รู้หรือไม่? ทำไมวันอัลไซเมอร์โลก 2564 ถึงสำคัญ เพราะโรคอัลไซเมอร์พบในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 60-80% ที่เกิดจากเซลล์สมองตายหรอไม่ทำงาน เกิดการทำงานที่ไม่เต็มที่ มักพบในผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของโครงสร้างเนื้อเยื่อในสมอง
โรคอัลไซเมอร์ พบมากถึง 60-80% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด เกิดจากเซลล์ในสมองตายหรือไม่ทำงาน ทำให้สมองส่วนที่เหลือทำงานได้ไม่เต็มที่ และที่น่ากลัวคือโรคนี้ไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะเกิดภาวะสมองเสื่อมรุนแรงขึ้น จนในที่สุดผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ลองมาทำความรู้จักกับโรคและสัญญาณเตือนความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์กัน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เทคนิค สั่งอาหารเดลิเวอรี มาทานยังไงให้ได้ประโยชน์ในช่วงโควิด-19 ระบาด
รู้จักปอดอักเสบโควิดให้มากขึ้น!!! Q&A รวมข้อสงสัย ปอดอักเสบจากโควิด-19
รู้แล้วรอด เดอะซีรีส์ (5) : แยกกักตัวในชุมชน เตรียมการยังไง ควรรู้อะไรบ้าง?
"ลูทีน" ตัวช่วยดีๆ สำหรับดวงตา ดูแลสุขภาพ สายตาไม่เสื่อมตามอายุ
ความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์
อาการของโรคอัลไซเมอร์จะกินเวลาหลายปี และแสดงอาการตามระยะเสื่อมของสมอง 3 ระยะ ดังนี้
อาการสมองเสื่อมระยะแรก
เริ่มจากขี้หลงขี้ลืม ลืมเรื่องที่เพิ่งพูดไปหรือลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้น มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ชอบถามคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ มีความลังเล ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆ ได้ ทำให้มีความวิตกกังวลมากขึ้น ตื่นตกใจง่าย และอาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้
อาการสมองเสื่อมระยะปานกลาง
ในผู้ป่วยบางรายที่มีเข้าขั้นระยะแรก และคิดว่าเป็นเพียงความหลงลืมชั่วคราว หรือเป็นเรื่องปกติ อาจเป็นความคิดที่ผิด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ปัญหาความจำอาจแย่ลงจนไม่สามารถจำชื่อคนรู้จักได้ ไม่สามารถลำดับเครือญาติ หรือแยกคนใกล้ชิดได้ รวมถึงอาจมีอาการสับสน ลืมวันเวลา ประกอบกับนอนไม่หลับ และที่พบบ่อยคือหลงทาง หาทางกลับบ้านเองไม่ได้ ความรุนแรงของอาการสมองเสื่อมระยะนี้ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายกว่าปกติ หรือรุนแรงถึงทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้าได้
อาการสมองเสื่อมระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยจะเกิดภาพหลอน เรียกร้องความสนใจ หรือก้าวร้าวขึ้น มักมีอาการทางกาย เช่น เคี้ยวอาหารและกลืนได้ลำบาก เคลื่อนไหวช้าลง หรือไม่สามารถเดินเองได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่ายๆ
10 สัญญาณเตือน โรคอัลไซเมอร์
หากพบสัญญาณเตือนข้อใดข้อหนึ่ง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่แรกเริ่ม และรับการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด รวมถึงสามารถวางแผนอนาคตให้ตัวเองได้
การชะลอการเกิดอัลไซเมอร์
การดำเนินชีวิตอย่างรักสุขภาพ จะส่งผลดีต่อสมอง ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ได้ โดยการปฏิบัติดังนี้
รายงานหนึ่งระบุว่า ผู้ที่มีกรรมพันธุ์โรคอัลไซเมอร์ จะมีความเสี่ยงสูง หากดูแลสุขภาพอย่างดี สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นได้ถึง 32% เมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้ชีวิตแบบไม่ใส่ใจสุขภาพ
อีกรายงานยืนยันว่า การพักอาศัยในบริเวณที่มีมลภาวะสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์สูงเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผู้หญิงสูงวัยที่ใช้สมองอยู่เสมอ มีศักยภาพการทำงานสูง (วัดจากคะแนนการทำงานของสมอง ระยะเวลาที่เรียนหนังสือ หน้าที่การงาน และกิจกรรมทางกายภาพ) มีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเพียง 21% ต่างจากผู้ที่ไม่ค่อยได้บริหารสมอง จะมีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นถึง 113%
การรักษาโรคอัลไซเมอร์
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ มีเพียงการรักษาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยการใช้ยายับยั้งสารอะเซตีลโคลีนเอสเทอเรส (Acetylcholinesterase) เพื่อลดการทำลายสารความจำในสมอง นอกจากนี้ผู้ป่วยยังควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงควบคุมอาการของโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง