svasdssvasds

จริงหรือ? ประเทศไทยคือดินแดนสวรรค์ของ LGBT

จริงหรือ? ประเทศไทยคือดินแดนสวรรค์ของ LGBT

ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นดินแดนที่ยอมรับความแตกต่าง รวมถึงการสมรสเพศเดียวกันแต่ยังไม่มีพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่ดูแลและให้สิทธิ์เกี่ยวกับการใช้ชีวิตคู่ในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเดียวกัน

นั่นจึงเป็นเหตุทำให้เกิดการกำจัดสิทธิ์ต่างๆ และความไม่เท่าเทียมกันในการใช้ชีวิตคู่ของกลุ่มบุคคลดังกล่าวในประเทศไทย ทีมข่าวสปริงนิวส์ มีโอกาสได้พูดคุยกับ  คุณกิตตินันท์ ธรมธัช  นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย หนึ่งในวิทยากรที่ร่วมเสวนาทิศทาง คู่ชีวิต & สมรสเพศเดียวกัน ฟุบหรือไปต่อ (ทางไหนดี?)  จัดขึ้นโดย นักศึกษารุ่น 9 กลุ่ม 6 สถาบันพระปกเกล้า เผยว่า

"ประเทศไทยคือดินแดนสวรรค์ของกลุ่ม LGBT ในลักษณะของการดำรงชีวิต ผู้ชายกับผู้ชายจับมือ สถานบันเทิงที่รองรับกลุ่มหลากหลายทางเพศมีเยอะ ผู้หญิงกับผู้หญิงที่จะจับมือ มันเรื่องของวิถีชีวิตแต่มันย้อนแย้งกับสิทธิเสรีภาพตามกฎหมาย บางคนมาเจอคนไทยอยู่กินกันมา 10 กว่าปี ตกใจมากคุณยังไม่มีกฎหมายสมรสเพศเดียวกันอีกหรอ"

"แม้กระทั่งคนที่เป็นทรานส์เจนเดอร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานบันเทิงหรือแม้กระทั่งยอมรับในกลุ่มที่เป็นกะเทย หรือสาวประเภทสอง แต่คุณยังไม่สามารถที่จะข้ามเพศจากนายไปเป็นนางสาวได้  แสดงว่าสวรรค์ของประเทศไทยมองแต่เพียงที่เป็นวิถีการดำรงชีวิต แต่เมื่อเจาะเข้าไปย้อนแย้งคือเราไม่มีกฎหมาย มิฉะนั้นเราจะถูกจัดลำดับเว็บไซต์การท่องเที่ยวที่เป็นประเทศที่ 82 ใน 150 ประเทศ"

"เพราะเขาบอกว่าเราไม่มีกฎหมายใดๆ ที่คุ้มครองป้องกันบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศแม้แต่ฉบับเดียวในประเทศไทย เพราะฉะนั้นตรงนี้มันย้อนแย้งกันพอสมควร  บ้านเรามันเปลี่ยนจากคำว่ากำจัดเป็นแค่จำกัด จำกัดว่าพื้นที่ของ LGBT จะไปไหนมากกว่านี้ไม่ได้ คุณจะไปข้ามเพศไม่ได้ คุณจะไปเป็นครูไม่ได้ มันจำกัดไปหมดเพราะฉะนั้นตรงนี้เราจะต้องถูกแก้ไขด้วยกระบวนการกฎหมาย"

เพราะอะไรกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเดียวกันไม่ถูกปลดล็อก นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า "กฎหมายที่จะขับเคลื่อนมันมีอยู่  5 อย่าง เมื่อเราเข้าใจสุดท้ายเราก็เข้าถึง ว่าเขาต้องการสิทธิทางกฎหมายอะไร เมื่อเราเข้าถึงก็ต้องเกิดการยอมรับ พอยอมรับเสร็จเราต้องเคารพเขา พอเคารพเสร็จมันต้องขับเคลื่อนไปที่กฎหมาย ประเด็นตรงกฎหมาย"

"สมมติเราผ่านขั้นตอน 4 อย่างแล้ว แต่ตรงที่ผู้กำหนดนโยบายกฎหมายมันไม่ใช่อยู่ที่ตัวเรา มันอยู่ที่องคาพยพทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นกรรมาธิการ หรือระบบ สส. สว. ซึ่งวันนี้อยู่ในพรรครัฐบาลพลเรือนที่เราต้องมีการระดมความรู้ แต่ทุกวันนี้เรายังย้ำกันอยู่ข้อหนึ่งนิดๆ เข้าใจเยอะแล้วแต่ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ข้อสองยังถกเถียงกันอยู่เรื่องความเข้าถึงมันยังไม่เต็มที่"

ส่วนในเรื่องกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเดียวกันจะเกิดขึ้นจริงในประเทศไทยหรือไม่นั้น  คุณกิตตินันท์  เผยว่า "เกิดแน่ แต่ต้องมองเรื่องของผู้กำหนดนโยบายอย่าลืมว่าเราเป็นรัฐบาลพลเรือน เราต้องเข้าสู่คณะกรรมาธิการ ทุกคนมองแบบไหน และเราก็ต้องคิดว่าทุกคนเจนนั้น เจนนี้ มันมีเรเวลต่างกันในเรื่องของสมองทางความคิด เพราะฉะนั้นเราน่าจะต้องเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปพยายามหาจุดศูนย์กลางให้ทุกคนเจนนี้ เจนนั้นได้คิดกันแล้วสุดท้ายให้มันเป็นผลิตผลกฎหมายออกมา"

 

 

 

related