รู้หรือไม่ อักษรย่อ I ใน LGBTQIA+ คือ I-Intersex ที่ภาษาไทยได้ให้คำนิยามว่า “เพศกำกวม” หรือ บุคคลที่เกิดมาพร้อมกับลักษณะทางร่างกายที่ผสมผสานกันระหว่างเพศชายและหญิง ทั้งในแง่ของโครโมโซม อวัยวะเพศ หรือฮอร์โมน แต่เป็นเพศที่มีความละเอียดอ่อนกว่านั้นมาก
อินเตอร์เซ็กซ์ (Intersex) คือ บุคคลที่มีอวัยวะเพศและ/หรือโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แตกต่างไปจากทั้งเพศชายและเพศหญิง เพราะไม่ได้มีรูปแบบชัดเจนตายตัวเหมือนกันทุกคน ดีกรีความแตกต่างนั้นกระจัดกระจายหลายเฉดสี
ถ้าพูดถึงความหลากหลายทางเพศอาจจะเคยได้ยินในแง่ของ LGBTQIA+ มาตลอด แต่กลับไม่มีความเข้าใจใน I-Intersex ซะทีเดียว เพราะเป็นเสมือนเงาของกลุ่มมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนปี 1990 ที่มีงานวิจัยสัดส่วนคร่าวๆ ว่ามี 1 ใน 2,000 คนเท่านั้นที่จะเป็นเพศดังกล่าวตั้งแต่เกิด ซึ่งมักถูกผ่าตัดนับครั้งไม่ถ้วนเพื่อปรับปรุงความบกพร่องนี้ตั้งแต่เด็ก
ซึ่งหลังจากนั้นได้มีจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญจากการตีพิมพ์บทความ ที่ยอมรับการมีอยู่ของ อินเตอร์เซ็กซ์ สร้างแรงขับเคลื่อนจนเกิดการตั้ง The Intersex Society of North America (ISNA) หรือ สมาคมอินเทอร์เซ็กซ์แห่งทวีปอเมริกาเหนือ ขึ้นในปี 1993 การก่อตั้งสมาคมฯ ดังกล่าวขึ้นอย่างเป็นทางการ เกิดการกระตุ้นให้ อินเตอร์เซ็กซ์ หลายคน กล้าออกมาแบ่งปันประสบการณ์ ลดความรู้สึกโดดเดี่ยวลงไปบ้าง แต่วงสนทนาก็ยังคับแคบอยู่เพียงแค่ในทวีปอเมริกาเหนือตามชื่อสมาคม
ซึ่งภายหลังได้มีการถกเถียงถึงเรื่องของ อินเตอร์เซ็กซ์ เพิ่มขึ้น โดยเห็นตรงกันว่าเรื่องดังกล่าวไม่ควรเป็นเพียงการกำหนดความคิดของสังคมจากทางการแพทย์ จึงเกิดการร่วมรณรงค์ที่เรียกว่าการตื่นรู้ หรือ Intellectuality ขึ้น ซึ่งมองว่าควรมีการเล่าเรื่องคู่ขนานจากประสบการณ์ตรงไปพร้อมกับองค์ความรู้ทางการแพทย์ เพื่อหาข้อบกพร่องระหว่างทาง หรือเรียกว่าเป็นการผสานความจริงของร่างกาย ควบคู่ไปกับความจริงทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งในภาษาไทยได้นิยาม I-Intersex ไว้ว่า “เพศกำกวม” หรือ บุคคลที่เกิดมาพร้อมกับลักษณะทางร่างกายที่ผสมผสานกันระหว่างเพศชายและหญิง ทั้งในแง่ของโครโมโซม อวัยวะเพศ หรือฮอร์โมน แต่เป็นเพศที่มีความละเอียดอ่อนกว่านั้นมาก แต่ทั้งนี้กฎหมายไทยก็ยังไม่ได้มีการรับรองเพศนี้ที่ต่างออกไป จนนำไปสู่การผ่าตักอวัยวะเพศให้เหลือเพศเดียวอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น
ทั้งนี้เมื่อ 1 ม.ค. 2019 ที่ผ่านมา เยอรมนี ได้มีการอนุญาตให้กลุ่ม อินเตอร์เซ็กซ์ สามารถระบุเพศที่สอดคล้องกับเพศของตนมากที่สุดลงในเอกสารราชการได้ถูกต้องตามกฎหมาย แทนที่จะบังคับให้ระบุว่าเป็นชายหรือหญิงเพียงเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีประเทศออสเตรีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, มอลตา, อินเดีย และแคนาดา ที่ต่างผลักดันและผ่านร่างกฎหมายชนิดนี้ เพื่อเดินหน้าแก้ไขความต้องการของกลุ่มหลากหลายทางเพศ
ถึงแม้จะมีการเปิดกว้างในด้านของเพศทางเลือกที่เพิ่มมากขึ้น แต่การตระหนักรู้ในเรื่องของ I-Intersex นั้น กลับน้อยมากทั้งที่มี วันแห่งการตระหนักรู้ อินเตอร์เซ็กซ์ แล้วก็ตาม
ที่มา