svasdssvasds

วันครีษมายัน วันที่ช่วงกลางวันยาวนานที่สุด หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง

วันครีษมายัน วันที่ช่วงกลางวันยาวนานที่สุด หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง

ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้านานที่สุด หรือ วันครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน) (Summer Solstice) โดยใช้เวลานานถึง 12 ชั่วโมง 56 นาที ในปี 2564 นี้ ตรงกับวันที่ 24 มิ.ย.

รู้หรือไม่! วันนี้ 21 มิ.ย. 64 เป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปีหรือที่รู้จักในชื่อ วันครีษมายัน เพราะดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานถึง 12 ชั่วโมง 56 นาที เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ

 

โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความว่า 21 มิถุนายน 2564 เป็น วันครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน) Summer Solstice วันที่มีเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด NARIT ขอเชิญชวนโรงเรียนทั่วไทย ร่วมจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน!

สำหรับประเทศไทย ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 05:51 น. ตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 18:47 น. รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานถึง 12 ชั่วโมง 56 นาที จึงเป็นวันที่ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่เข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกใต้ 

 

กลางวันและกลางคืน เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง ในขณะเดียวกันโลกก็ โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับแกนตั้งฉากกับระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้บริเวณต่าง ๆ ของโลกในแต่ละช่วงของปีได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ส่งผลให้เกิดเป็นฤดูกาลบนโลก

ในระยะเวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น - ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ วันครีษมายัน วันที่กลางวันยาวนานที่สุด วันเหมายัน วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต วันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

 

 

นอกจากนี้ ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (IAU) ยังกำหนดให้เป็น วันดาราศาสตร์ในโรงเรียน ประจำปี 2564 (Astronomy Day in School) อีกด้วย