กระทรวงสาธารณสุข ทำลายยาเสพติดของกลาง ครั้งที่ 53 จำนวน 40.7 ต้น จาก 185 คดี มูลค่ารวมกว่า 34,688 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยาบ้ ไอซ์ เฮโรอีน ทำลายด้วยเตาเผาอุณหภูมิสูง
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีทำลายยาเสพติดของกลาง ครั้งที่ 53 ประจำปี 2565 โดยมี นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้บริหารจากทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักชีพยานในปีนี้ จำนวน 40.7 ต้น จาก 185 คดี มูลค่ารวมกว่า 34,688 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยาบ้ ไอซ์ เฮโรอีน ทำลายด้วยเตาเผาอุณหภูมิสูง มีระบบควบคุมมลพิษที่เหลือจากการเผา ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วันนี้ (5 กรกฎาคม 2565) ที่ ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ
ี
ยาเสพติดของกลางจากคลังเก็บรักษายาเสพติดมีจำนวน 40,706.715381 กิโลกรัม จาก 185 คดี มูลค่ากว่า 34,688 ล้านบาท ประกอบด้วย เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า)น้ำหนักกว่า 23,365 กิโลกรัม เมทแอมเฟตามีน (ยาไอซ์) น้ำหนักกว่า 14,482 กิโลกรัม เฮโรอีนน้ำหนักกว่า 738 กิโลกรัม MDMA/MDA/MDE (ยาอี/ยาเลิฟ) น้ำหนักประมาณ 4.66 กิโลกรัม ฝั่นน้ำหนักกว่า 29 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีวัตถุออกฤทธิ์อื่น ๆ อาทิ คีตามีน ไนเมตาซีแพม น้ำหนักรวมกว่า 2,086 กิโลกรัม ของกลางทั้งหมดจะถูกทำลายด้วยเตาเผาขยะอันตราย (Hazardous waste Incinerator) ซึ่งเป็นระบบเตาเผาอุณหภูมิสูง โดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NG) มีระบบควบคุมสารมลพิษที่เหลือจากการเผาทำลายและการตรวจสอบควบคุมสารมลพิษ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย เตาเผาชุดที่ 1 เป็นแบบหมุน (Roury Kin Rotary Kin ) ควบคุมอุณหภูมิมากกว่า 850 องศาเซลเชียส เตาเผาชุดที่ 2 เตาเผาช้ำแบบทรงกลมตั้งควบคุมอุณหภูมิมากกว่า 1,200 องศาเซลเซียส เพื่อให้มั่นใจว่าสารประกอบอินทรีย์อันตรายที่เกิดขึ้นถูกทำลายไปมากกว่า 99.99 % โดยรอบนี้ได้กำหนดวันทำลายเป็น 2 วัน คือวันที่ วันที่ 5-6 กรกฎาคม 2565
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่หลักในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ป้องกันไม่ให้กลับมาเสพช้ำ ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 ได้นำผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 1,209 แห่งทั่วประเทศ แล้ว 74,671 คน แบ่งเป็นระบบสมัครใจบำบัด 42,812 คน บังคับบำบัด 20,425 คน ต้องโทษ 10,149 คน และศาลส่งบำบัด 1,285 คน ทั้งนี้ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศพร้อมให้คำปรึกษาและนำเข้าสู่ระบบบำบัดรักษาที่ได้มาตรฐานสากล โดยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเลิกยาเสพติดได้ที่สายด่วน 1165 ตลอด 24 ชั่วโมง