ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน คนทั่วไป ต่างก็ต้องใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียน การทำงาน รวมถึงการทำกิจกรรม และการดำเนินธุรกิจ ขณะที่เราเริ่มใช้ 5G กระแส Metaverse ก็มา SPRiNG จึงนำวิสัยทัศน์ผู้นำและผู้บริหารจากสององค์กร พร้อมกับเผยโฉม Virtual Human ที่ต้องจับตา!
แม้ที่ผ่านมาคนไทยจะปรับตัวและหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วเพราะวิกฤตโควิด แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเทรนด์ใหม่ๆ การใช้งาน 5G และ Digital Literacy (ความเข้าใจและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล)
แต่พัฒนาการของเทคโนโลยี 5G เป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การอัปโหลด ดาวน์โหลด สตรีมเกมเพิ่มขึ้น ยิ่ง Facebook เปลี่ยนชื่อเป็น Meta เพื่อประกาศว่า พัฒนาธุรกิจสู่โลก Metaverse การใช้งาน AR/VR จึงต้องเรียลไทม์-เร็วทันใจ เครือข่าย 5G ก็จะเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้การใช้งาน 5G ในโลก Metaverse ราบรื่นคือ เครือข่าย 5G ในพื้นที่นั้นๆ ต้องมีความเสถียรและมีความหน่วงต่ำ
องค์กรที่เป็นเบอร์ 1 ด้านการพัฒนา 5G คือใคร?
ถ้าดูจากองค์กรที่ผ่านเกณฑ์ของ NESAS มาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยในระดับโลก จะเห็นเพียง 4 ชื่อ ได้แก่ Nokia, Ericsson, Huawei และ ZTE หากพิจารณาต่อว่า ใครพัฒนา 5G จนสามารถใช้งานได้จริง (5G deployment) มากที่สุด Ericsson ขึ้นเป็นผู้นำ เพราะให้บริการถึง 97 เครือข่ายใน 46 ประเทศ จากทั้งหมด 72 ประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2021 จาก rcrwireless.com)
อ่านวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยี 5G และเทรนด์ Metaverse
"เราเชื่อว่าเครือข่าย 5G จะช่วยสร้างประโยชน์และยกระดับไลฟ์สไตล์ของผู้คนให้
ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้
“หนึ่งสิ่งในเทรนด์ Metaverse ที่เราคิดว่าสามารถจับต้
หากติดตามเทรนด์ Metaverse อยู่ อ่านบทความเหล่านี้หรือยัง?
ปี 2021 เป็นปีที่ AIS เปิดตัว V-Avenue by AIS 5G แหล่งรวมศูนย์การค้าชั้นนำและร้าน SME บนโลกเสมือนจริงแห่งแรกของโลก ผ่านประสบการณ์ 5G Virtual Reality ตามมาด้วยการจัดงานเปิดตัว น้องไอ-ไอรีน Virtual Influencer คนแรกของไทย และ Virtual Brand Ambassador คนแรกของ AIS ในเดือนตุลาคม
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ว่า 5G ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโลกใน 3 ประเด็นหลัก นั่นคือ
สถานการณ์จากโควิดบีบบังคับให้เกิดพฤติ
หลังจากที่ IoT หรืออุปกรณ์ทุกสิ่งเชื่อมต่อกั
เมื่อผู้คนต่างใช้ชีวิตทุกด้าน ทั้งเรียน ทำงาน ช็อปปิ้ง รับชมความบันเทิง ผ่านหน้าจอบนโลกออนไลน์ จึงทำให้เทคโนโลยี Virtual Reality, Augmented Reality หรือแม้แต่ Metaverse ที่เป็นเทรนด์ล่าสุด ก้าวเข้
มาต่อกันที่ หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสมาร์ทดีไวซ์ ที่โดดเด่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี 5G อย่างก้าวกระโดด จนสามารถส่งออกโซลูชันส์ แพลตฟอร์ม และผลิตภัณฑ์ไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
ในมุม Metaverse Human หัวเว่ยฉายภาพความล้ำหน้าผ่านอีเวนต์ Huawei Connect 2021 APAC โดย จาง ผิงอัน (Zhang Ping'an) Executive Vice President, CEO of Cloud BU, President of Consumer Cloud Service, Huawei เปิดตัว หยุนเซิง (Yunsheng) พนักงานเสมือนจริงคนแรก (First Digital Employee) ของหัวเว่ย และชวนพูดคุยแบบเรียลไทม์
เทคโนโลยีไปไกลแล้ว บริษัทเทคทำยังไงให้ผู้ใช้งานตามทัน?
สังเกตได้ว่า ยิ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีจนถึงขั้นแอดวานซ์ บริษัทเทคทั้งหลายยิ่งเร่งพั
อย่างหัวเว่ย เน้นฝึกอบรมทักษะบุคลากรผ่านแพลตฟอร์มความร่วมมือและโครงการมากมายในหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น Huawei ICT Academy Thailand โครงการที่มุ่งส่งต่อองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี ร่วมกับการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้แก่นิสิตนักศึกษา ซึ่งได้รับความร่วมมือสถาบันการศึกษามากกว่า 25 แห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ดังวิสัยทัศน์ที่ อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวไว้ว่า "ไทยเป็นผู้นำในการเปิดให้บริการ 5G ของภูมิภาคอาเซียน และแรงหนุนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาทางด้านดิจิทัลก็คือ รากฐานด้านบุคลากรที่แข็งแกร่ง"
ด้วยแนวคิดที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของพนักงานภายในองค์กร AIS จึงริเริ่ม AIS Academy ศูนย์กลางด้านการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ โดยนำองค์ความรู้ทั้งภายในและนอกประเทศมาพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในทุกระดับผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
ต่อมาเกิดกระแส Digital Disruption ตามมาด้วยโควิด-19 ระบาด AIS จึงผลักดันองค์ความรู้ที่มีออกสู่สังคม เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ เข้าใจความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของคนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ LearnDi for Thais by AIS Academy ซึ่งเป็นแหล่งรวมของ 4 โครงการหลัก ได้แก่