svasdssvasds

วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

นพ.วิทยา วันเพ็ญ จิตแพทย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ รพ. พระรามเก้า แนะวิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 อ้างอิงจากประกาศราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คำแนะนำในการดูแลจิตใจช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19

รับมือโควิด 19 ด้วย 9 ควร 4 ไม่ควร

9 ควร มีดังนี้

1. รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น กระทรวงสาธารณสุข

2. ควรลดการเสพข้อมูลที่มากเกินไป

3. ดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม เช่น การรับประทานอาหาร การนอน การออกกำลังกายตามปกติ

4. ดูแลอารมณ์ ตามรู้อารมณ์ตัวเอง หาสาเหตุสิ่งที่ทำให้เครียด ระบายกับคนที่ไว้ใจ

5. มีสติรับมือกับปัญหาที่จะเข้ามาเพิ่ม

6. หางานอดิเรกที่เหมาะสม ที่ตนเองชอบ

7. สื่อสารในสังคมออนไลน์ตามควร ในสิ่งที่เป็นความรู้ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

8. เข้าใจและเห็นอกเห็นใจความรู้สึกทุกข์ของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และผู้เกี่ยวข้อง

9. ส่งความใส่ใจ และการช่วยเหลือดูแลสังคม

4 ไม่ควร

1. ไม่ควรแก้เครียดด้วยอบายมุข บุหรี่ และแอลกอฮอล์

2. ไม่ควรมองหาคนผิด ด่าว่ากันในสังคม

3. ไม่ควรแสดงการรังเกียจกันในสังคม

4. ไม่ควรแชร์ โพสต์ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ทำอย่างไรไม่ให้ panic หรือ panic น้อยลง

อาการ panic เกิดจากการทำงานของร่างกายและสมองที่ไม่ประสานงานกัน จากการวิตกกังวล คิดเรื่องซ้ำๆ เดิมๆ และไม่สามารถหาทางออกได้

ส่งผลให้สมองมีความอ่อนล้า นำไปสู่การทำงานของร่างกายที่ผิดเพี้ยนไป เกิดเป็นอาการ เช่น ใจสั่น, หายใจไม่สะดวก, มึนงง, วิงเวียน, ปวดศรีษะ, ปวดท้อง, ปัสสาวะ, อุจจาระผิดปกติ, กินไม่อร่อย, นอนไม่หลับ, ส่งผลทำให้ความจำไม่ดี, หลงลืมง่าย, ไม่มีสมาธิในการทำงาน

วิธีการแก้ไข คือ การเบี่ยงเบนให้สมองไปสนใจสิ่งอื่นแทน เพื่อให้สมองเกิดการผ่อนคลาย ได้แก่ งานอดิเรกต่างๆ ที่เคยชอบทำ เช่น อ่านหนังสือ, ฟังเพลง, ดูภาพยนตร์, ละคร, วาดภาพ, ปลูกต้นไม้, เล่นกับคนรอบข้าง หรือสัตว์เลี้ยง อะไรก็ได้ที่เคยชอบทำ เมื่อสมองผ่อนคลาย ร่างกายก็จะค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

เมื่อเราต้องเริ่มทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from home ทำให้ได้ใกล้ชิดอยู่บ้านกับลูก ซึ่งบางครั้งอาจต้องทำหลายสิ่งในตัวคนเดียว เนื่องมาจาก งานก็ต้องทำ ลูกก็ต้องเลี้ยง ฉะนั้น วิธีรับมือที่ดี มีดังนี้

1. บริหารจัดการเวลา สถานที่ในการทำงาน และการเลี้ยงลูกให้เหมาะสม เพื่อให้สมองไม่รับภาระหนักจนเกินไปในเวลาเดียวกัน

2. ถ้าสถานที่ หรือเวลาไม่เอื้ออำนวย จำเป็นต้องทำทั้งสองอย่างในสถานที่และเวลาเดียวกัน ให้ลองปรับมุมมองว่า เป็นโอกาสน้อยครั้งในชีวิต ที่จะได้ทำงานและเลี้ยงลูกไปด้วย ถ้าลูกโตพอจะได้เห็นว่าพ่อแม่ทำงานอย่างไร เหนื่อยยากลำบากอย่างไรแล้ว ลองหากิจกรรมง่ายๆ ให้ลูกช่วยงาน จะได้สอนให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเอง ที่ได้ช่วยงานพ่อแม่ทำงานได้

หากเป็นเด็กเล็ก ต้องหาจังหวะเวลาที่เด็กพักผ่อนมาทำงาน เพื่อป้องกันการเหน็ดเหนื่อย ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะ burn out ต่อไป

วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19