svasdssvasds

ค่าดัชนี AQI และ PM2.5 แตกต่างกันอย่างไร ? ค่ามาตรฐานฝุ่นไทยห่างจาก WHO 3 เท่า

ค่าดัชนี AQI และ PM2.5 แตกต่างกันอย่างไร ? ค่ามาตรฐานฝุ่นไทยห่างจาก WHO 3 เท่า

ค่าดัชนี AQI และ PM2.5 มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงเสมอในช่วงเวลาอากาศเป็นพิษแบบนี้ ดังนั้นมาดูกันว่า ค่าดัชนี AQI และ PM2.5 มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

ช่วงเวลานี้ กรุงเทพ รวมถึงคนทั้งประเทศ กำลังโฟกัสเรื่องฝุ่น เรื่องมลพิษทางอากาศอีกครั้ง ทุกๆนาทีที่เราหายใจเข้าไปนั้น แทบจะรับรู้สัมผัสได้เลยว่า มี "สิ่งแปลกปลอม" อย่างเช่น ฝุ่น แทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย และในประเด็นเรื่องฝุ่นนั้น คำที่กล่าวถึง ค่า ค่าดัชนี AQI และ PM2.5  มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงเสมอ ดังนั้นมาดูกันว่า ค่าดัชนี AQI และ PM2.5 มีความแตกต่างกันอย่างไร

และทราบกันหรือไม่ว่า ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ของไทย ยังห่างจากค่าปลอดภัย 3 เท่า จากที่ WHO กำหนดเอาไว้

PM 2.5 คืออะไร ? 

ก่อนอื่นเลย ต้องมาทำความเข้าใจ กันอีกสักครั้ง สำหรับ ฝุ่น PM 2.5  สำหรับ ฝุ่น PM 2.5 หรือชื่อเต็มคือ Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม

ฝุ่นที่เล็กขนาดนี้ แบบฝุ่น PM 2.5 แบบนี้ จะทำให้สามารถผ่านการกรองของขนจมูกและเข้าสู่ชั้นในสุดของปอด ได้ เป็นผลทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมาก หรือเป็นเวลานาน จะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แม้ ฝุ่น PM 2.5 จะไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกายแบบเฉียบพลัน แต่ มันคือ มัจจุราชแบบผ่อนส่ง เพราะถ้าหากสะสมเป็นเวลานานๆ  ก็จะมีอาการที่ส่งผลถึงสุขภาพตามมา เนื่องจาก PM 2.5 เป็นตัวกลางพาสารอื่นๆ เข้าสู่ปอด ด้วยการให้สารเหล่านั้นมาเคลือบบนผิวของมัน เช่น สารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก 

สำหรับ PM 2.5 มีหน่วยเป็น ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยคิดค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง และรายปี  แต่ทราบกันหรือไม่ว่า ค่ามาตรฐาน PM2.5 ที่ไทยใช้นั้น หย่อนยานกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศล่าสุด ยิ่งไปกว่านั้นปีนี้องค์การอนามัยโลกปรับค่าแนะนำลงอีกเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ทำให้ค่ามาตรฐานของไทยยิ่งห่างไกลจากค่าแนะนำของ WHO ถึง 3-5 เท่าไปใหญ่  

โดย ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีของประเทศไทยอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนองค์การอนามัยโลก WHO แนะนำเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

ค่าดัชนี AQI และ PM2.5 แตกต่างกันอย่างไร ? ค่ามาตรฐานฝุ่น ไทยห่างจาก WHO 3 เท่า
 

• ค่า AQI คืออะไร

ส่วนประเด็นเรื่อง ค่า AQI (Air Quality Index) คือ ข้อมูลการวัดคุณภาพอากาศในภาพรวมที่ประกอบด้วยมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ 

1.ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) 
2. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) 
3. โอโซน (O3) 
4. คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 
5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) 
6. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) 

ค่าดัชนี AQI และ PM2.5 แตกต่างกันอย่างไร ? ค่ามาตรฐานฝุ่น ไทยห่างจาก WHO 3 เท่า

• ข้อแตกต่างของค่า PM 2.5 และ AQI 

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายคนที่ได้ติดตามการเดินทางของตัวเลขค่าฝุ่นต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันตรวจสอบฝุ่นละอองต่างๆ  ซึ่งอาจเกิดความสับสนว่าตัวเลขระดับใดจึงส่งผลต่อสุขภาพ   

ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจว่าในแอปลิเคชันเหล่านี้ นิยมแสดงข้อมูล 2 ลักษณะ คือ ค่าฝุ่นละออง PM2.5 และค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ซึ่งมันคือคนละหัวข้อ และคนละประเด็นกัน 

โดย กรมควบคุมมลพิษเป็นแหล่งข้อมูลและกำหนดมาตรฐาน AQI ของประเทศไทย ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป โดยใช้สีในการแบ่งระดับของผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งหาก AQI เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าสูงกว่า 100 จัดเป็นระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ขณะที่ค่า PM2.5 นั้นจะคิดจากค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลานี้  ตามมาตรฐานไทย หากเกินกว่า 50 มคก./ลบ.ม. ถือว่าเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ  

โดยสรุปแล้ว ข้อแตกต่างของค่า PM 2.5 และ AQI  ก็คือ ค่า PM2.5 คือค่าฝุ่น ในรอบ 24 ชั่วโมง ขณะที่ ค่า AQI นั้น เป็นดัชนี วัดมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด มารวมกัน เป็นสีๆ และอ่านค่าเป็นตัวเลข

ค่าดัชนี AQI และ PM2.5 แตกต่างกันอย่างไร ? ค่ามาตรฐานฝุ่น ไทยห่างจาก WHO 3 เท่า  

• ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ของไทยห่างจากค่าปลอดภัย 3 เท่า

ในประกาศกำหนดค่ามาตรฐาน PM 2.5 ของไทยที่ออกมาใหม่นั้น ได้มีการปรับค่ามาตรฐานใหม่เป็น เวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม แต่ค่าเหล่านี้นั้นจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป ส่วนเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. มีผลใช้แล้ว

แม้ไทยจะมีการปรับเกณฑ์ค่าเท่ามาตรฐานความปลอดภัยฝุ่น PM 2.5 แล้ว แต่เมื่อเทียบกับค่าของ WHO ที่กำหนดเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 5 มคก./ลบ.ม. ไทยยังคงห่างไกลต่อค่าที่ปลอดภัยอยู่ถึง 3 เท่า ที่แม้แต่เกณฑ์เก่าของ WHO ที่ตั้งไว้เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ไทยยังคงปรับไม่ถึงเกณฑ์นั้นด้วยซ้ำ

related