แอฟริกาเป็นทวีปขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แม้ว่าผลการศึกษาจะบอกว่าแอฟริกาเป็นพื้นที่ที่ปล่อยมลพิษน้อยที่สุด
แม้ว่าแอฟริกาจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย แต่ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่บนทวีปเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อของภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่กำลังจะตามมาในไม่ช้า
แน่นอนว่าผู้คนแอฟริกาต้องประสบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงสุดขั้วและปริมาณน้ำฝนที่ขึ้นๆลงๆ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ หลายคนงงว่าจะแห้งแล้งหรือน้ำท่วม มันต่างกันนะ ต้องบอกก่อนว่าในทวีปแอฟริกาไม่ได้มีแต่พื้นที่ที่ดินแตกระแหงอย่างเดียว บนทวีปนี้ยังมีพื้นที่ที่เป็นป่าชุ่มน้ำอยู่ด้วยซึ่งหากฝนตกชุกผิดปกติก็อาจจะตามมาด้วยการที่ต้นไม้รองรับน้ำไม่ไหวได้ด้วยเช่นกัน แอฟริกามีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออาหาร ปริมาณทรัพยากร ความยากจน และอาจก่อให้เกิดการอพยพเร็วๆนี้ รวมไปถึงก่อให้เกิดความขัดแย้งได้
ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศทั้ง 5 คนบอกกับ BBC ว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นที่เหล่าผู้นำโลกต้องจดจำไว้ในขณะที่พวกเขากำลังหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว ในการประชุม COP26 ที่กำลังจัดขึ้นอยู่ตอนนี้
การพัฒนาของแอฟริกาที่ไม่สามารถต่อรองได้
Dr. Rose Mutiso จากเคนย่า ผู้อำนวยการวิจัยของ Energy for Growth Hub กล่าวว่า ชาวแอฟริกันโดยเฉลี่ยใช้ไฟฟ้าในแต่ละปีน้อยกว่าตู้เย็นหนึ่งเครื่องที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปซะอีก แต่มันกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ชาวแอฟริกันต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการทำให้บ้านของพวกเขาเย็นลงและทำชลประทานสำหรับฟาร์ม
แอฟริกาต้องได้รับอนุญาตให้พัฒนาและสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยเช่นกัน ซึ่งพวกเขาต้องการพลังงานมากกว่านี้ ดังนั้นเราจึงต้องมีอำนาจมากขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและเพื่อที่จะสามารถค้นหาทางเลือกอื่นๆเพื่อทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ทว่าประเทศในแอฟริกากำลังถูกจำกัดโดยประเทศที่ร่ำรวยที่ตั้งมั่นและสัญญาอย่างยิ่งใหญ่ว่าจะลดโน่นลดนี่ ทั้งที่ยังคงเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไป
เคนย่าสร้างส่วนแบ่งพลังงานหมุนเวียนมากกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรป แม้ว่าแอฟริกาจะยินดีต่อการเป็นหุ้นส่วน ประเทศต่างๆในทวีปนี้ไม่สามารถละทิ้งคววามทะเยอทะยานของพวกเขาได้ ยังจำเป็นต้องคิดให้มากเกี่ยวกับความต้องการในแง่ของอุตสาหกรรมและการสร้างงานให้ประชาชน
ซึ่งหมายความว่าประเทศที่ร่ำรวยกว่า จำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนและพวกเขาต้องปฏิบัติตามสัญญาทางการเงิน เพราะในอดีตมีการให้คำมั่นสัญญาแต่มีเงินล่วงหน้าส่งมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ผู้บริจาคไม่ควรกำหนด
Dr. Youba Sokona, Malian รองประธานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกล่าวว่า นักวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสถาบันต่างๆในแอฟริกา มักไม่ได้รับคำปรึกษาจากผู้กำหนดนโยบายหรือรัฐบาลในทวีปนี้ การวิจัยและแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ของพวกเขานั้นถูกเก็บไว้นานเกินไปและแทบไม่เคยได้มีโอกาสนำมันเข้าสู่การอภิปรายนโยบายเลย และแนวทางที่กระจัดกระจายนี้ยังส่งผลจ่อนโยบายของรัฐบาลด้วย กระทรวงต่างๆมักจะดำเนินตามแนวคิดของผู้บริจาคที่แตกต่างกันไป โดยไม่ได้ประสานงานทางการเมืองระดับสูงอย่างเป็นระบบ และมันกำลังนำไปสู่ปัญหาที่ละน้อยๆ ดังนั้นผู้บริจาคจึงไม่ควรกำหนดนโยบายแต่ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น พูดง่ายๆว่าจะทำตามใจตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้วย เพราะนี่อาจจะเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับแอฟริกาก็ได้ที่จะได้คิดอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับวิธีพพัฒนาและการจัดการ เพราะสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายไม่รอใคร ต้องลงมือทำได้แล้ว
การปล่อยมลพิษต้องเพิ่มขึ้นก่อน
งงล่ะสิ ทำไมต้องเพิ่มการปล่อยมลพิษ ศาสตราจารย์ Chukwumerije Okereke จากไนจีเรีย ผู้ทำงานธรรมาภิบาลสภาพภูมิอากาศและนักวิชาการด้านการพัฒนาระหว่างประเทศกล่าวว่า แม้ว่าจะมีผลกระทบในวงกว้างขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแอฟริกา แต่ประเทศที่สนับสนุนก็จะได้รับการปรับปรุงให้น้อยที่สุด กล่าวคือ พันธมิตรระหว่างประเทศมุ่งเน้นไปที่การป้องกันหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3 เท่าในการจัดการเรื่องนี้
ฉันทามติทั่วโลกดูเหมือนจะสมดุลโดยเน้นไปที่การกำจัดก๊าซเรือนกระจกผ่านพืชหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ สิ่งนี้ได้ละเลยการพัฒนาครั้งใหญ่และท้าทายด้านพลังงานที่แอฟริกาต้องเผชิญ และแน่นอนว่าการปล่อยมลพิษจากทวีปอาจต้องเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะเวลาอันใกล้นี้ก่อนที่จะตกดิ่งลงมา
ดูเหมือนว่าประเทศร่ำรวยหลายแห่งคาดหวังว่าแอฟริกาจะก้าวกระโดดไปสู่เทคโนโลยีสะอาดเพื่อการผลิตพลังงาน แต่ก็ไม่ค่อยกระตือรือร้นด้านการลงทุนตามขนาดที่จำเป็นเพื่อให้มันเกิดขึ้นจริง แม้ว่าแอฟริกาจะทำข้อตกลงในการลดการพึ่งพาถ่านหินได้อย่างมีขั้นมีตอนและเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้วก็ตาม
ประเทศในแอฟริกาที่อุดมไปด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลและจำเป็นต้องรู้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องสร้างสถาบันและนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสีเขียว ซึ่งมีตัวอย่างให้ดูแล้วในรวันดาและเอธิโอเปีย แต่ก็ยังต้องดำเนินการอีกมากมายในการกำกับดูแลที่ยังไม่ดีพอ
ต้องใช้เงินทุน ไม่ใช่เงินกู้
Dr. Christopher Trisos จากแอฟริกาใต้ ผู้ริเริ่มโครงการด้านสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแอฟริกาใต้กล่าว่า หลายประเทศพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนอย่างมาก นั่นคือ ไฟฟ้าพลังงานน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟ แต่ภัยแล้งเมื่อเร็วๆนี้ เช่น เอลนีโญในปี 2015-2016 ทำให้เกิดการขาดแคลนไฟฟ้าเป็นวงกว้าง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในอนาคตจะสามารถลดกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำได้อย่างมากในลุ่มน้ำสำคัญของแอฟริกา และจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมที่มีการจ้างงานคนจำนวนมาก
การจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสจะช่วยลดความเสียหายต่ออนาคตการดำรงชีวิต สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจและระบบนิเวศของแอฟริกาเป็นอย่างมาก เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่ลึกขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศที่มีการปล่อยมลพิษสูงนอกจากแอฟริกา
คุณภาพของการเงินก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันส่วนใหญ่มีการจัดหาเงินให้กู้ยืมมากกว่าการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งหมายความว่าประเทศต่างๆที่ทำประโยชน์ได้เพียงเล็กน้อยและก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะกลายเป็นหนี้บุญคุณต่อประเทศที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย
Dr. Kgaugelo Chiloane ผู้ก่อตั้ง KEC Environmental Solutions ชาวแอฟริกากล่าวว่า ชุมชนชาวแอฟริกาที่อ่อนแอและยากจนต้องการความช่วยเหลือในการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เสียงของพวกเขาต้องได้รับการรับฟังด้วย พวกเขามีความรู้และความเชี่ยวชาญแบบดั้งเดิมมากมายบนผืนดินที่ถูกละเลย นโยบายมักถูกนำไปใช้โดยชุมชนไม่ได้ไปมีส่วนร่วม ผู้ที่ก่อมลพิษควรชดใช้ด้วยเงินทุนที่จะเอามาแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น บริษัทที่ปล่อยคาร์บอนขนาดใหญ่ ควรรับผิดชอบและชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นในฐานะผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ เนื่องจากเราปล่อยให้พวกเขาสร้างผลกำไรมานานหลายทศวรรษ
ก่อนหน้านี้แอฟริกาประสบกับปัญหาภัยแล้งรุนแรง ทำให้รัฐบาลต้องขนส่งอาหารที่จำเป็นมาให้คนในแต่ละพื้นที่เพื่อประทังความหิวโหย เด็กและสตรีมีครรภ์มีภาวะขาดสารอาหาร หลายประเทศในแอฟริกาจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตรและพลังงานไฟฟ้า แต่ต้องขาดแคลนไป ทำให้ผู้คนหารายได้ไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อแรงงานหลายพันคนและผู้ประกอบการอีกหลายเจ้า ซึ่งสามารถอ่านบทความภัยแล้งในเคนย่าต่อได้ที่ ประเทศเคนย่าน่าห่วง โดนภัยแล้งโจมตี สัตว์ล้มตาย คนนับล้านขาดสารอาหาร
ที่มาข้อมูล BBC