ถ้านโยบายรัฐดี เมืองก็ดี ปักกิ่ง ตัวอย่างเมืองที่เคยมีค่าฝุ่นสูงที่สุดในโลก สู่การเป็นเมืองที่มีอากาศสะอาดหมดจด ด้วยพลังของประชาชน อากาศสะอาดไม่ไกลเกินเอื้อม
ปักกิ่ง เมืองที่เคยเป็นที่หนึ่งด้านมลพิษฝุ่นควัน แต่กลับสามารถพลิกผันให้เป็นเมืองที่ไร้ฝุ่นได้ เรื่องนี้ไม่ใช่เพราะเลือดกลุ่มบี แต่เป็นเพราะนโยบายของรัฐและการกดดันจากภาคประชาชน
วิกฤตฝุ่นควันในไทยตอนนี้ หันไปทางไหนก็ขมุกมัวไปด้วยฝุ่น ส่งผลเสียต่อสุขภาพครั้งใหญ่จนกทม.ต้องออกโรงเตือนประชาชนว่าหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านและกิจกรรมกลางแจ้ง แต่อย่าลืมนะว่า อากาศสะอาดเป็นสิทธิของคนทุกคน อย่าลืมติดตามพรบ.อากาศสะอาดกันด้วยนะ
ดังนั้น สปริงนิว์ในคอลัมน์ Keep The World จึงอยากชวนดูโมเดลการทำสงครามฝุ่นของกรุงปักกิ่ง ที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการทำอากาศให้สะอาดได้ จากอดีตเคยเป็นเมืองที่มีอากาศแย่ที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เขาทำได้ยังไง?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รีวิว เครื่องวัดฝุ่น PM2.5 เช็กผ่านแอปฯได้ ราคาไม่เกิน 1,500 บาท ยี่ห้อไหนดี
รู้ไหมฝุ่น PM2.5 ส่งผลกับสุขภาพสัตว์เลี้ยง พร้อมวิธีดูแลท่ามกลางวิกฤตฝุ่น
ปี 2566 ฝุ่น PM 2.5 ยังคลุ้งทั่วกรุงฯ ผู้ว่าฯชัชชาติจะจัดการอย่างไร?
ปักกิ่งเมื่อก่อนสภาพอากาศแย่ ถึงขั้นเคยขึ้นหน้าหนึ่ง The New York Times ในปี 1998 ด้วย กรุงปักกิ่งเป็นเหมือนหลาย ๆ ประเทศ อดีตมีการใช้จักรยานจำนวนมาก จีนเคยถูกขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งจักรยานด้วย แต่พอความก้าวหน้าทางยานยนต์เข้ามา รถใช้น้ำมันเข้ามาทำให้สภาพอากาศภายในเมืองเริ่มแย่ขึ้นบวกกับการทำเหมืองถ่านหินเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของยานยนต์
ย้อนกลับไปในปี 2013 มลพิษทางอากาศของปักกิ่งรุนแรง จนถึงขั้นที่มี PM 2.5 อยู่ที่ 993 ไมโครกรัม/ลบ.ม. จนก่อให้เกิดการประท้วง สื่อต่าง ๆ ให้ความสนใจ ความกังวลและความโกรธของสาธารณชนหลั่งไหลออกมาจำนวนมากในช่วงเวลานั้น กลายเป็นการกดดันภาครัฐไปโดยปริยาย
นอกจากนี้ การกดดันนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯด้วย ที่เข้ามาติดตั้งเครื่องตรวจวัดมลพิษทางอากาศให้ และรายงานสภาพอากาศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ต่อสาธารณชน และมันก็ทำให้คนรู้ว่า อากาศแบบนี้ไม่ไหวแล้วนะ
ในความเป็นจริง ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ปักกิ่งพยายามลดมลพิษทางอากาศมาตั้งแต่ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 แล้ว เนื่องจากสภาพอากาศของปักกิ่งถูกทั่วโลกจับตามองอยู่
ดังนั้น พอรัฐถูกประชาชนกดดันแบบนี้ อีกทั้งกลัวขายหน้าชาวต่างชาติ รัฐจึงต้องออกนโยบายและประกาศสงครามกับฝุ่น โดยอย่างแรกเลย คือการสั่งระงับการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหิน โดยการเปลี่ยนจากพลังงานถ่านหินไปเป็นแก๊สแทน
รีวิว 5 เครื่องฟอกอากาศติดรถยนต์ กรองฝุ่น PM2.5 กรองไวรัส ตัวไหนน่าใช้บ้าง?
ค่าดัชนี AQI และ PM2.5 แตกต่างกันอย่างไร ? ค่ามาตรฐานฝุ่นไทยห่างจาก WHO 3 เท่า
พออุตสาหกรรมการเผาไหม้ต่าง ๆ ถูกสั่งระงับ รัฐก็ได้เยียวยาอุตสาหกรรมด้วยการให้เงินรางวัลที่ได้มาจากการลดการปล่อยก๊าซได้
อีกทั้ง ในภาคประชาชนรัฐก็ให้เงินอุดหนุนเพื่อให้บ้านของทุกคนเปลี่ยนหม้อต้มถ่านหินที่มักใช้ทำความร้อนในบ้านช่วงฤดูหนาว ไปเป็นหม้อแบบใช้แก๊สแทน นั่นเลยทำให้ในปี 2017-2018 ความร้อนจากถ่านหินลดลงไปอย่างก้าวกระโดด
อีกนโยบายที่น่าสนใจ นั่นคือการพยายามผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในวงกว้าง ยานยนต์ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปักกิ่งมีมลพิษ จีนเป็นผู้นำด้านการขนส่งและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ผู้คนในจีนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายอากาศสะอาดนี่เอง เพราะว่า นโยบายในปี 2013 นี่เอง ใครที่ซื้อรถใช้น้ำมันจะต้องมีป้ายทะเบียนเฉพาะ ว่ารถคันนี้ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มีการเข้มงวดเรื่องการวัดการปล่อยมลพิษ แต่สำหรับใครที่ต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ก็จะสามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้น ราคาดีกว่า มีสถานีรองรับพร้อมทั่วเมือง ดังนั้น กรุงปักกิ่งจึงมียานยนต์ไฟฟ้าเยอะมากเกือบทั่วเมืองเลยค่ะ เพราะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐนั่นเอง
นโยบายเหล่านี้ ส่งผลให้กรุงปักกิ่งมีอากาศสะอาดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ช่วงฤดูหนาวปลายปี 2017-2021 ความเข้มข้นของ PM2.5 ลดลงไปถึง 63% เหลือเพียง 33 ไมโครกรัมเท่านั้น และในปี 2021 ปักกิ่งก็ประกาศว่าคุณภาพอากาศของเขาสะอาดหมดจดแล้ว โดยใช้เวลาเกือบ 10 ปีในการแก้ปัญหา
สุดท้านนี้ พลังของประชาชนมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองขนาดไหน ขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะรับฟังและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ใช้กลยุทธ์แบบไหนเพื่อแก้ปัญหาภายในประเทศ