มินามาตะ ภาพถ่ายโลกตะลึง หนึ่งผลงานชิ้นโบว์แดงของจอห์นนี่ เดปป์ ภาพยนตร์สารคดีอิงเรื่องจริงของโรคมินามาตะและการปล่อยสารปรอทลงสู่ลำน้ำของโรงงาน ผู้คนในชุมชนเริ่มมีอาการประหลาด แต่ถูกปิดเงียบ ทำให้ยูจีน ช่างภาพจากสหรัฐเดินทางมาเก็บภาพถ่ายเพื่อส่งต่อสู่สายตาโลก
“ชาวพื้นเมืองอเมริกาเชื่อว่า กล้องถ่ายรูปจะดูดวิญญาณของผู้ถูกถ่าย แต่จริงๆแล้ว ผู้ที่ถ่ายก็ถูกดูดวิญญาณด้วยเช่นกัน”
W.Eugene Smith
เมืองเล็กๆที่สงบสุขเป็นหนึ่งเดียวกับท้องทะเลอันกว้างใหญ่บนเกาะคิวชู เป็นที่ตั้งของเมืองมินามาตะ (Minamata) รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสมบูรณ์สีเขียวสดกลมกลืนไปกับสีครามของท้องฟ้าและท้องทะเล ตัวเมืองประกอบไปด้วยชุมชนที่ดูอบอุ่นของผู้คนประมาณ 30,000-40,000 คน เป็นเมืองที่ดูไม่แออัดและวุ่นวายเหมือนเมืองใหญ่ แม่น้ำและทะเลเป็นตัวหล่อเลี้ยงผู้คนและชุมชนมาแสนนาน อาชีพหลักของคนที่นี่คือการทำประมง
แต่ภาพสวยงามเหล่านี้กลับเต็มไปด้วยบาดแผลที่แฝงเอาไว้อย่างสาหัส และยังไม่อาจลบเลือนมันออกไปได้ แม่น้ำที่เต็มไปด้วยปลาหลายหลายชนิดรวมไปถึงรวบรวมจิตใจของคนทั้งเมืองเอาไว้ หลังจากมีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น และหนึ่งในนั้นคือโรงงานผลิตปุ๋ยของบริษัทที่ชื่อว่าชิสโซะ (Chisso Corporation) ที่เปิดกิจการในปีค.ศ. 1908 และต่อมาก็พัฒนามาเป็นโรงงานผลิตสารเคมีขนาดใหญ่
ในปี ค.ศ.1971 ได้เกิดโศกนาฏกรรมกับผู้คนในเมือง เด็กที่เกิดในปีนั้นหลายคนมีร่างกายที่บิดเบี้ยว พิการ พูดไม่ได้ ไม่ได้ยิน ซึ่งคนในเมืองบางส่วนเชื่อว่าเป็นผลมาจากสารปรอทจากโรงงานที่ถูกปล่อยลงลำน้ำของเมือง และทำให้ปลาได้รับสารนั้นเต็มๆ ผู้คนก็ไปจับปลาเหล่านั้นมารับประทาน และก็ได้รับสารนั้นไปด้วย สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ก็จะส่งสารพิษไปสู่ทารกเกือบทั้งหมด ทำให้เด็กๆที่เกิดมามีรูปร่างที่ไม่สมประกอบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขยายความเชื่อจาก ”ร่างทรง" (The Medium) หลอนแค่ไหน? ผีย่าบาหยัน จริงหรือ?
โต้ง บรรจง สุดภูมิใจ ร่างทรง ได้เป็นตัวแทนหนังไทย เข้าชิงออสการ์ ครั้งที่ 94
ร่างทรง หนังสยองเทรนด์ใหม่ สะท้อนความเชื่อ ตัวแทนเรื่องเล่า soft power ไทย
รู้จัก เมตาเวิร์ส Metaverse ผ่านหนัง Ready Player One ของสตีเฟ่น สปีลเบิร์ก
ครอบครัวที่ลัก Shoplifters ภาพยนตร์ตีแผ่สังคมชนชั้นล่างสัญชาติญี่ปุ่น
“มินามาตะ ภาพถ่ายตะลึงโลก” เป็นสารคดีที่อิงมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น นำแสดงโดย จอนห์นนี่ เดปป์ แสดงเป็น ยูจีน สมิธ ช่างภาพชาวอเมริกันที่ทำงานให้กับนิตยสาร Life ชื่อดังของอเมริกาในขณะนั้น และเขายังร่วมเป็นผู้กำกับด้วย ภาพยนต์เรื่องนี้ฉายรอบพรีเมียร์ในเทศกาลภาพยนต์นานาชาติเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ได้เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเสียงชื่นชมการแสดงของจอห์นนี่ เดปป์ ว่าเขาแสดงได้ดีที่สุด
ภาพถ่ายที่ไม่อยากถ่าย
ในชีวิตหนี่งของช่างภาพที่เคยมีแรงใจในการออกไปถ่ายภาพของ ยูจีน สมิธ แต่แล้วเขาก็ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินและการงานที่ไม่ค่อยราบรื่นดีนัก เขาแทบจะหมดใจกับอาชีพที่ครั้งหนึ่งเขาเคยรักมากที่สุดไป จนวันหนึ่งไอลีนก็ได้เดินเข้ามาจุดไฟในใจของเขาอีกครั้ง ไอลีนเป็นหญิงชาวญี่ปุ่น เธอมาขอร้องให้ยูจีนไปถ่ายภาพปัญหาที่ชาวมินามาตะกำลังเผชิญอยู่ ไม่มีใครช่วยเหลือชาวบ้านเหล่านี้ได้เลย หากยูจีนไปถ่ายภาพเหล่านั้นเพื่อเผยแพร่ไปยังทั่วโลก อาจจะได้รับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกก็ได้
ในตอนแรกยูจีนได้ปฏิเสธไป เพราะเขายังมีภาพจำเมื่อครั้งที่เขาได้เดินทางไปญี่ปุ่นช่วงที่เกิดสงครามและเขาได้ถ่ายภาพคนบาดเจ็บล้มตายมากมาย และเขาเองก็รู้สึกหดหู่ที่จะต้องกลับไปถ่ายภาพที่ดูดจิตวิญญาณเช่นนั้นอีก แต่เมื่อเขาได้กลับมาขบคิดและเปิดข้อมูลที่ไอลีนทิ้งไว้ให้ เขาก็พบว่ามันเป็นเรื่องร้ายแรงและน่าจะเป็นข่าวที่โด่งดังไปทั่วโลกได้ เขาจึงไปขอร้องโรเบิร์ต เจ้านายนิตยสารของเขาว่าให้ส่งเขาไปที่นี่ได้หรือไม่ แม้ยูจีนจะไม่ค่อยลงรอยกับเจ้านายคนนี้สักเท่าไหร่ แต่เขาก็โน้มน้าวสำเร็จและได้เดินทางไป
เมื่อเขาไปถึง ก็พบกับเรื่องราวที่เหนือความคาดหมายไปมาก สภาพของผู้คนในชุมชนนั้นแย่ยิ่งกว่าที่ยูจีนจินตนาการไว้และเขาคิดว่าเขาต้องทำอะไรสักอย่าง ครอบครัวที่เขาไปพบรวมไปถึงการปลอมตัวไปเก็บภาพในโรงพยาบาล ยูจีนพบกับผู้คนที่มีร่างกายผิดปกติมากมาย เขาพยายามเข้าไปเก็บภาพผู้คนและสอบถาม แต่ก็มักจะถูกหลบหลีกและบ่ายเบี่ยง คนในหมู่บ้านกลัวการถ่ายรูปเพราะอาจจำความเดือดร้อนมาให้ หากใบหน้าพวกเขาหลุดไปเป็นข่าว เพราะในตอนแรกบริษัทชิสโซะได้รับการเชื้อเชิญจากชาวบ้านเป็นอย่างดีให้มาเปิดทำการ เพื่อมุ่งหวังให้มีความเจริญเกิดขึ้นในท้องถิ่น รวมไปถึงมีการจ้างแรงงานชาวบ้านถึง 4000 คน ซึ่งก็เป็นส่วนใหญ่ของประชากรที่นี่ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่พวกเขาสองจิตสองใจในการให้ความช่วยเหลือยูจีน สุดท้ายยูจีนจะสามารถโน้มน้าวพวกเขาได้หรือไม่ และยูจีนจะสามารถช่วยพวกเขาได้หรือไม่ ต้องไปลองติดตามดูในภาพยนตร์
การค้นหาโรคมินามาตะ
1 พฤษภาคม พ.ศ.2499 เป็นวันที่ค้นพบโรคมินามาตะอย่างเป็นทางการ โดยสำนักงานสาธารณสุขของเมืองมินามาตะ กว่า 65 ปีที่ผ่านที่ผู้คนบนเกาะมินามาตะต้องทนทุกข์กับโรคร้ายที่ผลิตขึ้นจากมนุษย์ด้วยกันเอง ต้นสายปลายเหตุมาจากเมื่อปีเดียวกันนั้น วันที่ 2 เมษายน เด็กหญิงรายหนึ่งชื่อ ชิซุโกะ วัย 6 ขวบ เด็กหญิงเริ่มมีอาการแปลกๆ ปกติเธอเป็นเด็กที่ร่าเริงแจ่มใส แต่เธอกลับเริ่มมีอาการผิดปกติ เริ่มมองเห็นสิ่งต่างๆอย่างพร่าเลือน จับตะเกียบไม่อยู่ เดินและพูดลำบาก ร่างกายเริ่มชักกระตุก พ่อแม่ของเธอเห็นก็ตกใจและรีบนำส่งโรงพยาบาลมินามาตะทันที แต่หมอก็ไม่สามารถวินิจฉัยให้ได้ว่าเธอเป็นโรคอะไรกันแน่ ในวันที่ 29 เมษายน จิตสึโกะ น้องสาวของชิซุโกะวัย 3 ขวบ ก็เริ่มมีอาการเช่นเดียวกัน นจิตสึโกะไม่สามารถนั่งได้ กินอาหารไม่ได้และพูดไม่ได้ เรื่องรางวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆทำให้ครอบครัวน้ำตาตกกันเกือบทุกวันเพราะหาทางรักษาเด็กหญิงไม่ได้
แพทย์ที่รักษาเด็กทั้ง 2 เริ่มตระหนักถึงความรุนแรงและอาการแปลกประหลาดนี้รวมไปถึงไม่ใช่เพียงเด้กหญิงทั้งสองที่มีอาการผิดปกตินี้ ก่อนหน้านี้ก็มีคนจำนวนหนึ่งมีอาการที่เป็นปริศนานี้ด้วยเช่นกัน เหล่าแพทย์จึงออกสำรวจผู้ป่วยตามบ้าน จนกระทั่งพบเด็กที่มีอาการป่วยในลักษณะเดียวกันถึง 8 คน อาการสำคัญคือ มีการอักเสบหรือบวมบริเวณสมอง หรือสมองถูกทำลาย เนื่องจากความผิดปกติบางอย่างที่สมองส่วนกลาง
ตามรายงานบันทึกการรักษาระบุว่า ลักษณะของเด็กเหล่านี้มีอาการวิกลจริตอ่อนๆ ขาดสารอาหาร กรีดร้อง นัยน์ตาดำขยายกว้างเล็กน้อย ลิ้นแห้ง แขนขาเคลื่อนไหวลำบาก กระตุกตัวแข็งเป็นบางครั้ง มุมมองสยาตาแคบลง แต่ยิ่งเวลาผ่านไปนานยิ่งหนัก แขนขาเริ่มบิดงออย่างรุนแรง
ในช่วงของการหาคำตอบของอาการทั้งหมด สมาคมแพทย์แห่งมินามาตะได้จัดตั้งคณะกรรมการแพทย์เฉพาะกิจขึ้นมาชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการการรับมือโรคประหลาดของมินามาตะ” แพทย์ชุดนี้ได้ออกตรวจสอบพื้นที่เพื่อหาสาเหตุ แต่ยังไม่ได้เรื่องอะไรมากจนผ่านไป 1 เดือนได้มีการสันนิษฐานไว้คร่าวๆว่าโรคนี้อาจะเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ทำให้ผู้คนจำนวนมากเมื่อได้ยินก็ต่างพากันหวาดกลัว มีการย้ายผู้ป่วยแยกออกเป็นตึกหนึ่ง พร้อมทั้งมีการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อที่บ้านด้วย ด้วยความยากในการหาสาเหตุโรคจึงมีการขอความช่วยเหลือจากคณะแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคุมาโมโต เพื่อช่วยศึกษาวิจัย และได้มีการจัดตั้ง “กลุ่มแพทย์เพื่อศึกษาวิจัยโรคมินามาตะ” ขึ้น ประกอบไปด้วยแพทย์จากสาขาต่างๆ
จากการชันสูตรศพและเก็บตัวอย่างหอย ปู ปลา และเครื่องปรุงอาหาร กลามแพทย์สันนิษฐานเบื้องต้นว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำเสียจากโรงงานของบริษัทชิสโสะอย่างแน่นอน บริษัทชิสโสะคือบริษัทผลิตปุ๋ยเคมี และได้มีการผลิตสาร Acetaldehyde ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเคมีภัณฑ์หลายชนิด รวมไปถึงพบว่ามีการปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารปรอทลงสู่แหล่งน้ำของหมู่บ้าน จึงเป็นที่มาของความผิดปกติในเด็กที่เกิดใหม่ และสัตว์ต่างๆ
พวกเขาเคยทำการทดลองนี้กับแมว นั่นจึงเป็นที่มาของปรากฎการณ์ “แมวฆ่าตัวตาย” บนเกาะมินามาตะ เพราะแมวหลายตัวที่ได้รับสารเหล่านี้จะมีอาการเหมือนบ้า ดิ้นทุรนทุราย จนตายไป และมีหลายตัวที่กระโดดลงทะเลฆ่าตัวตายไปเลย นายแพทย์ Hajime Hosokawa ผู้อำนวยการโรงพยาบาลของบริษัทชิสโซะ เป็นผู้ค้นพบคำตอบนี้ แต่ก็ได้ถูกปิดปากในเวลาต่อมา นั่นจึงเป็นเหตุให้ W.Eugene Smith ช่างภาพชาวอเมริกัน พยายามขุดคุ้ยเรื่องราวของโรคมินามาตะและพยายามที่จะนำมันไปเผยแพร่สู่โลกภายนอก แม้ว่าอุปสรรคที่เขาเจอนั้นเกือบทำให้เขาได้พบกับจุดจบของชีวิต และเขาก็เกือบถอดใจ แต่สุดท้ายเขาก็ให้ความช่วยเหลือจนถึงที่สุด
หลังจากเรื่องราวถูกแพร่ออกไป มีการรวมตัวของผู้เสียหาย 138 รายและได้ทำการฟ้องร้องบริษัทชิสโซะต่อศาลจังหวัดคุมาโมโตในปี 1968 ซึ่งในปี 1973 ศาลก็ได้ตัดสินให้บรัทต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ชาวเมืองราวๆ 158 ล้านบาท คดีนี้จึงกลายเป็นคดีที่กล่าวกันว่าเป็นคดีที่มีมูลค่าชดใช้ค่าเสียหายมากที่สุดในญี่ปุ่นด้วย ซึ่งตอนนี้ก็ยังดำเนินการชดใช้มาจนถึงปัจจุบัน และเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของชาวบ้านตาดำๆด้วย ถือเป้นกรณีศึกษาให้กับชาติอื่นๆในการจัดการข้อกฎหมายและกฎระเบียบการปล่อยสารเคมี โดยเฉพาะสารปรอทลงสู่แม่น้ำลำครอง เพราะผลลัพธ์ที่ตามมานั้น มันไม่เคยได้ประโยชน์อะไร นอกจากเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้าสู่กระเป๋านายทุน ผู้รับกรรมคือชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ
มาวันนี้เกาะมินามาตะได้กลับมาเปิดให้ผู้คนเดินทางไปเที่ยงเล่นได้แล้ว หลังจากปิดพื้นที่บำรุงฟื้นฟูระบบนิเวศน์มานานหลายปีตั้งแต่เกิดเรื่อง หรือก็คือ 65 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าเกาะที่สวยงามแห่งนี้ได้เปิดแขนอ้ารับผู้คนภายนอกแล้ว แต่แผลทางใจและสังคมยังคงมีอยู่ ส่วนหนึ่งของผู้จัดงานฉายภาพยนตร์ในไทยหรือมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) ได้เผยว่า ปัจจุบันคนจากที่อื่นๆในญี่ปุ่นไม่กล้าที่จะไปเยือนมินามาตะหรือไม่กล้าที่จะแต่งงานกับคนมินามาตะ เพราะกลัวว่าสารปรอทนั้นยังคงหลงเหลืออยู่ในกรรมพันธุ์ของพวกเขา และยังมีคนที่เป็นโรคมินามาตะหลงเหลืออยู่ พวกเขาไม่สามารถมีคู่ได้เนื่องจากความผิดปกติที่ทำร้ายเขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
จึงเป็นเรื่องราวด้านสิ่งแวดล้อมอีกประเด็นหนึ่งที่น่าติดตาม เพราะในประเทศไทยเองก็มีโรงงานที่ผลิตสารปรอทอยู่เยอะ และกำลังเพิ่มระดับวิกฤตในการปล่อยสารปรอทเข้าไปทุกทีๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อมยังคงเกิดขึ้นทั่วโลกในหลายรูปแบบ แต่ทุกรูปแบบล้วนเป็นหายนะของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ทั้งสิ้น
ภาพยนตร์ "มินามาตะ ภาพถ่ายโลกตะลึง" เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่คนชอบสารดคีและประวัติศาสตร์ควรดูอย่างยิ่ง มันผสมรวมไปด้วยอามาณ์ที่หลากหลายและน่าขนลุกในเวลาเดียวกัน มันเต็มไปด้วยความหวัง ความหดหู่ ความสิ้นหวังและความกล้า ของคนที่พร้อมจะต่อสู้เพื่อนำความทุกข์ของชาวบ้านตาดำๆไปเปิดเผยต่อสายตาโลก เพื่อให้โลกได้ยื่นมาลงมาช่วยพวกเขารวมไปถึงเป็นบทเรียนสำคัญของมนุษย์ด้วย
ศึกษาข้อมูลโรคมินาตะและความเป็นมาเพิ่มเติมได้ที่ www.earththailand.org