svasdssvasds

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม หรือ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ต่างกันตรงไหน?

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม หรือ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ต่างกันตรงไหน?

หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสิน กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1448 ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องสมรสของคู่รัก LGBTQ แล้วพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม หรือ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ต่างกันตรงไหน? ฟัง ส.ส.ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ พรรคก้าวไกล 
และนาย เกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ์

สิทธิในการมีครอบครัว ดูแลใครสักคน
เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่พึงมี

การแต่งงาน จดทะเบียนสมรสร่วมกันกับใครสักคน เพื่อจะมีคนคนนึงที่ดูแลกันไปได้ชั่วชีวิต มีสิทธิในตัวอีกฝ่าย เสมือนเป็นคนเดียวกัน
เป็นสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคในชีวิตและครอบครัว ที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้รับ เมื่อโลกเปลี่ยนไป ความหลากหลายทางเพศ ไม่ใช่เรื่องที่แปลก หลายประเทศทั่วโลกยอมรับถึงการมีอยู่ และการขับเคลื่อนโลกด้วยคนทุกเพศ ยิ่งในเด็กยุคใหม่ เสื้อผ้า คำเรียก ความสามารถ แสดงให้ประจักษ์แล้วว่า มนุษย์ไม่มีคำนิยามเรื่องเพศ นอกเสียจากอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ กฏหมาย ไปไม่ถึงจุดนั้น จึงต้องมี พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ พ.ร.บ.คู่สมรส ขึ้นมา

       เรื่องนี้มีการผลักดันมานาน พ.ร.บ. คู่ชีวิต มีการร่างมาเป็น 10 ปีแล้ว แต่กลายเป็นประเด็นร้อน #สมรสเท่าเทียม บนทวิตเตอร์เมื่อวันก่อน  หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยคำร้องของ คู่รัก LGBTQ ที่ร้องว่า ม. 1448 ของประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ระบุว่า การสมรส ต้องกระทำโดย ชาย - หญิง เท่านั้น ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก คุ้มครองเกี่ยวกับ ศักดิ์ศรี สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคล และความเป็นกฎหมายสูงสุด ไม่ได้คุ้มครองของบุคคลไว้เฉพาะ ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย แต่ให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ควรตรากฏหมายเพื่อรับรองสิทธิ และ หน้าที่ของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศต่อไป คำถามสำคัญคือ แล้วกฏหมายที่รับรองสิทธิของ LGBTQ ถึงจุดไหนแล้ว?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

กระแสหลังคำวินิจฉัย แบ่งเสียงเป็น 2 มุม
       มุมหนึ่งมองว่า แสดงว่ารัฐไม่ต้องการแตะกฏหมายที่มีอยู่แล้ว น่าจะไปผลักดันพรบ.คู่ชีวิต ที่เสนอโดย กรมคุ้มครองสิทธิ์ กระทรวงยุติธรรม แทน พรบ.คู่สมรส ของ พรรคก้าวไกล

       แต่อีกมุมก็มองว่า ศาลอาจมองว่ากฏหมายเดิมไม่มีปัญหาอะไร โอเคอยู่แล้ว  ไม่ได้มีผลอะไรกับการผลักดัน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ของพรรคก้าวไกล
 

พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
ต่างกันอย่างไร?

พ.ร.บ.คู่ชีวิต

ผลักดันโดยกรมคุ้มครองสิทธิ์ กระทรวงยุติธรรม บัญญัติกฏหมายใหม่ขึ้นมา มีคำเรียกคู่รัก LGBTQ ว่า คู่ชีวิต คือ คนเพศเดียวกัน สามารถจดทะเบียนร่วมกันได้ 
แต่ คู่ชีวิต ไม่เท่ากับ คู่สมรส  สิทธิบางสิทธิยังได้ไม่ครบ

เช่น
- คู่สมรส รับสวัสดิการรัฐหรือเอกชนของอีกฝ่ายได้
- คู่สมรส ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ เมื่อจดทะเบียน แต่ คู่ชีวิตทำไม่ได้

เพราะอะไร เรื่องนี้ นาย เกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ์ ให้ความเห็นว่า
 แท้จริงสิทธิเท่ากันทุกอย่าง แต่เหลือแค่สิทธิ์ในส่วนที่เกี่ยวกับ สวัสดิการรัฐ เท่านั้น เช่น สวัสดิการรักษาพยาบาลของ LGBTQ ที่เป็นข้าราชการ  เนื่องจากไม่มีข้อมูลว่าในไทยมี LGBTQ ที่เป็นข้าราชการมากแค่ไหน ต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ ตอบกระทรวงการคลังไม่ได้ ซึ่งคลังขอเวลา 3 ปีหลังกฏหมายตัวนี้ออกจะเร่งจัดการส่วนนี้ให้มีความเท่าเทียมกันทุกประการ

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม

ร่างโดยพรรคก้าวไกล เป็นการแก้ไขกฏหมายเดิมที่มีอยู่แล้วให้คลอบคลุมคนทุกเพศ อย่างแท้จริง ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1448 เช่น แก้คำศัพท์บัญญัติ เช่นว่า การสมรสจาก "ชาย" หรือ "หญิง"  เป็น "บุคคล" กับ บุคคล หรือคำว่า "สามีและภรรยา" เป็น "คู่สมรส"

ทั้ง 2 ถึงขั้นตอนไหน ?

พ.ร.บ. คู่ชีวิต
(ผ่านมา 10  ปี) เคยถูกเสนอในสภาไปแล้วแต่ถูกตีกลับไปให้ไปพิจารณาเพิ่ม อยู่ระหว่าง แก้ไขร่างและรอเสนอเข้าสภา

พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม
บรรจุอยู่ในวาระการพิจารณาของรัฐสภามาปีกว่า อยู่ในคิวพิจารณาของสภาแล้ว แต่บางเรื่องมันมีเรื่องด่วนกว่าเช่น โควิด หรือ น้ำท่วม น่าจะถูกพิจารณาในปีหน้า ผ่าน 3 วาระ  รับ หรือ ไม่รับ ถ้ารับ จึงทูลเกล้าฯ​และ ออกมาเป็นกฏหมาย มีผลบังคับใช้ได้

       สุดท้ายส่วนตัวนะคะ โอ๋มองว่า ควรรับฟังชาว LGBTQ ให้มากๆว่าพวกเขาคิดเห็นอย่างไร เพราะกฏหมายนี้จะมีผลกับชีวิต สิทธิ เสรีภาพของพวกเขาโดยตรง  

       ซึ่งสุดท้ายแล้วประเทศไทยจะมีกฏหมายตัวใดมารองรับ คงต้องรอดูมาสู้กัน ผ่านกระบวนการในรัฐสภาเสียงของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะชาว LGBTQ มีความสำคัญมากๆ  ออกมาสะท้อนกันเยอะๆ แต่ควรศึกษาหาความรู้โดยละเอียดก่อนว่าแท้จริงกฏหมายแต่ละตัวเป็นอย่างไร 

related