เนื่องด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนที่สัมผัสฝุ่นในช่วงนี้ จึงมีข้อแนะนำวิธีปฏิบัติให้ปลอดภัยจาก ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มาฝาก
ประเทศไทยนอกจากกำลังเผชิญกับสถานการณ์โควิด 19 แล้ว ตอนนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอยู่เช่นกัน นั่นก็คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ฉะนั้นก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง แนะนำให้ตรวจเช็กสภาพอากาศให้ดี เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือ และระมัดระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เพราะหากได้รับมลพิษจากฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป
- ลดการก่อมลพิษและลดกิจกรรมอันเป็นการเพิ่มปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ เช่น ลดการใช้รถยนต์ที่มีควันดำ ลดการเผาขยะหรือเผาในที่โล่งแจ้ง การสูบบุหรี่ การจุดธูป หุงต้มด้วยถ่านหรือไม้ฟืน
- ดูแลทำความสะอาดบ้านให้ปลอดฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด และปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรออกนอกบ้านหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น ออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะบริเวณหรือเส้นทางที่มีฝุ่นหนาแน่น
- หากจำเป็นก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ควรตรวจสอบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่แอปพลิเคชันAir4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ เพื่อประเมินความเสี่ยง
- หาวิธีป้องกันการสัมผัสฝุ่น โดยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และดื่มน้ำให้เยอะๆ เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองคอ แสบคอ นอกจากนี้ผู้ที่เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ ควรป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากาก แว่นตา เสื้อแขนยาวขายาว เพื่อป้องกันฝุ่น เพราะฝุ่นจะทำให้เกิดการระคายเคืองตาและผิวหนังได้
1. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก
2. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล แสบจมูกและลำคอ
3. กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ เช่น อาการคันตามร่างกาย มีผื่นแดงตามร่างกาย
4. กลุ่มโรคตาอักเสบ เช่น อาการแสบหรือคันตา น้ำตาไหล และตาแดง
หากสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารจากหน่วยงานราชการและเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างใกล้ชิด สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
ขอบคุณข้อมูลจาก : กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
วิธีป้องกันดวงตาจากเจ้าฝุ่นตัวร้าย PM 2.5
ค่าฝุ่น PM2.5 กทม.-ปริมณฑล เกินมาตรฐานสีแดง 15 พื้นที่ - 36 จังหวัดเกินมาตรฐาน