svasdssvasds

เร็ว แรง ทะลุคันนา รถไถนาซิ่ง กีฬาประลองความเร็วฉบับชาวนาไทย

เร็ว แรง ทะลุคันนา รถไถนาซิ่ง กีฬาประลองความเร็วฉบับชาวนาไทย

“ตอนนี้ในหมู่เกษตรกร การแข่งรถไถนาเป็นที่นิยมที่สุดแล้ว ใครไม่รู้จักรถเกียร์ 4 ไม่ใช่ละ ไม่ใช่ลูกชาวนาแน่นอน” มงคล กลิ่นกลัด เจ้าของอู่เก่ง & ปาร์คท่อสูตรรถทำนาซิ่งพูดขึ้น ทำให้เราแอบอายเล็กน้อยที่แทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกีฬาชนิดนี้เลย

SHORT CUT

 

ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News

เมื่อสิ้นสุดฤดูเกี่ยวข้าว เขาจะรอคอยให้ ‘ลูกพี่’ หรือ สุชาติ แสงจันทร์ หัวหน้าทีมช่างเปิ้ล แสงจันทร์ ทีมที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศเรียกตัวมาแข่ง บางครั้งเขาต้องขึ้นไปพิษณุโลก บางครั้งต้องมานครปฐม ขึ้นอยู่กับว่ามีการแข่งขันที่ใดและลูกพี่ต้องการตัวเขาเมื่อไหร่ 

ใหญ่กลายเป็นนักแข่งรถไถนาครั้งแรกราว 4 ปีที่แล้ว จากความบังเอิญมีโอกาสผลัดมือขับกับรุ่นพี่ที่รู้จัก แล้วหลังจากนั้นก็ฝึกฝนตัวเองเรื่อยมาจนกลายเป็นนักแข่งอาชีพเหมือนทุกวันนี้ ฝีมือของใหญ่ถือว่าขึ้นชื่อในวงการ เขาเป็นที่รู้จักในฉายา ‘แฝดอภินิหาร’ ร่วมกับน้องชายฝาแฝดอีกคนชื่อ ก๊อง – สมบัติ กล่ำพูนสวัสดิ์ 

สำหรับผลงานในสนามนี้ ใหญ่ได้ที่ 1, 2, 3 และที่ 4 ซึ่งเขายอมรับว่าเป็นสนามที่ “ผิดพลาดไปเยอะ” แต่ยัง “ภูมิใจเพราะเรามีเวลาซ้อมน้อย” 

“เราต้องมั่นใจในตัวเรา ถึงจะแพ้ เราก็ต้องเรียนรู้ สนามหน้าเราต้องตั้งเป้าเลยว่าที่ 1 ต้องเป็นของเรา มั่นใจในตัวเองและหาวิธีไต่เต้าขึ้นไป จะไปทางไหน วิ่งทางไหน ต้องเชื่อตัวเองจะไปฟังใครไม่ได้ เพราะเราเป็นคนขับ” ใหญ่สะท้อนแนวคิดในฐานะนักแข่งรถไถนาซิ่ง

 

สำหรับอาชีพนักแข่งรถไถนาไม่มีเงินเดือนประจำ แต่ทุกครั้งที่มาแข่ง เขาจะได้รับค่าน้ำมัน (ค่าเดินทาง), ค่ากินค่าอยู่ รวมถึงส่วนแบ่งเงินรางวัลขึ้นอยู่กับว่าผลงานของทีมและตัวเขาเป็นอย่างไร 

“อย่างน้อย 5,000 - 6,000 บาท/ สนาม แต่สนามไหนได้น้อยก็เอาแค่ค่าน้ำมันบ้าง อย่างวันนี้ก็แล้วแต่เขาจะให้ ผมไม่ได้เรียกร้องอะไร” ใหญ่เล่าว่าเขาแข่งประมาณ 5-6 ครั้ง/ ปี แต่ขึ้นอยู่กับฟ้าฝน เพราะการแข่งขันรถไถนาจะแข่งไม่ได้หากมีฝนตก เพราะเครื่องอาจจะพังได้ 

ปีนี้ใหญ่อายุ 25 ปี และเขาคิดว่าตัวเองคงจะเป็นนักขับอาชีพจนถึงอายุราว 30 ปี หลังจากนั้นจะส่งไม้ต่อให้คนรุ่นหลังขับต่อ ส่วนตัวเขาจะกลับไปรับจ้างเกี่ยวข้าวเต็มตัว อาจกลับมาจับแฮนด์และคันเร่งบ้าง หากลูกพี่เรียกตัว

“ไม่น่าจะขับเกินอายุ 30 ปี ถ้าไม่ไหวก็ต้องพอ มันต้องมีจุดของมัน” ใหญ่เล่าต่อ “น่าจะกลับไปทำงานแถวบ้าน แต่คงยังอยู่ในวงการนี้แหละ ถ้ามีแข่งก็จะมาทดลองรถให้ แล้วสอนเด็กรุ่นใหม่ๆ”

นักแข่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาชีพใหม่ที่เกิดพร้อมความเติบโตของกีฬาชนิดนี้ ยังมีอาชีพอื่นๆ ไม่ว่า ช่างทำท่อ, ช่างทำเครื่องยนต์, ช่างทำโครงรถ ตลอดจนสื่อที่ปวรณาตนให้แก่กีฬาชาวบ้าน เช่น ดีเจไก่ ไลฟ์สด 

แต่นอกจากผู้เข้าร่วมแข่งขันแล้ว อีกส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในกีฬาทุกประเภทเลยคือ เหล่าผู้ชม

ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News

(3) มหกรรมเลนซิ่ง ความสุขชาวนาไทย 

หากกะด้วยสายตา ตลอดทั้งวันมีผู้เข้ามาร่วมงานแข่งรถไถนาซิ่งครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ราย บางคนเป็นแฟนพันธุ์แท้ มาดูตั้งแต่เช้าจรดพระอาทิตย์ตกดิน บางคนมาแวะซื้อของกินจากซุ้มบริเวณนั้น แทนกับแกล้มชมการแข่งขัน และบางคนเป็นขาจรเช่นเราและทีมงาน

“มันสนุกดีครับ ผมชอบ เพราะผมทำนาและรับจ้างทำเครื่องด้วย“ หนึ่งในแก๊งวัยรุ่นให้สัมภาษณ์กับเรา เขาเล่าว่ามารอการแข่งนี้ตั้งแต่ตี 5.30 น. มาถึงก็เอาแสลนมากางบังแดด พอก๊วนเริ่มมาก็ถึงเวลาเฮฮา ใครใคร่เสเพลอะไรก็แล้วแต่ใจ ถึงคู่ไหนน่าลุ้นก็มีแลกเปลี่ยนติดปลายนวมกันบ้าง คู่ละ 5 บาท 20 บาท ไม่มากเกินไปจนเสียมิตรภาพ

“มันเป็นความสุขของเกษตรกร ความมันยามว่าง ธรรมดาชาวนาเขาใช้รถพวกนี้ทำนาอยู่แล้ว พอใช้ทุกวันก็ทำเครื่อง ใครแรงก็เอาไปแข่ง” ลุงอีกคนที่เดินทางมาจากย่านบางบัวทองเล่าให้เราฟัง 

นอกจากเป็นความสุขให้กับผู้เข้าชม การจัดมหกรรมกีฬาเช่นนี้ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับคนในพื้นที่ ตามรายทางมีพ่อค้าแม่ค้าตั้งซุ้มขายอาหาร อาทิ ไก่ย่าง, ข้าวไข่เจียว, น้ำดื่ม ตลอดจนน้ำกระท่อมและเบียร์ 

“ดีใจครับ การแข่งขันก็ทำให้คนที่มาดูสนุกและมีความสุข ร้านค้าเราก็ไม่เก็บค่าที่ ให้เศรษฐกิจมันขับเคลื่อน คนแถวบ้านก็มีงานทำ” สรณ์ศักย์ วงษ์วาลย์ ผู้ก่อตั้งทีมซุ้มโรงไม้และผู้จัดการแข่งขันรายการ ‘LH เหลียงฮวกไรซ์’ ครั้งที่ 3 บนผืนนาของพวกเขากล่าว 

“ครั้งแรกมันเริ่มด้วยความห้าวของวัยรุ่น พี่ชายกับผมคุยกันแล้วตัดสินใจจัดเลย เราอยากรู้มันเป็นยังไง แล้วเราก็พัฒนาขึ้นทุกปี ปีนี้ใหญ่กว่าปีที่แล้วเยอะมาก และปีหน้าน่าจะใหญ่ขึ้นอีก” คล้ายคำมั่นสัญญาจากสรณ์ศักย์ว่าจะมีการแข่งขั้นครั้งที่ 4 ขึ้นบนผืนนาของเขา 

ทีมงานผู้จัดแข่งขันให้สัมภาษณ์กับเราว่า พวกเขาจะยังคงยึดตามประเพณีเดิมของกีฬาประเภทนี้ โดยกำไรทั้งหมดจะมอบให้แก่วัดและโรงเรียน ส่วนความมันและความสนุกที่เหลือเป็นกำไรของคนดูและตัวเขาเอง 

“งานนี้ได้กำไรก็ยกให้วัดให้โรงเรียน หักค่าใช้จ่ายเหลือเท่าไหร่ก็ให้วัด เราจัดเอามัน ได้เจอผู้คน กลุ่มนั้นกลุ่มนี้ ได้มาเล่นกัน” สรณ์ศักย์กล่าว
ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News

(4) อนาคตเลนซิ่ง – สุกสกาวและยังคงเติบโต 

ถึงแม้กีฬารถไถนาซิ่งอาจไม่ได้รับความนิยมเหมือนกีฬาความเร็วประเภทอื่น เช่น F1 แต่ในมุมของผู้ที่อยู่ในวงการ พวกเขายังมองเห็นอนาคตสดใสของกีฬาประเภทนี้ 

“ตราบใดที่ประเทศไทยมีชาวนา มันก็ไม่มีวันจบ เพราะที่ผมเห็นมามันส่งต่อจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูกแล้ว รุ่นลูกเคยช่วยพ่อขันน็อต ตอนนี้เขากลายเป็นคนขับแล้ว” มงคลกล่าว

“ทุกวันนี้มันไม่หยุดนิ่งเลย มีร้านใหม่ๆ ช่างใหม่ๆ อุปกรณ์ตกแต่ง ขึ้นมาหลากหลาย มันคนละเรื่องกับเมื่อก่อนเลย ความเร็วความแรงมันพัฒนาไปเรื่อยปีต่อปี” มงคลสะท้อนสิ่งที่เขาเห็น

“มันจะโตขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเกษตรกรทุกคนต้องทำเครื่องยนต์พวกนี้อยู่แล้ว และประเทศไทยทำอะไรเป็นเบอร์หนึ่ง นาข้าวครับ เพราะฉะนั้นยังไงก็ยังต้องมีแต่งเครื่องไปขับแข่งกันเองในซุ้ม“ สรณ์ศักย์ยังยืนว่าตัวเขาคงอยู่ในวงการนี้อีกไม่น้อยกว่า 10 ปี เพื่อผลักดันให้ทีมซุ้มโรงไม้ขึ้นเป็นทีมอันดับหนึ่งของประเทศให้สำเร็จ 

ประโยคหนึ่งที่คนในวงการรถไถนาซิ่งเห็นตรงกันคือ กีฬาประเภทนี้ทำให้ชาวต่างชาติทึ่ง ทั้งในความแปลกใหม่สร้างสรรค์ของคนไทย และความสามารถในการดัดแปลงเครื่องยนต์ที่ฉกาจฉกรรจ์ 

“คนไทยทำเครื่องยนต์เก่งครับ คนต่างชาติเขามาเห็นก็ว๊าวมากครับ เขางงว่าเอาเครื่องยนต์แบบนี้ของอุปกรณ์เกษตรกรมาแต่งได้ยังไง” สรณ์ศักย์กล่าว 

“ตอนนี้กีฬานี้มันมีแค่บ้านเรา บางทีฝรั่งเขามาดู เขาขอขอเอากล้องมาติดรถเลย” ใหญ่กล่าว 

สิ่งที่ใหญ่และสรณ์ศักย์พูดไม่ใช่เรื่องเกินจริงนัก เพราะยอดวิวจากวีดีโอสองชิ้นของช่อง CB Media สูงถึง 1.8 ล้านครั้ง และ 1.3 ล้านครั้ง ส่วนคอมเมนท์ไปในทิศทางเดียวกันคือ ทึ่งกับความสร้างสรรค์ ความสามารถในเชิงช่างของคนไทย และความรักในความเร็วของคนไทย 

ถึงแม้ในปัจจุบัน กีฬารถไถนาซิ่งยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ และมีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่แข่งขันกีฬาชนิดนี้กัน แต่ตราบใดที่ประเทศไทยยังมีผืนนา กีฬาชนิดนี้ก็จะยังคงดำรงอยู่และพัฒนาไปข้างหน้า จนกว่าประเทศจะไม่มีผืนนาเหลือให้แข่งกันอีก 

ดังนั้น อนาคตของกีฬาชนิดนี้ยังคงเปิดกว้าง และใครจะรู้ วันนึงประเทศที่ทำนาทั้งหลาย โดยเฉพาะในอาเซียน อาจหันมาแข่งกีฬาชนิดนี้ด้วยกัน และมันอาจไปไกลถึงวันที่กีฬารถไถนาซิ่งกลายเป็นมหกรรมกีฬาระดับโลกก็ได้  

ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News
 

“ตอนนี้ในหมู่เกษตรกร การแข่งรถไถนาเป็นที่นิยมที่สุดแล้ว ใครไม่รู้จักรถเกียร์ 4 ไม่ใช่ละ ไม่ใช่ลูกชาวนาแน่นอน” มงคล กลิ่นกลัด เจ้าของอู่เก่ง & ปาร์คท่อสูตรรถทำนาซิ่งพูดขึ้น ทำให้เราแอบอายเล็กน้อยที่แทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกีฬาชนิดนี้เลย

ในยามบ่ายอันร้อนระอุของ อ.บางเลน จ.นครปฐม สายตาหลายร้อยคู่กำลังจับจ้องไปที่ผืนนาขนาด 25 ไร่ข้างโรงงานทวนทองวงกบ สองจากในนั้นอยู่บนรถไถนาที่ถูกปรับแต่งจนเสียงเครื่องยนต์คำรามดังไกลถึงปากซอย ทันใดที่ไฟเปลี่ยนจากสีแดงสู่สีเขียว รถไถตีคู่ทะยานออกไป ทิ้งร่องรอยการแข่งขันเป็นเศษโคลนตามเนื้อตัวผู้ขับ และเรียกเสียงตบมือเกรียวกราวจากผู้ชม 

กลุ่มคนที่ยืนดูมหกรรมกีฬา ‘รถไถนาซิ่ง’ นี้อยู่ มีตั้งแต่เด็กเล็กที่มากับพ่อ หนุ่มสาวข้าวใหม่ปลามัน เรื่อยไปจนถึงแก๊งน้าลุง เนื้อตัวของพวกเขาเกรียมแดด ตัวผอมเกร็งเต็มไปด้วยมัดกล้าม และใบหน้ามักตบแต่งด้วยรอยยิ้มเรียบๆ ปราศกังวล 

ในเชิงสถิติ ข้อมูลในปี 2565 ชี้ว่า ประเทศไทยมีเกษตรกรอยู่มากถึง 11.9 ล้านคน หรือมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรไทย จึงไม่ผิดที่จะสรุปว่าพวกเขาคือประชากรกลุ่มใหญ่มากของประเทศ และกีฬาแปลกๆ เช่นนี้ เป็นที่นิยมและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มเกษตรที่ส่วนใหญ่อยู่นอกกรุงเทพฯ 

มันเป็นวันเสาร์ที่ฟ้าเปิดและลมเฉื่อย หลายคนอาจจะเลือกนอนอยู่ในบ้านกับหนังสือสักเล่มหรือไปเดินห้างให้รางวัลตัวเอง แต่สำหรับเกษตรกรอย่างพวกเขา วันหยุดนี้ขอใช้ไปกับการหาความสุขง่ายๆ จากมหกรรมกีฬารถไถนาทางเลนซิ่ง ความสุขฉบับชาวนาไทย 
 

ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News

(1) วันว่างชาวนา – จุดเริ่มต้นเลนซิ่ง 

หากจะย้อนถึงจุดเริ่มของกีฬารถไถนาซิ่ง มงคล เจ้าของอู่ เก่ง & ปาร์คท่อสูตรรถทำนาซิ่ง แบรนด์ท่อรถทำนาเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยเล่าว่า เขาเห็นการแข่งประเภทนี้ครั้งแรกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอนนั้นในช่วงเวลาว่างหรือมีประเพณีไทย กลุ่มเจ้าของอู่รถหรือโรงงานจะจัดแข่งกีฬาประเภทนี้ขึ้น แล้วนำรายได้มอบให้แก่วัดในชุมชน  

โดยกฎการแข่งขันในยุคเริ่มต้นก็แสนเรียบง่ายคือ มี ‘คนโต’ หรือผู้ที่ได้รับการเคารพมาเป็นคนกลาง กำหนดกติกาว่าล้อรถไถนาต้องเป็นอย่างไร, เครื่องยนต์แบบไหน, รถแบบไหน ซึ่งมงคลเล่าว่าตอนนั้นไม่ได้มีการพลิกแพลงอะไรมากนัก และส่วนใหญ่ล้อที่ใช้ขับมักเป็นล้อยาง

ในปัจจุบัน การแข่งขันรถไถนาซิ่งมีมาตรฐานมากขึ้น แต่ยังคงกำหนดกติการแข่งขันแยกตามประเภทของล้อ เช่น ล้อยางหรือล้อเหล็ก และแยกตามประเภทเครื่องยนต์ เช่น 97 โอเพ่น ช่วงชักไม่จำกัด หรือ 100 โอเพ่น และอาจมีรายการพิเศษที่เรียกว่า ‘เซียน’ โดยจะชวนทีมแข่งชื่อดังแต่งรถอย่างไรก็ได้ แล้วมาวางเดิมพันกัน ใครจะชนะก็ได้ทั้งหมดไป 

“ผมไม่ได้คิดว่ามันจะโตมาขนาดนี้ ตอนนั้นแค่เล่นสนุกสนานกัน พอว่างๆ เกษตรกรก็มาจัดแข่งกันเพื่อคลายเครียด” มงคลเล่าย้อนถึงความหลัง 

การแข่งรถไถนาซิ่งเติบโตขึ้นมาก ไม่เพียงเคยมีการแข่งชิงถ้วยรางวัลพระราชทานซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่สุดของประเทศ ยังมีการแข่งที่จัดขึ้นโดยภาคเอกชนรายย่อย โดยมีเงินรางวัลตั้งแต่หลักพันจนถึงล้านบาท รวมถึงมีหลายคนที่ชีวิตเปลี่ยนเพราะการเติบโตของกีฬาชนิดนี้ 


 

ใหญ่ – สมบูรณ์ กล่ำพูนสวัสดิ์ [ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News

(2) นักขับ/ แข่งรถไถเป็นอาชีพ

กีฬารถไถนาซิ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆ รอบกรุงเทพมหานคร โดยมีการจัดแข่งขันกันกันทั้งปีในภาคกลาง, ภาคตะวันออก, ภาคเหนือ มีตั้งแต่สนามซ้อมไม่มีเงินรางวัล เรื่อยไปจนถึงเงินรางวัลระดับหลักพันหรือล้านบาท 

ภาพหนึ่งที่สะท้อนความเติบโตของกีฬาชนิดนี้คือ รายการ ‘ศึกควายเหล็ก’ ที่เคยถ่ายทอดทางทีวีสาธารณะ Thai PBS โดยมีทั้งหมด 35 ตอน ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. พ.ศ. 2560 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (อ้างอิงจากเพลลิสต์ในยูทูป Thai PBS) รวมถึงในโลกออนไลน์ มีทั้งเพจและกลุ่มในเฟซบุ๊ก เช่น ชมรมการแข่งรถไถนาทางเลน มีแฮชแท็กที่มีการโพสต์หลายหมื่น เช่น #รถไถนาทางเลน หรือ #รถไถซิ่ง รวมถึงยังมีสื่อพลเมืองที่ติดตามรายการเหล่านี้อยู่เสมอ อาทิ ดีเจไก่ ไลฟ์สด และ ควายเหล็กทาเลน

“(รถไถนาซิ่ง) เติบโตขึ้นมากครับ บางคนกลายเป็นนักแข่ง บางคนเปิดร้านขายอะไหล่, แต่งเครื่อง มีงานเข้าทุกวัน อู่ผมเองก็มีคนจาก พิจิตร, พิษณุโลก, นครสวรรค์ส่งเครื่องยนต์มาให้ผมทำบ้าง มาซื้ออะไหล่บ้าง ผมเองก็ส่งงานต่อให้ลูกน้อง ให้เขามีอาชีพมีราย” สรณ์ศักย์ วงษ์วาลย์ ผู้ก่อตั้งทีมซุ้มโรงไม้และผู้จัดการแข่งขันรายการรถไถนาซิ่งบนผืนนาของครอบครัว ขึ้นเป็นเป็นครั้งที่ 3 กล่าว 

เมื่อวงการนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ กีฬาชนิดนี้จึงเปลี่ยนชีวิตของใครหลายคน หนึ่งในนั้นคือ ใหญ่ – สมบูรณ์ กล่ำพูนสวัสดิ์ นักแข่งทีมช่างเปิ้ล แสงจันทร์

ใหญ่และครอบครัวอาศัยอยู่ใน อ.บางน้ำเปรี้ยยว จ.ฉะเชิงเทรา ที่บ้านของเขาทำธุรกิจฟาร์มกุ้งขนาดเล็ก ส่วนตัวเขามีอาชีพรับจ้างเกี่ยวข้าวอยู่ที่ไร่ละ 50 บาท บ่อยครั้งที่เขารับงานเกี่ยวข้าวนาปีทางภาคอีสาน ได้เงินกลับมาราว 20,000 - 30,000 บาท/ ครั้ง

“ถ้าผมขึ้นไปอีสานนี่นับวันกลับบ้านได้เลย จะมีงานพอไหมไม่รู้ เราเกี่ยวจนรถพังอย่างเดียว เพราะนาปีมันคือการกอบโกยเงินทองกลับบ้าน จะไปถึงแล้วรถพังไม่ได้ ขึ้นมาทีนึง (ภาคอีสาน) มีค่าใช้จ่ายหลายหมื่นบาท” ใหญ่เล่าว่าโดยปกติ เขาจะรับเกี่ยวข้าวตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - พฤศจิกายน และกลับมาขับรถไถนาซิ่งตั้งแต่เดือน ธันวาคม - เมษายนหรือจนกว่าจะถึงฤดูฝน

ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News

เมื่อสิ้นสุดฤดูเกี่ยวข้าว เขาจะรอคอยให้ ‘ลูกพี่’ หรือ สุชาติ แสงจันทร์ หัวหน้าทีมช่างเปิ้ล แสงจันทร์ ทีมที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศเรียกตัวมาแข่ง บางครั้งเขาต้องขึ้นไปพิษณุโลก บางครั้งต้องมานครปฐม ขึ้นอยู่กับว่ามีการแข่งขันที่ใดและลูกพี่ต้องการตัวเขาเมื่อไหร่ 

ใหญ่กลายเป็นนักแข่งรถไถนาครั้งแรกราว 4 ปีที่แล้ว จากความบังเอิญมีโอกาสผลัดมือขับกับรุ่นพี่ที่รู้จัก แล้วหลังจากนั้นก็ฝึกฝนตัวเองเรื่อยมาจนกลายเป็นนักแข่งอาชีพเหมือนทุกวันนี้ ฝีมือของใหญ่ถือว่าขึ้นชื่อในวงการ เขาเป็นที่รู้จักในฉายา ‘แฝดอภินิหาร’ ร่วมกับน้องชายฝาแฝดอีกคนชื่อ ก๊อง – สมบัติ กล่ำพูนสวัสดิ์ 

สำหรับผลงานในสนามนี้ ใหญ่ได้ที่ 1, 2, 3 และที่ 4 ซึ่งเขายอมรับว่าเป็นสนามที่ “ผิดพลาดไปเยอะ” แต่ยัง “ภูมิใจเพราะเรามีเวลาซ้อมน้อย” 

“เราต้องมั่นใจในตัวเรา ถึงจะแพ้ เราก็ต้องเรียนรู้ สนามหน้าเราต้องตั้งเป้าเลยว่าที่ 1 ต้องเป็นของเรา มั่นใจในตัวเองและหาวิธีไต่เต้าขึ้นไป จะไปทางไหน วิ่งทางไหน ต้องเชื่อตัวเองจะไปฟังใครไม่ได้ เพราะเราเป็นคนขับ” ใหญ่สะท้อนแนวคิดในฐานะนักแข่งรถไถนาซิ่ง

สำหรับอาชีพนักแข่งรถไถนาไม่มีเงินเดือนประจำ แต่ทุกครั้งที่มาแข่ง เขาจะได้รับค่าน้ำมัน (ค่าเดินทาง), ค่ากินค่าอยู่ รวมถึงส่วนแบ่งเงินรางวัลขึ้นอยู่กับว่าผลงานของทีมและตัวเขาเป็นอย่างไร 

“อย่างน้อย 5,000 - 6,000 บาท/ สนาม แต่สนามไหนได้น้อยก็เอาแค่ค่าน้ำมันบ้าง อย่างวันนี้ก็แล้วแต่เขาจะให้ ผมไม่ได้เรียกร้องอะไร” ใหญ่เล่าว่าเขาแข่งประมาณ 5-6 ครั้ง/ ปี แต่ขึ้นอยู่กับฟ้าฝน เพราะการแข่งขันรถไถนาจะแข่งไม่ได้หากมีฝนตก เพราะเครื่องอาจจะพังได้ 

ปีนี้ใหญ่อายุ 25 ปี และเขาคิดว่าตัวเองคงจะเป็นนักขับอาชีพจนถึงอายุราว 30 ปี หลังจากนั้นจะส่งไม้ต่อให้คนรุ่นหลังขับต่อ ส่วนตัวเขาจะกลับไปรับจ้างเกี่ยวข้าวเต็มตัว อาจกลับมาจับแฮนด์และคันเร่งบ้าง หากลูกพี่เรียกตัว

“ไม่น่าจะขับเกินอายุ 30 ปี ถ้าไม่ไหวก็ต้องพอ มันต้องมีจุดของมัน” ใหญ่เล่าต่อ “น่าจะกลับไปทำงานแถวบ้าน แต่คงยังอยู่ในวงการนี้แหละ ถ้ามีแข่งก็จะมาทดลองรถให้ แล้วสอนเด็กรุ่นใหม่ๆ”

นักแข่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาชีพใหม่ที่เกิดพร้อมความเติบโตของกีฬาชนิดนี้ ยังมีอาชีพอื่นๆ ไม่ว่า ช่างทำท่อ, ช่างทำเครื่องยนต์, ช่างทำโครงรถ ตลอดจนสื่อที่ปวรณาตนให้แก่กีฬาชาวบ้าน เช่น ดีเจไก่ ไลฟ์สด 

แต่นอกจากผู้เข้าร่วมแข่งขันแล้ว อีกส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในกีฬาทุกประเภทเลยคือ เหล่าผู้ชม

ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News

(3) มหกรรมเลนซิ่ง ความสุขชาวนาไทย 

หากกะด้วยสายตา ตลอดทั้งวันมีผู้เข้ามาร่วมงานแข่งรถไถนาซิ่งครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ราย บางคนเป็นแฟนพันธุ์แท้ มาดูตั้งแต่เช้าจรดพระอาทิตย์ตกดิน บางคนมาแวะซื้อของกินจากซุ้มบริเวณนั้น แทนกับแกล้มชมการแข่งขัน และบางคนเป็นขาจรเช่นเราและทีมงาน

“มันสนุกดีครับ ผมชอบ เพราะผมทำนาและรับจ้างทำเครื่องด้วย“ หนึ่งในแก๊งวัยรุ่นให้สัมภาษณ์กับเรา เขาเล่าว่ามารอการแข่งนี้ตั้งแต่ตี 5.30 น. มาถึงก็เอาแสลนมากางบังแดด พอก๊วนเริ่มมาก็ถึงเวลาเฮฮา ใครใคร่เสเพลอะไรก็แล้วแต่ใจ ถึงคู่ไหนน่าลุ้นก็มีแลกเปลี่ยนติดปลายนวมกันบ้าง คู่ละ 5 บาท 20 บาท ไม่มากเกินไปจนเสียมิตรภาพ

“มันเป็นความสุขของเกษตรกร ความมันยามว่าง ธรรมดาชาวนาเขาใช้รถพวกนี้ทำนาอยู่แล้ว พอใช้ทุกวันก็ทำเครื่อง ใครแรงก็เอาไปแข่ง” ลุงอีกคนที่เดินทางมาจากย่านบางบัวทองเล่าให้เราฟัง 

นอกจากเป็นความสุขให้กับผู้เข้าชม การจัดมหกรรมกีฬาเช่นนี้ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับคนในพื้นที่ ตามรายทางมีพ่อค้าแม่ค้าตั้งซุ้มขายอาหาร อาทิ ไก่ย่าง, ข้าวไข่เจียว, น้ำดื่ม ตลอดจนน้ำกระท่อมและเบียร์ 

“ดีใจครับ การแข่งขันก็ทำให้คนที่มาดูสนุกและมีความสุข ร้านค้าเราก็ไม่เก็บค่าที่ ให้เศรษฐกิจมันขับเคลื่อน คนแถวบ้านก็มีงานทำ” สรณ์ศักย์ วงษ์วาลย์ ผู้ก่อตั้งทีมซุ้มโรงไม้และผู้จัดการแข่งขันรายการ ‘LH เหลียงฮวกไรซ์’ ครั้งที่ 3 บนผืนนาของพวกเขากล่าว 

“ครั้งแรกมันเริ่มด้วยความห้าวของวัยรุ่น พี่ชายกับผมคุยกันแล้วตัดสินใจจัดเลย เราอยากรู้มันเป็นยังไง แล้วเราก็พัฒนาขึ้นทุกปี ปีนี้ใหญ่กว่าปีที่แล้วเยอะมาก และปีหน้าน่าจะใหญ่ขึ้นอีก” คล้ายคำมั่นสัญญาจากสรณ์ศักย์ว่าจะมีการแข่งขั้นครั้งที่ 4 ขึ้นบนผืนนาของเขา 

ทีมงานผู้จัดแข่งขันให้สัมภาษณ์กับเราว่า พวกเขาจะยังคงยึดตามประเพณีเดิมของกีฬาประเภทนี้ โดยกำไรทั้งหมดจะมอบให้แก่วัดและโรงเรียน ส่วนความมันและความสนุกที่เหลือเป็นกำไรของคนดูและตัวเขาเอง 

“งานนี้ได้กำไรก็ยกให้วัดให้โรงเรียน หักค่าใช้จ่ายเหลือเท่าไหร่ก็ให้วัด เราจัดเอามัน ได้เจอผู้คน กลุ่มนั้นกลุ่มนี้ ได้มาเล่นกัน” สรณ์ศักย์กล่าว
ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News

(4) อนาคตเลนซิ่ง – สุกสกาวและยังคงเติบโต 

ถึงแม้กีฬารถไถนาซิ่งอาจไม่ได้รับความนิยมเหมือนกีฬาความเร็วประเภทอื่น เช่น F1 แต่ในมุมของผู้ที่อยู่ในวงการ พวกเขายังมองเห็นอนาคตสดใสของกีฬาประเภทนี้ 

“ตราบใดที่ประเทศไทยมีชาวนา มันก็ไม่มีวันจบ เพราะที่ผมเห็นมามันส่งต่อจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูกแล้ว รุ่นลูกเคยช่วยพ่อขันน็อต ตอนนี้เขากลายเป็นคนขับแล้ว” มงคลกล่าว

“ทุกวันนี้มันไม่หยุดนิ่งเลย มีร้านใหม่ๆ ช่างใหม่ๆ อุปกรณ์ตกแต่ง ขึ้นมาหลากหลาย มันคนละเรื่องกับเมื่อก่อนเลย ความเร็วความแรงมันพัฒนาไปเรื่อยปีต่อปี” มงคลสะท้อนสิ่งที่เขาเห็น

“มันจะโตขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเกษตรกรทุกคนต้องทำเครื่องยนต์พวกนี้อยู่แล้ว และประเทศไทยทำอะไรเป็นเบอร์หนึ่ง นาข้าวครับ เพราะฉะนั้นยังไงก็ยังต้องมีแต่งเครื่องไปขับแข่งกันเองในซุ้ม“ สรณ์ศักย์ยังยืนว่าตัวเขาคงอยู่ในวงการนี้อีกไม่น้อยกว่า 10 ปี เพื่อผลักดันให้ทีมซุ้มโรงไม้ขึ้นเป็นทีมอันดับหนึ่งของประเทศให้สำเร็จ 

ประโยคหนึ่งที่คนในวงการรถไถนาซิ่งเห็นตรงกันคือ กีฬาประเภทนี้ทำให้ชาวต่างชาติทึ่ง ทั้งในความแปลกใหม่สร้างสรรค์ของคนไทย และความสามารถในการดัดแปลงเครื่องยนต์ที่ฉกาจฉกรรจ์ 

“คนไทยทำเครื่องยนต์เก่งครับ คนต่างชาติเขามาเห็นก็ว๊าวมากครับ เขางงว่าเอาเครื่องยนต์แบบนี้ของอุปกรณ์เกษตรกรมาแต่งได้ยังไง” สรณ์ศักย์กล่าว 

“ตอนนี้กีฬานี้มันมีแค่บ้านเรา บางทีฝรั่งเขามาดู เขาขอขอเอากล้องมาติดรถเลย” ใหญ่กล่าว 

สิ่งที่ใหญ่และสรณ์ศักย์พูดไม่ใช่เรื่องเกินจริงนัก เพราะยอดวิวจากวีดีโอสองชิ้นของช่อง CB Media สูงถึง 1.8 ล้านครั้ง และ 1.3 ล้านครั้ง ส่วนคอมเมนท์ไปในทิศทางเดียวกันคือ ทึ่งกับความสร้างสรรค์ ความสามารถในเชิงช่างของคนไทย และความรักในความเร็วของคนไทย 

ถึงแม้ในปัจจุบัน กีฬารถไถนาซิ่งยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ และมีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่แข่งขันกีฬาชนิดนี้กัน แต่ตราบใดที่ประเทศไทยยังมีผืนนา กีฬาชนิดนี้ก็จะยังคงดำรงอยู่และพัฒนาไปข้างหน้า จนกว่าประเทศจะไม่มีผืนนาเหลือให้แข่งกันอีก 

ดังนั้น อนาคตของกีฬาชนิดนี้ยังคงเปิดกว้าง และใครจะรู้ วันนึงประเทศที่ทำนาทั้งหลาย โดยเฉพาะในอาเซียน อาจหันมาแข่งกีฬาชนิดนี้ด้วยกัน และมันอาจไปไกลถึงวันที่กีฬารถไถนาซิ่งกลายเป็นมหกรรมกีฬาระดับโลกก็ได้  

ภาพ: ณปกรณ์ ชื่นตา/ Spring News

related