svasdssvasds

รวมทุกพิรุธ "ตึก สตง.พังถล่ม" ทุนจีน-นอมินี-โปรเจคสร้างตึกอื่น

รวมทุกพิรุธ "ตึก สตง.พังถล่ม" ทุนจีน-นอมินี-โปรเจคสร้างตึกอื่น

สรุปรวมทุกข้อสังเกตของ “บริษัททุนจีน-ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10" ผู้สร้าง ตึก สตง. ที่เรารับรู้ในเวลานี้! ทุนร้อยล้านแต่มีคนไทยถือหุ้นแค่ 3 คน!!

SHORT CUT

ใช้เหล็กไร้คุณภาพ เหล็กจีน-เหล็กเก่า?

รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวหลังลงพื้นที่ตึกถล่มเพื่อตรวจสอบคุณภาพวัสดุก่อสร้าง ถึงกับกล่าวว่า  “แค่เห็นเหล็กก็อึ้งแล้ว” และได้นำตัวอย่างเหล็ก 6 ชนิดจากที่เกิดเหตุไปส่งตรวจ และเจ้าหน้าที่มีการเปิดเผยว่า “เหมือนมีเหล็กเก่ามากปะปนอยู่กับเหล็กใหม่” ด้วย

 

นอกจากนี้ยังมีวิศวกรโยธาฯ ให้ข้อมูลว่า หนึ่งในเหล็กที่ใช้สร้างตึก สตง. เป็นเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ไม่ได้ปล่อยให้เย็นตัวตามปกติ ทำให้โครงสร้างไม่เป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ความแข็งแรงไม่เท่ากันตลอดหน้าตัด ไม่เหมาะแก่การสร้างตึกสูงเพราะขาดคุณสมบัติการขยับตัวของเหล็ก และภาพที่เห็นเหล็กขาดอย่างไม่มีร่องรอยของความยืดหยุ่น

 

บริษัทนี้ยังรับเหมาก่อสร้างในตึกอื่นๆด้วย!

บริษัทนี้ยังร่วมเป็นผู้รับเหมา ในลักษณะ “กิจการร่วมค้า” ชนะประมูลได้ก่อสร้างโครงการอื่นๆด้วย เช่น

  • อาคารสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สูง 16 ชั้น มูลค่า 716 ล้านบาท ที่ ถนนติวานนท์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี  ยังสร้างไม่เสร็จ
  • ศูนย์ฝึกกีฬามวยสากล การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) สูง 9 ชั้น มูลค่า 608 ล้านบาท ที่สนามกีฬาหัวหมาก บางกะปิ กทม. ยังสร้างไม่เสร็จ
  • ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า

 

กีดกัน “ข้อตกลงคุณธรรม” ในชั้น TOR

ผอ.องค์การต่อต้านคอร์รัปชั่น(ACT) ประเทศไทย เผยว่า โครงการสร้างตึกใหม่ สตง.ที่ถล่มลงมานั้น “ไม่ผ่านการรับรองข้อตกลงคุณธรรม” อย่างที่แอบอ้าง เพราะถูกไอ้โม่ง ดึงออก ไม่ได้รับอนุมัตจากรัฐให้เข้าข้อตกลงคุณธรรม ทำให้ ACT ไม่มีส่วนร่วมในขั้นการร่าง TOR ได้เข้าสังเกตการณ์ช่วงที่ได้ผู้รับเหมาแล้ว มีการทักท้วงตลอดเพราะก่อสร้างล่าช้าและมีความผิดปกติ

 

ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 68

สรุปรวมทุกข้อสังเกตของ “บริษัททุนจีน-ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10" ผู้สร้าง ตึก สตง. ที่เรารับรู้ในเวลานี้! ทุนร้อยล้านแต่มีคนไทยถือหุ้นแค่ 3 คน!!

บริษัทแม่เคยถูกแบนโดยสหรัฐฯ

หนึ่งในบริษัทร่วมทุนในการก่อสร้างอาคาร สตง. คือบริษัททุนจีน ชื่อ ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10(ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นใหญ่ 49% โดยบริษัทแม่ในจีน ชื่อไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป คัมปะนี (สัญชาติจีน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ “China Railway Engineering Group หรือ CREG”

 

"China Railway Engineering Group หรือ CREG” เป็นหนึ่งใน 31 บริษัท ตามคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ 13959 หรือ Executive Order ลงนามเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2020 โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อห้ามนักลงทุนชาวอเมริกันลงทุนทุกชนิด เพราะบริษัทเหล่านี้ถึงแม้จะอยู่ในรูปเอกชน แต่ทว่ากลับมีการสนับสนุนโดยตรงทางการทหาร ข่าวกรอง และหน่วยความมั่นคงต่างๆของจีน

สัดส่วนผู้ถือหุ้นสุดแปลก คนไทยที่ถือหุ้นมีประวัติแปลกยิ่งกว่า!

บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10(ประเทศไทย) จำกัด เพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งในไทยเมื่อปี 2561 ก่อนหน้าประมูลชนะสร้างตึก สตง.เพิ่ง 1-2 ปี มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีสถานที่ตั้งเป็นห้องเช่าตึกแถวขนาดไม่ใหญ่ ในซอยพุทธบูชา 44 แยก 11 ชั้นล่างเป็นชิปปิ้งส่งของจากจีน ชั้นสองเป็นออฟฟิศ มีกรรมการ 2 คนคือ นายชวนหลิง จาง และนายโสภณ มีชัย

 

บริษัทแม่ในจีนถือหุ้น 49% เป็นอัตราสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้น อีก 51% เป็นหุ้นของคนไทยจำนวน 3 คน ได้แก่ 

  • โสภณ มีชัย ถือ 40.8% 
  • ประจวบ ศิริเขตร ถือ 10.2% 
  • มานัส ศรีอนันท์ ถือ 3 หุ้น หรือ 0.00% เท่านั้น

 

นายโสภณ มีชัย มีประวัติเป็นพนักงานทั่วไปของบริษัทขายยางรถยนต์และล้อแม็กซ์ เป็นกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย ตรวจสอบไม่พบประวัติเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรมหรือรับเหมาก่อสร้างมาก่อน เป็นกรรมการ 4 บริษัทเครือข่ายทุนจีน คือ 

  1. บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด 
  2. บริษัท ไซเบอร์ เทเลคอม จำกัด 
  3. บริษัท ไฮห่าน จำกัด 
  4. บริษัท เอที แคปปิตอล โซลูชั่น จำกัด

 

นายประจวบ ศิริเขตร ค้นหาข้อมูลไม่พบประวัติการทำงานในอินเตอร์เน็ต ถือครองหุ้น 5 บริษัท ได้แก่

  1. บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ถือ 40.8%  
  2. บริษัท เอที แคปปิตอล โซลูชั่น จำกัด
  3. บริษัท ไฮห่าน จำกัด ถือ 51% 
  4. บริษัท ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป จำกัด ถือ 25.5% 
  5. บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด ถือ 10% 

ส่วนนายมานัส ศรีอนันต์ ที่ถือหุ้นเพียง 3 หุ้นนั้น กลับนั่งเป็นกรรมการอีก 9 บริษัท

  1. บริษัท วีล มาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด 
  2. บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด 
  3. บริษัท สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 
  4. บริษัท สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต จำกัด 
  5. บริษัท สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด 
  6. บริษัท เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 
  7. บริษัท เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต(ประเทศไทย) จำกัด 
  8. บริษัท โชคนิมิต บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 
  9. บริษัท บี เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด

 

related