อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น นักวิทย์ชี้ กระทบกับสัตว์น้ำใต้ทะลถึง 90% แน่นอน มนุษย์กว่า 600 ล้านคนพึ่งพาอาหารทะเล ทำอย่างไรให้ทะเลยั่งยืน ท่ามกลางโลกที่ร้อนขึ้น?
ในปี 2022 ที่ผ่านมา วารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำหลายชิ้น รวมถึงองค์การสหประชาชาติหรือ UN ได้ออกมาเผยว่า ปี 2022 เป็นปีที่มหาสมุทรร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา สร้างผลกระทบโดยตรงต่อสัตว์น้ำใต้ทะเลถึง 90 % ส่งผลให้เราจำเป็นต้องเปลี่ยนนิยามจากภาวะโลกร้อนที่เราเคยใช้ สู่ยุคภาวะโลกเดือดอย่างเป็นทางการแล้ว
องค์การสหประชาชาติประเมินว่า ผู้คนกว่า 600 ล้านคนพึ่งพิงสัตว์น้ำจากการประมงในการดำรงชีพ และในอนาคต 600 ล้านคนเหล่านี้จะขาดแคลนอาหารในปี 2030
ปัญหาเหล่านี้ เราในฐานะประชากรของโลกจะช่วยแก้ปัญหานี้อย่างไรได้บ้าง แล้วกลุ่มอุตสาหกรรมด้านอาหารทะเลเค้ามองเรื่องนี้อย่างไร
ไทย-ยูเนี่ยน ในฐานะผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก จึงได้ลงมือทำอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยให้อาหารทะเลของคนทั่วโลกยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการนำกลยุทธ์ที่ชื่อ SeaChange® มาใช้
พันธกิจ SeaChange® เกิดขึ้นในปี 2016 และประสบความสำเร็จจนตอนนี้กำลังเดินทางไปสู่เป้าหมาย SeaChange® 2030 แล้ว เป้าหมายส่วนหนึ่ง คือ ส่งเสริมให้เกิดผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืน โดยมองกลับไปที่ต้นทาง คือ การประมงและการทำฟาร์มสัตว์น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อให้เรามีอาหารทะเลบริโภค โดยที่ไม่ทำร้ายโลกด้วย
รู้หรือไม่ว่า อาหารทะเลทั่วโลกมาจาก 2 แหล่งเท่านั้น คือ จับมาจากธรรมชาติ 100% และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในฟาร์ม Thai Union ในฐานะผู้รับซื้อสัตว์น้ำจากทั้ง 2 แหล่งนี้ จึงใช้กลยุทธ์ SeaChange® ในการสแกนว่าสัตว์น้ำที่พวกเขารับซื้อมาจะต้องไม่ทำร้ายโลก
เพื่อให้เรามั่นใจว่าสัตว์น้ำที่จับขึ้นมาจากธรรมชาติ หรือ Wild Caught Seafood 100% จะมีความยั่งยืน ตัวกลยุทธ์ SeaChange® จึงตั้งเป้าว่า อาหารทะเลที่จับมาจากแหล่งธรรมชาติโดยการประมงต้องสามารถตรวจสอบได้ 100% ภายในปี 2030 คือเป็นการดูแลทั้งในเรื่องของกรรมวิธีและเรื่องของคน โดยกรรมวิธีก็คือ เรือประมงที่ทำหน้าที่จัดการวัตถุดิบให้กับบริษัทจะต้องมี best practices เพื่อปกป้องสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ ส่วนในเรื่องของคนก็คือการดูแลสวัสดิภาพและสภาพการทำงานของลูกเรือแบบตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม หรือ IUU
อีกแหล่งหนึ่งของต้นทางอาหารทะเลคือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากฟาร์ม แน่นอนว่า SeaChange® 2030 ก็เล็งเห็นถึงความรับผิดชอบด้วยเช่นเดียวกัน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ หรือ Responsible Aquaculture ของ SeaChange® 2030 คือกุ้งทั้งหมด 100% จากฟาร์มที่ส่งวัตถุดิบให้กับ Thai Union จะต้องผลิตขึ้นโดยส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด คือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โลมาแอมะซอนตายนับร้อย ผลพวงภัยแล้งเอลนีโญ ทำทะเลสาบร้อน 39 องศาฯ
ผลพวงโลกร้อนขึ้น อิตาลีหันมาปลูกมะม่วง กล้วย อะโวคาโด แทนพืชเมืองหนาว
และเมื่อทุกคนเห็นความสำคัญและหันมาใช้สินค้าที่มองเห็นและลงมือทำเรื่องความยั่งยืน สิ่งที่ตามมาคือ การใช้ชีวิตทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งทั้งสองนี้ก็จะดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง นี่คือจุดที่ Thai Union คิดมาให้ผู้บริโภคและโลกของเราเรียบร้อยแล้ว
และถ้าเกิดเข้าไปดูในพันธกิจ SeaChange® 2030 ก็จะเห็นว่ายังมีอีกหลายกลยุทธ์ที่น่าสนใจอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดคาร์บอนของโลกจากทุกห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น
เราในฐานะผู้บริโภค สามารถช่วยท้องทะเลได้ด้วยการสนับสนุนสินค้าจากบริษัทและอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแบบนี้ เพื่อเป็นแรงกระเพื่อมและแรงใจให้กับคนที่พยายามดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบนี้นั่นเองค่ะ และที่สำคัญ ก่อนที่เราจะเลือกซื้อ เลือกกินอะไร เราอาจจะต้องคิดก่อนนิดนึงว่า อาหารทะเลที่อยู่ในจานของเรา มันยั่งยืนแล้วหรือยัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง