โจ ไบเดน ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ออกโรงตำหนิ จีนและรัสเซีย ว่า ขาดภาวะผู้นำ ในเวที การประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26 เพราะจีนและรัสเซีย คือ 2 ชาติยักษ์ใหญ่ ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาล แต่กลับ ไม่ยอมมาประชุม
โจ ไบเดน ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ออกโรงตำหนิ จีนและรัสเซีย ว่า ขาดภาวะผู้นำ ในเวที การประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26
.
โดยทั้ง 2 ชาติ ล้มเหลวในการแสดงความเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน เพราะผู้นำทั้ง 2 ชาติ ทั้ง สี จิ้นผิง และ วลาดิเมียร์ ปูติน ไม่มา ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ ซึ่งเป็นสถานที่ จัด การประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันไปทั่วโลก
โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยังระบุด้วยว่า จีนเป็นประเทซที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของก๊าซเรือนกระจก Greenhouse มากที่สุดในโลก และกำลังพยายามที่จะเป็นผู้นำโลก แต่ ในทางกลับกัน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กลับไม่มาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็น “ความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรุปวันที่ 1 ของการประชุม COP26 ด้วยถ้อยแถลงของพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา
เช่นเดียวกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ก็ไม่มาร่วมประชุมเช่นกัน และว่า ป่าทุนดราของรัสเซียกำลังเกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรง และประเทศก็กำลังเผชิญกับปัญหาสภาพอากาศ แต่วลาดิเมียร์ ปูติน กลับนิ่งเฉย
พร้อมกันนี้ โจ ไบเดน ได้กล่าวถึง การประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26 ของเขาว่า เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงนโยบาย อเมริกากลับมาแล้ว (America is Back) ซึ่งแตกต่างจากแนวทางนโนบายของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ยึดมั่นในนโยบายว่า อเมริกาต้องมาก่อน (America First)
.
ขณะเดียวกัน สำนักข่าว BBC ระบุว่า ข้อมูลจาก ปี 2019 จีนเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก ตามด้วยอันดับ 2 คือสหรัฐฯ อันดับ 3 สหภาพยุโรป หรือ EU อันดับ 4 อินเดีย และอันดับ 5 รัสเซีย แต่ทั้งผู้นำจีน และ รัสเซีย กลับไม่มาร่วมประชุมสำคัญครั้งนี้
ผลสำเร็จในที่ประชุม COP26
.
ณ เวลานี้ ความคืบหน้าที่ได้จากการประชุม COP26 ผู้นำโลกมากกว่า 120 คน ให้คำมั่นว่าจะยุติการตัดไม้ทำลายป่าและหันไปฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดินภายในสิ้นทศวรรษนี้ โดยมีการทุ่มงบประมาณมากถึง 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 630,000 ล้านบาททั้งจากภาครัฐและเอกชน ในการลงทุนเพื่อปกป้องและฟื้นฟูป่าไม้
.
นอกจากนี้ เกือบ 90 ประเทศได้เข้าร่วมในข้อตกลง Global Methane Pledge ที่นำโดยสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนลง 30% ภายในปี 2030 จากระดับการปล่อยในปี 2020 ซึ่งข้อตกลงนี้ มีเป้าหมายจัดการ หนึ่งในตัวการหลักของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือก๊าซมีเทน