svasdssvasds

How to 15 วิธีคุมกำเนิด ต้อนรับ วันคุมกำเนิดโลก 26 กันยายน

How to 15 วิธีคุมกำเนิด ต้อนรับ วันคุมกำเนิดโลก 26 กันยายน

รู้หรือไม่? 26 กันยายน ของทุกปี เป็น วันคุมกำเนิดโลก (World Contraception Day) จัดขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุมกำเนิดและป้องกันอย่างถูกวิธี มีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2550

การคุมกำเนิดไม่ใช่หน้าที่ของผู้หญิงฝ่ายเดียว ผู้ชายก็ช่วยคุมกำเนิดได้ ซึ่งมีทั้งวิธีธรรมชาติและอาศัยเทคโนโลยี แต่ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดด้วย 

ทั้งนี้ การคุมกำเนิดมีหลายวิธี ซึ่งบางคนอาจรู้จักแค่ยาคุมกำเนิดกับถุงยางอนามัย แต่ในความเป็นจริงแล้วมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลายวิธีให้เลือก โดยแต่ละวิธีก็มีความปลอดภัยมากน้อยต่างกัน และมีทั้งข้อดี ข้อเสีย 

 

1. ถุงยางอนามัย เป็นวิธีคุมกำเนิดที่เก่าแก่ที่สุดและยังเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ความปลอดภัยในการคุมกำเนิดก็ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ กระนั้นก็ตามยังมีคนใช้ผิดวิธี หรือใช้ถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพต่ำหรือหมดอายุ 

2. ยาคุมกำเนิด มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและเจสตาเจน (Gestagen) ฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้จะป้องกันไม่ให้ไข่ตกและเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูกให้ไม่เหมาะแก่การฝังตัว ทั้งนี้ต้องกินยาคุมกำเนิดติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และหยุดพัก 1 สัปดาห์ที่จะมีประจำเดือนในช่วงนั้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยมากและยังช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ด้วย แต่อาจทำให้ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เกิดโรคโลหิตหรือน้ำเหลืองคั่งได้ ทำให้อารมณ์ทางเพศลดลง และอาจทำให้ผู้หญิงเกิดโรคลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด (Deep Vein Thrombosis : DVT) 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

3. ยาคุมกำเนิด Desogestrel และ Levonorgestrel มีเพียงฮอร์โมนเจสตาเจนเท่านั้นที่จะป้องกันไม่ให้ไข่ตกและป้องกันไม่ให้สเปิร์มผ่านเข้าไปในมดลูก ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยมากและยังช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนด้วย แต่ต้องกินยานี้ทุกวัน ข้อเสียคือ ทำให้มีเลือดออกกะปริดกะปรอยในระยะแรกของการใช้ ส่วนมากจะใช้ในกรณีคลอดบุตรใหม่ ๆ และต้องการให้นมบุตร

4. ยาคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์ เป็นยาที่มีความแรงของตัวยาและต้องให้แพทย์สั่งในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจไม่ได้ป้องกัน หรือมีความเสี่ยงกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา ยานี้ต้องกินภายใน 72 ชม. หลังการมีเพศสัมพันธ์ ยิ่งกินยาได้เร็วเท่าไหร่ก็จะปลอดภัยมากเท่านั้น

5. คุมกำเนิดแบบฉีด 3 เดือน เป็นยาฉีดที่มีฮอร์โมนเจสตาเจน โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่สะโพกหรือต้นแขน มีผลควบคุมไม่ให้ตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน มีความปลอดภัยในการคุมกำเนิดสูงและช่วยลดอาการปวดท้องระหว่างมีรอบเดือน แต่เป็นยาที่มีฮอร์โมนสูง จึงต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ 

6. ฝังไว้ที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นแท่งพลาสติก มีขนาดเท่าไม้ขีด มีฮอร์โมนเจสตาเจน โดยใช้การใส่เข้าไปที่ต้นแขนใต้ผิวหนังของผู้หญิง ป้องกันไข่ตกและป้องกันไม่ให้สเปิร์มเข้าไปในรังไข่ หลังจาก 3 ปี ก็ให้แพทย์เอาออก

7. การใส่ห่วง เป็นห่วงที่ทำจากพลาสติกขนาดเล็กและมีขดลวดทองแดงเล็กๆ (Copper-T) พันรอบห่วง ใช้สำหรับคุมกำเนิดอย่างเดียว โดยผู้หญิงจะใส่ห่วงในช่วงมีรอบเดือน เพราะใส่ง่าย มีอายุคุมกำเนิดได้ถึง 5 ปี 

8. การวัดฮอร์โมนตกไข่ เป็นวิธีทดสอบปัสสาวะของผู้หญิงโดยการใช้แท่งตรวจจุ่มลงไปในปัสสาวะเพื่อตรวจสอบฮอร์โมนในปัสสาวะ และคำนวณวันที่ไข่จะตก แต่เป็นวิธีที่ไม่ค่อยปลอดภัย เพราะวัดเพียงไม่กี่วันของแต่ละเดือน

9. การวัดอุณหภูมิ เพื่อความมั่นใจในการคุมกำเนิด จำเป็นต้องหมั่นวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน ในช่วงเวลาเดียวกันและในตำแหน่งเดิม เพื่อจะได้รู้วันไข่ตกที่แน่นอน เพราะในระยะ 1-2 วัน หลังไข่ตก อุณหภูมิของร่างกายจะขึ้นสูงมากกว่า 0.2 องศา ซึ่งนั่นหมายถึงปลอดภัย

10. นับวันจากปฏิทิน เป็นวิธีที่ผู้หญิงต้องมีปฏิทินประจำตัว เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก เหมาะกับผู้หญิงที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอ (28 วัน) แต่ช่วงไข่ตกก็ต้องใช้วิธีอื่นคุมกำเนิด โดยเฉลี่ยของการผิดพลาดคือ 9 คน จาก 100 คน ที่พลาดจนเกิดการตั้งครรภ์

11. สังเกตมูกจากปากมดลูก เป็นวิธีคุมกำเนิดอย่างธรรมชาติและเป็นวิธีที่ประหยัด โดยผู้หญิงต้องสังเกตมูกตกขาวจากปากมดลูก (Cervical Mucus) ทุกวันและจดโน้ตไว้เพื่อดูวันที่ไข่ตก และในระหว่างที่มีการตกไข่ก็ต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น แต่อาจคลาดเคลื่อนได้หรือแปลผลผิด

12. วิธีคุมกำเนิดแบบ Sympto Thermal เป็นวิธีคุมกำเนิดอย่างธรรมชาติ โดยการผสมผสานระหว่างอุณหภูมิและการสังเกตมูกตกขาว วิธีนี้ค่อนข้างปลอดภัยถ้าผู้หญิงหมั่นสังเกตตัวเอง

13. Coitus Interruptus เป็นวิธีที่ฝ่ายชายหลั่งอสุจิข้างนอกหลังการมีเพศสัมพันธ์ แต่สเปิร์มอาจเล็ดลอดออกไปได้ก่อนหน้านั้น จึงไม่แนะนำเพราะไม่ปลอดภัย 

14. การทำหมันชาย วิธีนี้ใช้การผ่าตัดเพียงนิดเดียวในผู้ชายเพื่อตัดท่ออสุจิ เหมาะกับผู้ชายที่ไม่ต้องการมีลูกอีก ป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูง

15. การทำหมันหญิง คือกรรมวิธีการตัดบางส่วนหรือแยกท่อนำไข่ออกจากกันทั้ง 2 ข้าง ทำให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ การแก้ไขเพื่อให้ท่อนำไข่สู่ภาวะปกติก็ทำได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องอาศัยการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์

How to 15 วิธีคุมกำเนิด ต้อนรับ วันคุมกำเนิดโลก 26 กันยายน

ที่มา Medthai