รู้แล้วรอด เดอะซีรีส์ (5) : แนะนำ "คู่มือการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน Community Isolation (ฉบับปฏิบัติการ) อีบุ๊กที่มัดรวมทุกขั้นของการจัดตั้ง ศูนย์กักตัวในชุมชน (CI) ซึ่งอธิบายไว้อย่างรอบด้านและเข้าใจง่าย
ความน่าสนใจของ คู่มือการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน Community Isolation (ฉบับปฏิบัติการ) มีทั้งการให้ความรู้ แนวปฏิบัติ ตั้งแต่การเตรียมคน เตรียมอาสาสมัคร เตรียมสถานที่กักตัว การดูแลผู้ป่วย การตรวจโควิดด้วย ATK การทำความสะอาดภาชนะ การจัดการขยะติดเชื้อ ฯลฯ เพื่อการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและบริหารจัดการได้อย่างครบลูป
SPRiNG นำบางประเด็นที่ผู้ป่วยโควิดหรือบุคคลทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจความสำคัญและหลักการเบื้องต้นเมื่อจะจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน ประโยชน์ รวมถึงข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโควิดมาให้อ่านกัน
ทำความเข้าใจว่า "ผู้ป่วยสีเขียว" ที่เข้ารับการรักษาในศูนย์แยกกักตัวในชุมชนได้
ผู้ป่วยสีเขียว คือ ผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด 19 แต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย ได้แก่
ประโยชน์ของศูนย์แยกกักตัวในชุมชน
งานด้านสาธารณสุขและการดูแลสุขอนามัยที่ต้องประสาน
การดำเนินงานของศูนย์แยกกักตัวในชุมชนจะเกิดขึ้นได้ นอกจากอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนแล้ว ยังต้องอาศัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลดังต่อไปนี้
ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน ไม่ใช่ทุกคนที่จะไปอยู่ได้
หากไม่ได้เป็นทีมตั้งต้นในการจัดทำศูนย์ฯ อาจไม่รู้ว่ามีการแยกคุณสมบัติผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ CI ได้และไม่ได้ดังนี้
คุณสมบัติผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ CI ได้
- ช่วยเหลือตัวเองหรือทำกิจวัตรประจำวันได้
- เป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ได้รับการยืนยัน อาจมีหรือไม่มีอาการก็ได้ โดยต้องจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวและไม่ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน*
- เป็นชาวต่างชาติที่สื่อสารกับอาสาสมัครได้ หรือชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาล
- ผู้ป่วยต้องยินยอมเข้ารับการรักษาในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน
- ไม่มีปัญหาสุขภาพจิต
คุณสมบัติผู้ป่วยที่อาจไม่เหมาะกับศูนย์แยกกักตัวในชุมชน
- ผู้มีอายุ 70 ปีขึ้นไป
- สตรีมีครรภ์
- เด็กเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และไม่มีผู้ดูแล ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
- กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง
[*ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดมากกว่า 96% โดยวัดจากเครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว (Pulse Oximeter)]
มีอีกหลายเรื่องราวน่ารู้เพื่อดูแลและช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน
"CovidSelfCheck” ตัวช่วยประเมินอาการคนกรุง ผ่าน LINE OA โดย นิสิต นศ.แพทย์
6 ข้อต้องปฏิบัติ เมื่ออยู่ในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน
1. มีการกำหนดตารางเวลาประจำวัน
2. ระมัดระวังการรวมกลุ่มพูดคุย
3. ไม่รวมกลุ่มกินอาหาร
4. งดเว้นพฤติกรรมที่ก่อความรำคาญแก่คนรอบข้าง เช่น ดูหนังฟังเพลงเสียงดัง ตะโกนพูดคุย
5. งดเว้นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการกระจายเชื้อ และสร้างความไม่เรียบร้อยให้กับศูนย์ เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน
6. ดูแลความสะอาดทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ได้แก่ การซักล้างเครื่องใช้ส่วนตัว การแยกขยะ การทิ้งขยะทั่วไปและขยะติดเชื้อ การใช้ห้องน้ำและพื้นที่ส่วนกลาง
วางแผนจัดเก็บและกำจัดขยะติดเชื้อ
ยังมีคอนเทนต์อื่นๆ ในอีบุ๊กเล่มนี้ที่อาจมีประโยชน์ต่อคุณหรือคนรอบข้าง
แนะนำทางไปดาวน์โหลดคู่มือ http://ssss.network/w15nq
นอกจากนี้ สสส. ยังร่วมกับ วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต (CMU School of Lifelong Education) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดอบรมการ “จัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน” ผ่านระบบ e-Learning บนเว็บไซต์ www.lifelong.cmu.ac.th โดยเป็นหลักสูตรที่ใช้เวลาเรียนและปฏิบัติรวม 1 สัปดาห์ เมื่อเรียนจบหลักสูตรจะได้รับใบประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-certification)
ที่มา : คู่มือการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน Community Isolation (ฉบับปฏิบัติการ) | 2564