svasdssvasds

6 วิธีดูแลสุขภาพจิตใจท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ของ วัยรุ่นยุค New Normal

6 วิธีดูแลสุขภาพจิตใจท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ของ วัยรุ่นยุค New Normal

วิกฤติโควิด-19 ทำให้การใช้ชีวิตทุกช่วงวัยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวัยทำงาน วัยเด็ก วัยชรา หรือแม้แต่วัยรุ่น การปิดโรงเรียนชั่วคราวและการยกเลิกกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนทำให้เยาวชนพลาดช่วงเวลาอันสำคัญ

รวมทั้งเวลาแห่งความสุขสนุกสนานในแต่ละวัน เช่น การคุยกับเพื่อนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ อาจทำให้เยาวชนรู้สึกกังวล โดดเดี่ยว และผิดหวัง 

วันรุ่น ดร. ลิซา ดามูร์นักจิตวิทยาวัยรุ่น ผู้เชี่ยวชาญและนักเขียนเจ้าของผลงานยอดขายสูงสุด และผู้เขียนบทความรายเดือนของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ แนะนำ ผู้ปกครองหรือคนรอบข้างควรให้ลูกหลานรับรู้ว่า “คุณไม่ได้อยู่เพียงลำพัง ” ซึ่งการฝึกให้เยาวชนมีร่างกายและจิตใจแข็งแรงพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ มีเทคนิค ดังนี้ 

1.ตระหนักว่า ความวิตกกังวลเป็นเรื่องปกติ  

เมื่อปิดโรงเรียนชั่วคราวและข่าวสารที่น่าตกใจมากมาย อาจทำให้พวกเขารู้สึกกังวล จำไว้ว่า เราไม่ได้รู้สึกเพียงคนเดียวและไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะรู้สึกเช่นนี้ “นักจิตวิทยายอมรับกันมานานแล้วว่าความวิตกกังวลเป็นกลไกปกติของร่างกายที่มีประโยชน์ในการแจ้งเตือนให้เราทราบถึงภัยคุกคาม และหาวิธีป้องกันตนเอง ดร. ดามูร์ กล่าว “ความกังวลจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่า คุณจะต้องทำสิ่งใดในขณะนี้ เช่น ไม่พบปะผู้คน หรือไปอยู่ในกลุ่มคนจำนวนมาก ล้างมือและไม่สัมผัสใบหน้าของตน เป็นต้น” ความรู้สึกเหล่านั้นไม่เพียงช่วยให้ตัวเองปลอดภัย แต่ยังรวมถึงผู้อื่นด้วย  

          ดร. ดามูร์ แนะนำว่า “เมื่อรู้แล้วว่า ความกังวลใจเกี่ยวกับโควิด-19 เป็นอาการปกติทั่วไป เราควรเลือกรับข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบหากกังวลว่ามีอาการป่วยด้วยโรคโควิด -19 ดร. “จำไว้ว่าการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด -19 โดยทั่วไปนั้นไม่รุนแรงโดยเฉพาะสำหรับเด็กและคนหนุ่มสาว” ที่สำคัญ อาการส่วนใหญ่ของโรคนี้ก็รักษาให้หายได้ และหากคุณรู้สึกไม่สบายควรบอกให้ผู้ปกครองทราบ

วัยรุ่น 2. ทำกิจกรรมที่สนใจ

“นักจิตวิทยาเห็นพ้องกันว่า เมื่อเราตกอยู่ในสภาวะยากลำบากอย่างต่อเนื่อง เราจะต้องแบ่งปัญหาออกเป็นสองส่วน – ส่วนที่จัดการได้ กับส่วนที่เราไม่สามารถทำอะไรได้” แม้ในเวลานี้จะมีหลายสิ่งที่จัดอยู่ในส่วนที่สอง แต่ก็ไม่เป็นไร สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เรารับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้คือการมองหากิจกรรมที่เราสนใจ เช่น ลองทำการบ้าน ดูหนังเรื่องโปรด หรือนอนอ่านนิยาย เพื่อผ่อนคลายและสร้างสมดุลให้กับชีวิตในแต่ละวัน

3. หาวิธีใหม่ ๆ ในการสนุกกับเพื่อนฝูง

หากต้องการใช้เวลากับเพื่อนฝูงโดยที่ยังรักษาระยะห่างทางสังคมอยู่ล่ะก็ สื่อสังคมออนไลน์เป็นทางเลือกที่ดีลองมาใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น อาจเข้าร่วมใน Tik-Tok Challenge #SafeHand เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่มีความคิดสร้างสรรค์ พวกเขาจะสามารถหาวิธีติดต่อกันทางออนไลน์ด้วยรูปแบบใหม่ ๆ ได้ แต่ผู้ปกครองควรจัดสรรเวลาการใช้เซียลอย่างเหมาะสม    

4. มุ่งมั่นทำสิ่งใหม่

หากสนใจทำอะไรใหม่ๆ เช่น อ่านหนังสือเล่มใหม่ หรือฝึกเล่นเครื่องดนตรีชิ้นใหม่ และนี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด! การมีสมาธิอยู่กับกิจกรรมตรงหน้าและหาวิธีใช้เวลาที่เพิ่มขึ้นอย่างสร้างสรรค์ เป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นักจิตวิทยาแนะนำให้ ลิสต์สิ่งที่ต้องการอ่าน และตั้งใจจะทำออกมาทั้งหมด

 

 

 

5. ยอมรับความรู้สึกของตัวเอง

การพลาดทำกิจกรรมกับเพื่อนฝูง งานอดิเรก หรือการแข่งขันกีฬา เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างมากสำหรับวัยรุ่น นักจิตวิทยาได้ให้ความเห็นว่า สิ่งเหล่านี้เป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้วัยรุ่นเศร้าหมอง ซึ่งไม่แปลกเลยที่พวกเขาจะรู้สึกเช่นนั้น และวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับความผิดหวังก็คือ การรู้ว่าตัวเองรู้สึกเช่นไร เมือเรารู้สึกเจ็บปวด ทางเดียวที่จะหลุดพ้นก็คือ ต้องผ่านความรู้สึกนั้นมาให้ได้ ดังนั้น หากเศร้าก็จงเศร้า และเมื่อปล่อยให้ตัวเองรู้สึกถึงความเศร้าแล้ว ก็จะรู้สึกดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

การจัดการกับความรู้สึกของตัวเองแตกต่างกันไปในแต่ละคน เด็กบางคนสร้างสรรค์งานศิลปะ บางคนก็ต้องการพูดคุยกับเพื่อน  หรือบางคนอาจบริจาคสิ่งของให้กับองค์กรการกุศล สิ่งสำคัญคือการเลือกทำในสิ่ง ใช่” สำหรับตัวเอง

 

6. เมตตาตนเองและผู้อื่น

วัยรุ่นบางคนกำลังเผชิญกับการถูกระรานหรือข่มเหงในสถานศึกษา โดยมีสาเหตุมาจากสถานการณ์โควิด-19 วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับการข่มเหงรังแกทุกรูปแบบคือ การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งเด็กและวัยรุ่นที่ตกเป็นเป้าไม่ควรเผชิญหน้ากับการระรานเหล่านั้น แต่เราควรแนะนำให้พวกเขาหันไปหาเพื่อนหรือผู้ใหญ่ที่จะให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนได้

หากเห็นเพื่อนคนหนึ่งถูกรังแก จงเข้าหาและพยายามช่วยเหลือ การไม่ทำอะไรเลยจะทำให้บุคคลนั้นรู้สึกว่าทุกคนไม่พอใจหรือห่วงใยตน คำพูดของเราสร้างความแตกต่างได้ และต้องไม่ลืมที่จะไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนบอกกล่าวสิ่งใด ที่อาจเป็นการทำร้ายจิตใจผู้อื่น

Cr. www.unicef.org