svasdssvasds

ทำความรู้จักเพลงเก่า "หนักแผ่นดิน" วิวาทะร้อน ผบ.ทบ.

ทำความรู้จักเพลงเก่า "หนักแผ่นดิน" วิวาทะร้อน ผบ.ทบ.

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

กลายเป็นวิวาทะอันร้อนแรงตั้งแต่เริ่มต้นสัปดาห์ เมื่อ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวที่ถามถึงความคิดเห็นต่อนโยบายพรรคเพื่อไทย โดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ ระบุว่า จะชูนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง เรื่องการเสนอตัดงบประมาณกระทรวงกลาโหม 10% หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี เพื่อนำมาใช้พัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ สร้างกองทุนคนเปลี่ยนงานเพื่อสร้างทักษะโลกใหม่ ไม่ให้คนตกงาน รวมถึงนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร โดย พล.อ.อภิรัชต์ ตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ให้ไปฟังเพลงหนักแผ่นดิน”

เลือกตั้ง 62 : “บิ๊กแดง” ไล่ “หญิงหน่อย” ฟังเพลง “หนักแผ่นดิน” หลังชูตัดงบกลาโหม [คลิป]

ทำความรู้จักเพลงเก่า \"หนักแผ่นดิน\" วิวาทะร้อน ผบ.ทบ.

สำหรับเพลงดังกล่าวเป็นเพลงเก่าแก่ที่แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ใช้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการสื่อสารทหารบก กองทัพบก ในช่วงการต่อสู้ทางการเมือง กับขบวนการคอมมิวนิวส์ ในช่วงพ.ศ.2518-2523 ซึ่งประพันธ์คำร้องโดย พ.อ.บุญส่ง หักฤทธิ์ศึก และขับร้องโดย ส.อ.อุบล คงสิน และ ศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ.2520 ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ “หนักแผ่นดิน” กำกับโดย สมบัติ เมทะนี นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี และ นัยนา ชีวานันท์

ทำความรู้จักเพลงเก่า \"หนักแผ่นดิน\" วิวาทะร้อน ผบ.ทบ.

เนื้อเพลง

คนใดใช้ชื่อไทยอยู่ กายก็ดูเหมือนไทยด้วยกัน

ได้อาศัยโพธิ์ทองแผ่นดินของราชันย์ แต่ใจมันยังเฝ้าคิดทำลาย

คนใดเห็นไทยเป็นทาส ดูถูกชาติเชื้อชนถิ่นไทย

แต่ยังฝังทำกิน กอบโกยสินไทยไป เหยียดคนไทยเป็นทาสของมัน

(สร้อย)

หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)

หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)

คนใดยุยงปลุกปั่น ไทยด้วยกันหวังให้แตกกระจาย

ปลุกระดมมวลชนให้สับสนวุ่นวาย เพื่อคนไทยแบ่งฝ่ายรบกันเอง

คนใดหลงชมชาติอื่น ชาติเดียวกันเขายืนข่มเหง

ได้สินทรัพย์เจือจานก็ประหารไทยกันเอง ทีชาติอื่นเกรงดังญาติของมัน

(สร้อย)

คนใดขายตนขายชาติ ได้โอกาสชี้ทางให้ศัตรู

เข้าทลายพลังไทยให้สลายทางสู้ เมื่อศัตรูโจมจู่เสียทีมัน

คนใดคิดร้ายราวี ประเพณีของไทยไม่ต้องการ

เกื้อหนุนอคติ เชื่อลัทธิอันธพาล แพร่นำมันมาบ้านเมืองเรา

(ซ้ำท่อนสร้อย 2 ครั้ง)

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

related