ลุ้นข้อตกลงและกระบวนการคำมั่นสัญญาของประเทศร่ำรวยที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยและช่วยเหลือประเทศยากจนในการจัดการกับวิกฤตภาวะโลกร้อนในการประชุม COP26 วันจันทร์ที่ 8 ต.ค.นี้
ในวันจันทร์นี้เตรียมลุ้นการผลักดันข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือประเทศที่อ่อนแอในการจัดการกับภาวะโลกร้อนและมาตรการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น และการทดสอบว่าประเทศกำลังพัฒนาและประเทศร่ำรวยจะสามารถยุติความขัดแย้งด้านการเงินสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้หรือไม่
ในช่วงเริ่มต้นของสัปดาห์ มีการเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในกลาสโกว์หรืองานประชุม COP26 โดยรัฐมนตรีของรัฐบาลจะพยายามทำตามสัญญาก่อนหน้านี้ว่าจะจ่ายสำหรับความสูญเสียและค่าเสียหายอันเนื่องมาจากสภาพอากาศและจะตอบคำถามว่าจะมีแนวทางช่วยเหลือประเทศต่างๆในการปรับตัวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างไรดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เกรต้า ธันเบิร์ก ซัดแรง ประชุม "COP26" แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็แค่งาน PR ผู้นำ
นายกฯ ประกาศ เวทีประชุม COP 26 ต้องหยุดทำร้ายธรรมชาติเพราะไม่มีโลกใบที่สอง
ไบเดน ตำหนิ จีน-รัสเซีย ขาดภาวะผู้นำ ไม่มาประชุม COP26 แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุม COP26 กำลังหาจังหวะในการพูดคุยเรื่องนี้อีกครั้ง โดยมีแผนจะประกาศเงินทุนใหม่จำนวน 290 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 13 ล้านล้านบาท รวมไปถึงสนับสนุนประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนด้วย รัฐบาลอังกฤษกล่าวว่า จุดสูงสุดของเป้าหมายนี้คือการเพิ่มเงินทุนระหว่างประเทศหลายพันล้านดอลลาร์ ที่ประเทศร่ำรวยอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเดนมาร์ก จะมอบให้กับประเทศที่อ่อนแอในการปรับตัวต่อผลกระทบที่เลวร้ายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน
แต่ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องการเงินทุนมากขึ้นเพื่อช่วยให้พวกเขาปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่จะสูงขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยแล้ง น้ำท่วมและไฟป่าบ่อยครั้งขึ้น และประเทศที่พัฒนาแล้วต้องใช้เงินเพื่อลดการปล่อยมลพิษทั้งในประเทศของตนเองและประเทศอื่นๆ
“เราต้องลงมือทำทันทีเพื่อหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจผลักดันให้ผู้คนจำนวนมากไปสู่ความยากจน เพราะเรารู้ว่าผลกระทบจากสภาพอากาศนั้นส่งผลต่อผู้เปราะบางที่สุดอยู่แล้ว เรากำลังมุ่งไปสู่เป้าหมายสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืนในอนาคตสำหรับทุกคน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” Anne-Marie Trevelyan ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษให้มุ่งเน้นไปที่การปรับตัวและความยืนหยุ่นในการช่วยเหลือประเทศอื่นๆ กล่าว
หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ที่มีการให้คำมั่นสัญญาหลายครั้ง และประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศกำลังฝ่าฝืนคำสัญญาในอดีตของประเทศที่ร่ำรวยกว่า ในการประชุมวันจันทร์นี้จึงต้องเน้นไปที่ข้อโต้แย้งของรัฐมนตรีในการจัดการ การปรับตัวกับความสูญเสียและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
สุดท้ายนี้ เหลือเวลาอีกเพียง 5 วันเท่านั้นสำหรับการประชุม COP26 เพื่อรักษาความเป็นไปได้ที่จะทำให้ภาวะโลกร้อนอยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสเหมือนเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมและเพื่อให้โลกหลุกพ้นความเสี่ยงจากผลกระทบด้านสภาพอากาศที่รุนแรงในอนาคต ประเทศที่ร่ำรวยกว่าต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถทำตามคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ก่อนหน้านี้ได้
ย้อนดูคำสัญญา
ประเทศกำลังพัฒนาอาจจะต้องระมัดระวังมากขึ้น เพราะที่การประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติเมื่อ 12 ปีที่แล้วที่โคเปนเฮเกน ประเทศร่ำรวยได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบเงินจำนวน 100,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาภายในปี 2020 เพื่อช่วยให้พวกเขาปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้
แต่ผ่านปี 2020 ไปแล้วก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวในข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้นในการประชุม COP26 ครั้งนี้ ประเทศที่ร่ำรวยจึงต้องมารื้อฟื้นสัญญานั้นอีกครั้ง ด้วยการตั้งเป้าใหม่ให้บรรลุผลภายในปี 2023 อย่างช้าที่สุด บางคนหวังว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงดังกล่าวได้ภายในปีหน้าด้วยซ้ำ
ปัญหาสำคัญสำหรับประเทศร่ำรวยคือวิธีการชดใช้ให้กับประเทศที่ด้อยกว่ากับการจัดการปัญหาที่ผ่านมาในอดีตจากการปล่อยมลพิษของพวกเขา ซึ่งหลายพื้นที่ยังไม่ได้ให้คำมั่นอย่างเป็นรูปธรรมซะทีเดียว และถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลและผู้บริจาคต้องยกระดับการสนับสนุนด้านการเงินที่เป็นธรรม และแผนการฟื้นฟูจากการปรับตัวและความเสียหายที่เกิดขึ้น
ที่มาข้อมูล REUTERS