธรรมชาติ และมันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งแต่อย่างใด ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเพียงแค่ฤดูกาลของธรรมชาติ แต่รัฐคิดไปเองว่ามันเป็นปัญหา เรื่องนี้ทำให้ชาวบ้านเห็นด้วย รวมไปถึงศาลลก็เห็นว่ากำแพงกันคลื่นนั้นสร้างปัญหาและผลกระทบจริงๆ
ติดตาม Beach for Life ได้ที่ https://web.facebook.com/Beachforlife.BFL
“ป่าแหว่ง” บ้านพักตุลาการเชิงดอยสุเทพ เชียงใหม่
โครงการบ้านพักตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 เชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ที่เคยเป็นประเด็นร้อนเมื่อปี 2561 ถึงการบุกรุกพื้นที่ป่า ที่ชาวบ้านไปพบว่าบ้านพักดังกล่าวกินพื้นที่เชิงดอยไปมาก จึงเกิดคำถามตามมาว่า ไม่ไม่รุกล้ำที่ป่าเหรอ? ซึ่งตอนนี้ยังคงโครงการอยู่ แต่เริ่มมีต้นไม้งอกขึ้นมา คาดว่ามาจากโครงการศาลสีเขียว การกระทำนี้กลายเป็นที่ค้านสายตาของคนทั้งโลกมาแล้ว จนถึงกับมีคนไปพบมันในเกมจำลองเสมือนจริงอย่าง Microsoft Flight Simulator 2020 ซึ่งแผนที่ในเกมอ้างอิงจากแผนที่จริงและคำนวณระยะทางด้วยระบบดาวเทียม
ในปัจจุบัน สำนักข่าวประชาไท รายงานว่า “ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกาขณะนั้น กล่าวถึงการสร้างศาลให้เป็นสีเขียวว่าแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งเรามาจากเรื่องบ้านป่าแหว่ง ที่มีการชี้นิ้วมาที่เราว่าศาลทำลายทรัพยากร แต่จริงๆ แล้วผู้พิพากษานั้นไม่เกี่ยวข้องเลย เพราะเราก็มีหน้าที่ตัดสินคดี ฝ่ายธุรการก็มีหน้าที่จัดหาบ้านพักให้ผู้พิพากษา ซึ่งวันดีคืนดีไปขอพื้นที่ทหารมาได้ ทหารก็ส่งมอบพื้นที่มาให้ กระบวนการก่อสร้างก็ทำตามระเบียบขั้นตอนทุกอย่าง แต่ปรากฏว่าเราขาดความละเอียดรอบคอบในขั้นตอนการก่อสร้าง ทุกอย่างที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเข้าไปในพื้นที่หรือการตัดต้นไม้ในพื้นที่ ก็กลายเป็นภาพที่ปรากฏที่เขาเรียกกันว่า “ป่าแหว่ง”
ข้อมูลที่มา ประชาไท
ฝายชะลอน้ำ ที่สร้างปัญหามากกว่าที่คิด
เมื่อกระแสการรักต้นน้ำไปในทางที่ผิด ก็ก่อให้เกิดผลกระทบตามมา ฝ่ายกั้นน้ำหลายฝ่ายทางฝั่งนักอนุรักษ์มองว่า มันเป็นสิ่งแปลกปลอมในธรรมชาติ โดยเฉพาะฝายกั้นที่ประกอบขึ้นด้วยถุงกระสอบ ส่วนหนึ่งมันคือพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เมื่อกาลเวลาผ่านไป มันเริ่มเปลี่ยนรูปร่าง จากการค้างแรมและการแช่น้ำ ทำให้มันเริ่มยุ่ย เรื่อมเปื่อยและไหลไปตามน้ำ สัตว์ป่าอาจกินมันเข้าไป ซึ่งมันคือไมโครพลาสติกที่ส่งผลไม่ดีเอามากๆต่อระบบนิเวศน์
อีกทั้งบางที่ตัดไม่ไผ่ที่อยู่รอบๆแหล่งน้ำ เพื่อมาตอกกั้นวางกระสอบทราย ทำให้น้ำในลำคลองมีขนาดเล็กลง เกิดน้ำขัง ยุงฟักไข่ ปลาว่ายผ่านไปไม่ได้ เพราะท่อส่งน้ำที่เสียบลงไปมีขนาดเล็กเกินกว่าที่ปลาจะลอดผ่านไปได้ พอโดนกระสอบทรายกั้นทับ พืชริมตลิ่ง แหล่งหากินของสัตว์น้อยใหญ่บางส่วนก็หายไป
ข้อมูลที่มา วิทย์นอกห้อง
ปัญหาไทยเป็นทางผ่านของกระบวนการค้าสัตว์ป่า สถานการณ์สัตว์ถูกล่าในไทย
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยกลายเป็นทางผ่านของขบวนการค้าสัตว์ป่า แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่า สัตว์สงวน หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงก็ถูกนำมาค้าขายอย่างไม่เป็นธรรมและไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านความสมดุลทางธรรมชาติ
ตอนนี้ประเทศไทยมีสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ 9 ชนิด
ย้อนกลับไปในปี 2503 มี 9 ชนิด คือ กูปรี ควายป่า สมัน แรด เลียงผา กระซู่ กวางผา ละมั่ง เนื้อทราย
ปี 2535 15 ชนิด เพิ่มมา 7 ถอนออกไป 1 คือ ถอนเนื้อทรายออกไป เพิ่ม นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเรียน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แมวลายหินอ่อน พะยูน เก้งหม้อ และสมเสร็จ
ปี 2562 มี 19 เพิ่มมา 4 คือ วาฬบลูด้า วาฬโอมูระ ปลาฉลามวาฬและเต่ามะเฟือง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พ.ย.2564 เจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่อนรักษณ์พญาเสือ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ลอบจับ 3 พรานป่า ลักลอบล่าลิงเสม สัตว์ป่าคุ้มครอง โดยใช้เถาวัลย์มัดคอซากลิงลากออกจาป่าอย่างโหดเหี้ยม เพื่อตัดชิ้นส่วนเอาอวัยวะไปขาย
ข่าวเมื่อวันที่ 29 พ.ย.การพบลูกช้างอายุประมาณ 3 เดือนถูกบ่วงรัดที่ขาหน้า จนเกือบขาด ซึ่งคาดมาจากนายพรานวางกับดักไว้ สามารถพรางสานตาเจ้าหน้าที่ได้อย่างแนบเนียน ซึ่งก็เคยเกิดกับพังฟ้าแจ่ม เมื่อวันที่ 20 ต.ค.2564 เกิดกรณีเดียวกัน ยังเป็นลูกช้างไม่หย่านม จนตอนนี้อาการดีขึ้นและกินเก่งขึ้นทั้ง 2 ตัว จากการดูแลอย่างใกล้ชิดของทีมแพทย์
ที่มาข้อมูล The Matter และ ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ไทยค้นพบพืชชนิดใหม่ ชมพูราชสิริน
เมื่อเดือนสิงหาคม-กันยายนปี 2020 นักพฤษศาตร์กรมอุทยานแห่งชาติฯและนักวิจัยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล พบพืชไม่ทราบชนิด ขณะออกสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพืชบริเวณอุทยานวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
ภายหลังได้ทราบและยืนยันแล้วว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก จึงได้รับนามว่า “ชมพูราชสิริน” และได้ตีพิมพ์ลงในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 49 (2) โดยมีชื่อพฤกษศาสตร์ที่ขอพระราชทานนามว่า Begonia sirindhorniana Phutthai, Thanant., Srisom & Suddee คำระบุชนิด “siridhorniana” ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ลักษณะของพืชเป็นลักษณะไม้ล้มลุก มักอิงอาศัยขึ้นตามเปลือกไม้ต้นไม้ใหญ่ เป็นพืชตระกูลส้มกุ้ง (Begonia) วงศ์ส้มกุ้ง (Begoniaceae) เบื้องต้นคาดว่า ชมพูราชสิรินเป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย และอาจจะกระจายใกล้เคียงกับบริเวณที่พบเจอและชายแดนฝั่งเมียนมาร์ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าฝั่งเมียนมาร์มีพืชพันธุ์นี้อยู่หรือไม่ นอกจากนี้ แหล่งที่พบไม่ได้อยู่ในพื้นที่คุ้มครอง อาจได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวทั้งปีได้ และอาจส่งผลต่อโอกาสรอดของสายพันธุ์
อ่านต่อได้ที่ ราชบุรีค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ชมพูราชสิริน
ดราม่าการแสดงใต้น้ำของช้างในสวนสัตว์ไทย
ในงานประกวดภาพถ่ายสัตว์ป่าทั่วโลก “Wildlife Photographer of the Year 2021” จัดโดยพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 แต่ก้เกิดกระแสดราม่าในประเทศไทย เนื่องจากในรอบการประกวดภาพสัตว์สาขาภาพที่สื่อความหมายของการทรมานสัตว์และมีภาพของช้างไทยในสวนสัตว์ขณะทำการแสดงใต้น้ำได้รับรางวัล โดยผู้ถ่ายภาพคือ ช่างภาพชาวออสเตรเลีย Adam Oswell ใช้ชื่อภาพถ่ายว่า “Elephant in the room”
มีเสียงแยกออกเป็นสองเสียงว่า ช้างเป็นสัญลักษณ์ของไทย เอามาทรมานหาเงินเข้ากระเป๋ามนุษย์ง่ายๆ ทรมานและลิดรอนสิทธิสัตว์ เพื่อสร้างความสนุกความบันเทิงให้มนุษย์เท่านั้น แต่อีกเสียงก็ตอบกลับว่า ทีลิงไทยยังใช้เก็บมะพร้าวได้เลย หรือช้างก็เป็นช้างเลี้ยง เป็นการยากที่จะกลับเข้าไปอยู่อาศัยในป่า รวมไปถึงควาญช้างก็น่าจะมีวิธีการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ในด้านกลับกัน องค์การสวนสัตว์ก็ได้ออกมาอธิบายให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องของการเลี้ยงช้างในสวนสัตว์และบทบาทของสวนสัตว์ในประเทศไทยไว้ว่า
“ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยและมีสถานะใกล้สูญพันธุ์ (endangered) เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่นบุกรุกป่า ล่าสัตว์ ดังนั้นสวนสัตว์เป็นแหล่งพึ่งพิงของช้าง ด้วยการดูแลช้างไม่ให้สูญพันธุ์และถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชน ให้เกิดความตระหนัก ความหวงแหนทรัพยากรสัตว์ป่า”
อ่านต่อได้ที่ คิดเห็นอย่างไร กรณีการแสดงใต้น้ำช้างไทยถูกต่างชาติมองว่าทารุณกรรม