หนึ่งในสิ่งที่คนไทยค้นหาและพูดคุยกันมากบนโลกโซเชียลในช่วง 10 วันที่ผ่านมา เกี่ยวกับ ชุดตรวจโควิด (Rapid Test) SPRiNG ใช้เครื่องมือ ZOCIAL EYE วิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 10-19 กรกฎาคม 2564 รวม 10 วัน พบสิ่งที่ชาวเน็ตพูดถึงและสงสัยเกี่ยวกับชุดตรวจโควิดหลายด้าน
ในวันที่ระบบสาธารณสุขไม่ไหวจะแบกรับผู้ป่วยโควิด 19 แล้ว ประชาชนคนไทยต้องพึ่งตัวเองมากขึ้น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับชุดตรวจโควิด (Rapid Test) และหาซื้อเพื่อตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองจึงกลายเป็นแนวทางที่ต่างประเทศใช้กันมาก แต่เพิ่งได้รับอนุมัติให้ใช้ในประเทศไทย อย่างไรก็ดี มีความแม่นยำไม่เท่าการตรวจแบบ RT-PCR
10 วันที่ผ่านมา ชาวโซเชียลพูดถึงชุดตรวจโควิด (Rapid Test) ในประเด็นไหนมากที่สุด
SPRiNG ใช้เครื่องมือ ZOCIAL EYE วิเคราะห์ข้อมูลในช่วงวันที่ 10-19 กรกฎาคม 2564 (10 วัน) เกี่ยวกับการตรวจโควิดด้วยชุดโควิดแบบรวดเร็ว (Rapid test) มีคนบนโลกโซเชียลพูดถึงเรื่องดังกล่าวทั้งหมด 22,907 ข้อความ และมีทั้งหมด 6,196,972 เอ็นเกจเมนต์ เฉลี่ยต่อวันพบว่า มีการพูดถึงชุดตรวจ 619,697 เอ็นเกจเมนต์ โดยสิ่งที่ชาวโซเชียลพูดถึงและสนใจมากที่สุดคือ
มีการพูดถึงหน่วยงานที่จัดหาชุดตรวจโควิด มีการถามหาถึงสถานที่ขาย และเห็นเทรนด์พรีออเดอร์ชุดตรวจโควิดมาขายบนโลกโซเชียล
มีการพูดถึงราคาชุดตรวจโควิดว่า มีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำของไทย การเปรียบเทียบราคาที่ขายในปัจจุบันกับราคาในต่างประเทศ
มีการพูดถึงความแม่นยำของชุดตรวจโควิดและคำถามที่ว่า กี่นาทีรู้ผล
มีการพูดถึงประเด็น อยากให้รัฐแจกชุดตรวจแบบ Rapid test ฟรีให้ประชาชนทุกครัวเรือน และประชาชนในพื้นที่สีแดงต้องเข้าถึงได้ รวมถึง อยากให้ประชาชนเข้าถึงทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับโควิดได้ฟรี
มีการพูดถึงข้อมูลเบื้องต้น วิธีการใช้งานที่ถูกวิธี วิธีอ่านค่าผลและข้อควรระวังของชุดตรวจโควิดแบบ Rapid test
มีการพูดถึงชุดตรวจโควิดที่ผ่าน อย.ในแต่ละยี่ห้อ โดย 3 อันดับแรกที่คนพูดถึงมากที่สุด ได้แก่ Humansis 526 ข้อความ, SD Biosensor 499 ข้อความ และ Biotech 409 ข้อความ
หาข้อมูลเกี่ยวกับชุดตรวจโควิดอยู่หรือเปล่า เรามีลิงก์แนะนำให้อ่านเพิ่ม
ราชกิจจาฯ สธ. ประกาศให้ประชาชนใช้ ชุดตรวจโควิด-19 "Antigen Test Kit" ได้เอง
ชุดตรวจโควิด Rapid Antigen Test คืออะไร ตรวจยังไง จำเป็นแค่ไหนในวิกฤตนี้?
ข้อความที่ระบบเก็บรวบรวมเอ็นเกจเมนต์ทั้งหมดมาจาก
เมื่อดู Sentiment โดยรวม พบว่า 73.42% เป็นข้อความที่สะท้อนถึงการพูดคุยเกี่ยวกับชุดตรวจโควิดบนโซเชียลแบบ Neutral (กลางๆ) ตามมาด้วย 15.4% ที่เป็นข้อความ Negative (แง่ลบ) และ 11.18% เป็นข้อความ Positive (แง่บวก)
สุดท้าย ในด้านการใช้ hashtags พบว่า Top 10 hashtags ที่ชาวโซเชียลนิยมใช้หาข้อมูลเพิ่มเติม มีดังนี้
#โควิด19 24.48%
#ชุดตรวจโควิด 20.29%
#covid19 9.54%
#โควิดวันนี้ 9.47%
#ชุดตรวจโควิด19 7.60%
#โควิด 7.49%
#โควิด19วันนี้ 6.84%
#ชุดตรวจโควิดเกาหลี 5.76%
#rapidantigentest 4.79%
#rapidtest 3.74%
ที่มา : การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับชุดตรวจโควิด (Rapid Test) ระหว่างวันที่ 10-19 กรกฎาคม 2564 (10 วัน) โดย SPRiNG ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ของ Wisesight