svasdssvasds

"บทบาท(บาตร)พระ " หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน

"บทบาท(บาตร)พระ " หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

\"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน

“บาตร” เป็นหนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร 8 อย่างที่สำคัญต่อการดำรงชีพของพระภิกษุสามเณรในการดำรงเพศบรรพชิต ตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้นั้น ห้ามไม่ให้พระภิกษุใช้บาตรที่ทำจากโลหะหรือวัสดุมูลค่าสูงไม่ว่าจะเป็นเงิน ทองคำ หรือแก้วแหวนอัญมณีต่าง ๆ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้พระภิกษุได้รับอันตรายจากโจรผู้ร้ายที่มาแย่งชิงบาตร อีกทั้งอาจทำให้พระภิกษุเกิดกิเลสได้ง่าย ในสมัยพุทธกาลบาตรจึงมีเพียง 2 ลักษณะคือ “บาตรดินเผา” และ “บาตรเหล็กรมดำ” ขนาดไม่เกิน 11 นิ้ว ตามพุทธบัญญัติที่ห้ามไม่ให้ใช้บาตรขนาดใหญ่เกินไป จากเหตุที่พระภิกษุรูปหนึ่งเกิดความโลภในอาหาร จึงใช้บาตรลูกใหญ่ในการบิณฑบาต หากบิณฑบาตได้อาหารดี ๆ ก็จะนำอาหารซ้อนไว้ใต้บาตรเพื่อฉันเพียงรูปเดียว แต่พระภิกษุรูปนั้นก็ฉันไม่หมด อาหารเน่าเสีย ต้องเททิ้ง

\"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังทรงบัญญัติพระธรรมวินัยเกี่ยวกับการใช้บาตรของพระภิกษุสงฆ์ไว้หลายประการ เช่น ในการบิณฑบาต พระภิกษุสามารถรับบาตรได้ไม่เกิน 3 บาตร, ในช่วงเวลาบิณฑบาตห้ามสะพายบาตรไว้ด้านหลังเพื่อป้องกันไม่ให้บาตรชน กระแทก แตกหักเสียหาย, ห้ามเปิดประตูขณะถือบาตรอยู่ในมือเพราะอาจทำให้บาตรหล่นและแตกหักได้ ต้องวางบาตรให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วจึงเปิดประตู, ขณะที่ถือบาตรอยู่ในมือห้ามห่มจีวร ต้องวางบาตรให้เรียบร้อยก่อนจึงจะทำการขยับหรือนุ่งห่มจีวรได้, ต้องวางบาตรให้ห่างจากขอบโต๊ะอย่างน้อย 1 ศอก เพื่อป้องกันบาตรตกแตกเสียหาย \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน หากเราจะนึกถึงแหล่งตีบาตรพระดังเดิม สถานที่แรกที่เราต้องกล่าวถึงคือ “ชุมชนบ้านบาตร” โดยมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นชุมชนที่เกิดจากการรวมตัวของชาวกรุงศรีอยุธยาที่มีความชำนาญด้านการตีบาตร และได้อพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในราวปี พ.ศ.2326 เป็นช่วงสมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี แต่ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา บาตรแบบตีเริ่มได้รับความนิยมลงจากการเข้ามาของบาตรปั๊ม ที่ทำด้วยเครื่องจักร ไม่มีตะเข็บ สะดวกในการดูแลรักษาและง่ายต่อการทำความสะอาด อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่า ช่างตีบาตรลดจำนวนลงตามกลไกของตลาด   \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน เสียงตีบาตรที่ค่อยจางหายไปทีละน้อยกับบทบาทการใช้สอยของบาตรบนความเปลี่ยนแปลงไป หน้าที่ของบาตรที่เป็นภาชนะบรรจุภัณฑ์รองรับอาหาร ถูกนำไปเชื่อมโยงเข้ากับประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ ทางศาสนามากยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่พระภิกษุอาศัยฉันอาหารเพียงอย่างเดียว และยังเป็นสัญลักษณ์ของ “ผู้รับที่พร้อมให้ และผู้ให้ที่พร้อมรับ” อีกด้วย

\"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน \"บทบาท(บาตร)พระ \" หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีหลากหลายหน้าที่ ตามบริบทในสังคมไทยปัจจุบัน

related