อุณหภูมิผิวโลกสูงกำลังเพิ่มขึ้นทุกปี จนทั่วโลกต้องเร่งรณรงค์เรื่อง Climate change หรือ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลก ให้คนหันมาตระหนักถึงภัยนี้ แต่กลับมีคนเป็นล้านคนที่พร้อมจะเชื่อ Fake news จาก Facebook ที่บอกว่าเรื่องนี้ปั้นแต่งขึ้น
อุณหภูมิผิวโลกสูงกำลังเพิ่มขึ้นทุกปี จนทั่วโลกต้องเร่งรณรงค์ ให้คนหันมาตระหนักถึงภัยนี้ และทำอย่างไรก็ได้ให้อุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 องศาในปี 2050
แต่กระนั้น ความน่าตกใจ คือ กลับมี Fake news ใน Facebook ถึง 76 % ที่ระบุว่า Climate change หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จากภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไม่จริง
โดยข้อมูลพบมีกว่า 40,000 Post และ กว่า 1 ล้านยอดวิวบน Facebook ที่พร้อมจะเชื่อว่า Climate change เป็นเรื่องที่ปั้นแต่งขึ้น
ภาวะโลกร้อน เกิดจากก๊าซเรือนกระจก เกิดทั้งจากธรรมชาติ และ คนสร้าง เช่น
- การหายใจของสิ่งมีชีวิต
- การเผาไหม้ต่างๆ เช่น ถ่านหินเพื่อทำไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง การเผาพลาสติก
- สารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ ขนส่ง
- กระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิด ภาวะโลกร้อน และรุนแรงมากขึ้น จนเกิดคำใหม่ไม่นานมานี้ว่า สภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว เช่น ภัยแล้งจัดในแอฟริกา ฝนตกหนักในยุโรป ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
Green peace กรีนพีช องค์กรสากลที่รณรงค์การปกป้องสิ่งแวดล้อม อ้างรายงานของ IPCC ที่ให้ข้อมูล ย้ำว่า อุณหภูมิผิวโลก ไม่ควรสูงเกิน 1.5 องศา หรือ 2 องศา เพราะ 5 เหตุผลนี้
1.มนุษย์จะไม่สามารถอาศัย ในประเทศแถบเขตร้อนได้
ซึ่งนั่นอาจรวมถึงไทยด้วย
2 หลายประเทศถถูกน้ำท่วม
ถ้าแตะ 2 องศา มีโอกาสที่ภูเขาน้ำแข็งจะละลายภายใน 10 ปี
ประชากรโลกกว่า 46 ล้าน เสี่ยงที่จะประสบภัยน้ำท่วม
3 เชื้อโรคร้ายคืนชีพ
เพราะเมื่อดินเยือกแข็งละลาย เชื้อโรคที่เคยถูกแช่แข็งอยู่จะออกมาระบาด
มีงานวิจัยชี้ว่า 2 องศา สามารถทำให้เกิดโรคระบาดกว่าครึ่งโลก
4 ปะการังจะถูกทำลาย
เมื่อโลกอุ่นขึ้น 2 องศา ความร้อนจะทำอันตรายต่อปะการัง
ระบบนิเวศสำคัญของสัตว์ทะเล ทำลายได้ถึง 9 ใน 10 ส่วน
5 สัตว์และพืชเริ่มสูญพันธุ์
พืช 25% ใน 80,000ชนิด
และสัตว์อีกหลายสายพันธุ์เริ่มสูญพันธุ์
ผลกระทบจาก ภาวะโลกร้อน ล่าสุดที่เกิดขึ้นแล้ว
- ชาวเมืองลาปาซ ของโบลิเวีย โดนแดดโดยตรงไม่ได้อีกต่อไป หลังกำลังเผชิญคลื่นความร้อนรุนแรงที่สุด
ค่ารังสี UV พุ่งเกินค่าความปลอดภัย กระทบ 1.6 ล้านคน
- ปัญหาความแห้งแล้ง และ น้ำท่วมที่ แอฟริกา
ภัยแล้งรุนแรงที่ เคนย่า ซ้ำเติมความอดอยาก แถบประเทศยากจน
- ฝนตกหนัก น้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น เมื่อ ก.ค. ในหลายประเทศแถบยุโรป เช่น เยอรมนี เบลเยียม มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน
แสดงให้เห็นว่า มันเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งเราสามารถช่วยลดโลกร้อนได้ง่ายๆ คือ ลดใช้พลาสติก
เพราะมันย่อยสลายยาก ใช้เวลาถึง 400 ปี และเมื่อเผาทำลาย ก็จะเกิดก๊าซเรือนกระจกมาก หากไปอยู่ในทะเล ทำสัตว์ทะเลตายอีก
อยากย้ำว่า ภาวะโลกร้อน เป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัว หนักหนาสาหัสมากขึ้น ไม่ควรนิ่งเฉย โควิดทำคนใช้พลาสติกมากขึ้น ตอนนี้มันดีขึ้นแล้ว มาเริ่มลดการใช้หลอด ใช้ถุง ใช้แก้วพลาสติก กันอีกครั้งเถอะค่ะ