สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มจิตเวชนั้น คนในครอบครัวหรือคนรอบข้างควรมีส่วนช่วยผู้ป่วยจิตเวชในการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ซึ่ง ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อควรรู้ในการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวช มาแนะนำ
การติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเจ็บป่วยทางจิตรุนแรง เช่น โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้ารุนแรง เชาวน์ปัญญาบกพร่อง ออทิซึม และโรคทางจิตเวชอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการดำเนินชีวิต เนื่องจากการดำเนินโรคมีความซับซ้อนและรุนแรง ควรได้รับวัคซีนอย่างเร่งด่วน ส่วนผู้ป่วยจิตเวชทั่วไปควรมีการเตรียมตัวในการฉีดวัคซีนเช่นกัน
การเตรียมตัวเพื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยจิตเวช
-รับประทานยาต่อเนื่องและดูแลสุขภาพจิตของตัวเองให้คงที่ โดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์ก่อน และ 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน
-พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอน ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
-ไม่ควรลดยา เพิ่มยา หรือปรับยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือถอนยาได้
-ยาจิตเวชส่วนใหญ่ปลอดภัยต่อการฉีดวัคซีน ยังไม่พบรายงานถึงปฏิกิริยาระหว่างยาจิตเวชกับวัคซีนโควิด-19 (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564)
-หากผู้ป่วยรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับการรักษา การรับประทานยาและการฉีดวัคซีน ควรปรึกษาจิตภาพที่ดูแลรักษา
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ทานยากลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน Sinovac
-SSRI เช่น fluoxetine, sertraline, escitalopram
-SNRI เช่น venlafaxine, duloxetine
-Tricyclic antidepressant เช่น amitriptyline, nortriptyline, imipramine
แนะนำงดยา 24 ชั่วโมงก่อนฉีดวัคซีน เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง
Cr. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย / กรมสุขภาพจิต / สถาบันบำราชนราดูร