svasdssvasds

ภาวะฝาชีครอบคืออะไร ? อากาศปิด ทำฝุ่น PM2.5 พุ่งสูง ผลาญชีวิต ผลาญสุขภาพ

ภาวะฝาชีครอบคืออะไร ? อากาศปิด ทำฝุ่น PM2.5 พุ่งสูง ผลาญชีวิต ผลาญสุขภาพ

อีกหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้ ฝุ่น PM2.5 ฟุ้งและมีจำนวนมากในตอนนี้ เพราะอยู่ในช่วง ภาวะฝาชีครอบ หรือ ปรากฎการณ์ฝาชีครอบ มาทำความรู้จักกับปรากฏการณ์นี้กัน ว่ามันทำให้ PM 2.5 เต็มบ้านเต็มเมืองแบบนี้ได้อย่างไร

คำถามสำคัญคือ ภาวะฝาชีครอบ คืออะไร?  

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ภาวะที่ลมสงบ บวกกับมีมลพิษที่ถูกปล่อยจากโรงงาน รถ  ทำให้อากาศมีลักษณะคล้ายกับฝาชีครอบอยู่  โดย ภาวะ“ฝาชีครอบ” เปรียบเสมือน แรงลมดันจากด้านบน และด้านล่างพร้อมกัน ซึ่งปกติแล้วเวลาเกิดฝุ่น ฝุ่นจะลอยขึ้นไปด้านบน แต่ตอนนี้มันมีแรงดันจากด้านบนด้วย ทำให้ฝุ่นลอยไปไหนไม่ได้ เหมือนมีอะไรมาครอบไว้ เหมือนฝาชีครอบไว้ ทำให้ฝุ่นอบอวนวนเวียนอยู่กับที่ นั่นเอง และ คนที่อยู่ในฝาชีอย่างคนกรุงเทพต้องทุกข์ทรมานอยู่ ณ เวลานี้ 

ภาวะฝาชีครอบคืออะไร ? อากาศปิด ทำฝุ่น PM2.5 พุ่งสูง ผลาญชีวิต ผลาญสุขภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาวะฝาชีครอบ หรือ ปรากฏการณ์ฝาชีครอบ เกิดจาก ความผกผันของอุณหภูมิ หรือที่เรียกว่า temperature inversion ซึ่งในสภาพปกติเมื่อเกิดการเผาไหม้ หรือสันดาปในบริเวณพื้นผิวโลก ทั้งควันและฝุ่นจะถูกยกตัวสูงขึ้นไปหาชั้นบรรยากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า และเมื่อลอยขึ้นไปถึงระดับหนึ่งก็จะถูกลมด้านบนพัดออกไป ทำให้อากาศไม่สามารถเคลื่อนที่ในแนวดิ่งขึ้นด้านบนได้ ชั้นของอากาศร้อนที่คั้นจึงเสมือนฝาชี ไม่ให้มลพิษเคลื่อนที่ขึ้นไปด้านบนได้”

ภาวะฝาชีครอบคืออะไร ? อากาศปิด ทำฝุ่น PM2.5 พุ่งสูง ผลาญชีวิต ผลาญสุขภาพ

ภาวะฝาชีครอบคืออะไร ? อากาศปิด ทำฝุ่น PM2.5 พุ่งสูง ผลาญชีวิต ผลาญสุขภาพ

ปรากฏการณ์ฝาชีครอบ ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นเหตุทำให้มีฝุ่นพิษ ฝุ่นละออง มากขณะนี้ ซึ่งแม้ปริมาณการใช้รถในกรุงเทพฯ จะลดลง แต่ปริมาณฝุ่น PM 2.5 กลับไม่ลด เพราะได้รับอิทธิพลจากการเผาไหม้ในพื้นที่โล่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ทางการเกษตร

สาเหตุ ปรากฏการณ์ “ฝาชีครอบ” เกิดจากอะไร...

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change สรุปปัญหา PM 2.5 ออกมาเป็น 3 ข้อ ดังนี้ 1.ควันจากรถยนต์ในกทม.  2. โรงงานอุตสาหกรรมมีการปล่อยควัน-เผาไหม้ตลอด และ 3.การเผาในที่โล่งแจ้ง ในภาคเกษตร 

โดย ต้นทุนชีวิตคนไทยทุกคนทั้งประเทศที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไปกับฝุ่น PM 2.5 คือ 1.37 ล้านล้านบาท/ปี  หากเทียบเป็น GDP ก็ประมาณ 8.5% หมายความว่า สินค้าที่ประเทศไทยผลิตในราคา 100 บาท เราต้องสังเวยให้ค่าฝุ่น 8.50 บาท

related