svasdssvasds

สรุปให้ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ลาออกจากนายกฯบอลไทย ช้างศึกมีโอกาสถูกฟีฟ่าแบน ?

สรุปให้ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ลาออกจากนายกฯบอลไทย  ช้างศึกมีโอกาสถูกฟีฟ่าแบน ?

สรุปให้ ทุกเหตุกาณ์ เมื่อ พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ลาออกจากนายกฯบอลไทย ช้างศึกมีโอกาสถูกฟีฟ่าแบน ? เพราะนี่คือเหตุการณ์ที่ การเมืองแทรกแซงกีฬา ใช่หรือไม่ ? เพราะก่อนหน้านี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ สั่งให้ บิ๊กอ๊อด ลาออก

กลายเป็นเรื่องราวประเด็นร้อนขึ้นมาในสังคมอีกครั้ง เมื่อ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ได้ประกาศลาออก นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ  โดยเรื่องนี้ ถือว่า เป็นการทำตามคำสั่ง  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ   ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ  และ เรื่องนี้ ร้อนถึง ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย มีโอกาสถูกฟีฟ่าแบน  เพราะนี่ถือการเมืองแทรกแซงกีฬา และผิดกฎฟีฟ่า ? 
.
สรุปเรื่องราว เหตุการณ์ บิ๊กอ๊อด พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ได้ประกาศลาออก นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ  โดยเรื่องนี้  ชัดเจนแจ่มแจ้ง ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 โดย Facebook นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์ถึงกรณีดังกล่าว ระบุ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ได้รับแจ้งเนื้อหาการประชุมที่ได้มอบหมาย นายพาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคม เข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปี 2565 ของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และประธาน

และจากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั่วไปว่า พล.อ.ประวิตร ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบผลงานการแข่งขันฟุตบอล และเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักฟุตบอลและสตาฟฟ์โค้ช ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่ประเทศกัมพูชา  ตามคำแนะนำของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา นั้น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตน (บิ๊กอ๊อด  พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง)  ในฐานะนายกสมาคมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแแล และจดทะเบียนกับการกีฬาแห่งประเทศไทย พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ โดยจะได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไป และจะแจ้งผลและเหตุผลแห่งการลาออกต่อ สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (AFF) สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) และสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของประเทศสมาชิก ทราบ ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของสมาคมฯ ตามลำดับต่อไปตามหน้าที่ของประเทศสมาชิก

สรุปให้ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ลาออกจากนายกฯบอลไทย ช้างศึกมีโอกาสถูกฟีฟ่าแบน ?

• บิ๊กอ๊อดลาออกเพราะบิ๊กป้อมสั่ง ผิดกฎฟีฟ่าอย่างไร 

อย่างไรก็ตาม  จากการประกาศลาออก พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง หรือ บิ๊กอ๊อด โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของ พล.อ.ประวิตร "ลุงป้อม" นั้นอาจส่งผลต่อการโดนแบนจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า  FIFA เพราะถูกมองได้ว่าเป็นการแทรกแซงการทำงานจากภาครัฐหรือบุคคลภายนอก และเรื่องนี้จะเป็นการผิดกฎฟีฟ่าเต็มๆ   

โดย กฏของฟีฟ่า ระบุชัดๆ  เมื่อกางกฎออกมาจะพบว่า ความเสี่ยงในการถูกแบนของทีมชาติไทยเข้าข่ายกับกฏข้อที่ 14, 17 และ 19 ดังต่อไปนี้ 

เริ่มจากข้อ 14 ในหัวข้อหน้าที่ของประเทศสมาชิก ข้อ 14.1 ระบุว่า การบริหารกิจการของสมาคมหรือสหพันธ์ต้องเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม ต่อมาในข้อ 14.3 ระบุว่า การกระทำผิดข้อบังคับในข้อ 14.1 อาจนำไปสู่การถูกลงโทษ แม้ว่าการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม จะไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดของประเทศสมาชิกโดยตรง

ในข้อ 17 หัวข้อการถูกถอดถอนความเป็นสมาชิก ซึ่งฟีฟ่าเขียนไว้ในข้อ 17.1 แยกเป็นข้อย่อยอีก 3 หน่วยดังต่อไปนี้ 1.) สมาชิกไม่สามารถชี้แจงหรือแสดงสถานะทางการเงินได้ครบตามระเบียบของฟีฟ่า 2.) ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของฟีฟ่าอย่างร้ายแรง 3.) สูญเสียสถานะความเป็นองค์กรอิสระ

และในกฏข้อที่ 19 ซึ่งเป็นกรณีใกล้เคียงที่สุดกับสถานการณ์ปัจจุบัน ระบุไว้ดังนี้
19.1 สมาชิกจะต้องบริหารกิจการของตนอย่างเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม
19.2 คณะผู้บริหาร จะต้องได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งอย่างเป็นอิสระตามระเบียบข้อบังคับฯ ด้วยวิธีการที่เป็นประชาธิปไตย
19.3 ผู้บริหารสมาคมที่ไม่ได้มีที่มาตามข้อ 19.2 จะไม่ได้รับการยอมรับ หรือ รับรองจากฟีฟ่า
19.4 มติต่าง ๆ ของผู้บริหารสมาคม ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง ตาม ข้อ 19.2 จะไม่ได้รับการยอมรับหรือรับรองจากฟีฟ่า

ความเป็นไปได้ ของการแบนทีมฟุตบอลทีมชาติไทย 
หากว่าตามกฏที่กล่าวมาทั้งหมด  สามารถสรุปได้ว่าสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จะไม่ถูกฟีฟ่าแบน 3 กรณีใหญ่ ๆ เริ่มจากประเด็นแรก พล.อ.ประวิตร หรือ ลุงป้อม ไม่ได้ใช้อำนาจจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ปลด พล.ต.อ.สมยศ ออกจากตำแน่งโดยตรงทันที ซึ่งทาง พล.ต.อ.สมยศ ก็ไม่ได้ลาออกตามคำสั่งใด ๆ

สรุปให้  พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ลาออกจากนายกฯบอลไทย  ช้างศึกมีโอกาสถูกฟีฟ่าแบน ? เหตุการณ์ในซีเกมส์ 2023 ที่กัมพูชา ทำให้ บิ๊กป้อม บีบ บิ๊กอ๊อด ให้ลาออก ?
• เคสตัวอย่างการแบนทีมฟุตบอลทีมชาติ เมื่อการเมืองแทรกแซง

ในอดีต เคยมีเคสที่ทีมฟุตบอลทีมชาติโดนแบนมาแล้ว อาทิ ทีมชาติอินโดนีเซีย เพื่อนร่วมภูมิภาคอาเซียนของไทย ไม่ได้ร่วมแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ระดับนานาชาติไปช่วงหนึ่ง

ขณะที่สมาคมกีฬาฟุตบอลปากีสถาน โดนลงโทษจากการแข่งขันเกมระดับนานาชาติที่ฟีฟ่ารับรอง หลังจากพบว่าองค์กรลูกหนังปากีสถาน ถูกแทรกแซงจากบุคคลที่สามซึ่งเป็นฝ่ายการเมือง และทำให้ "ไฟซัล ซาเลห์ ฮายัต" นายกลูกหนังปากีสถาน ซึ่งตอนนั้นเป็นหนึ่งในบอร์ดบริหารของเอเอฟซี ต้องถูกระงับการทำหน้าที่เอาไว้ชั่วคราวด้วย 

โดยตัวอย่างลิสต์รายชื่อ ทีมฟุตบอลทีมชาติ ประเทศที่เคยถูกแบนจากฟีฟ่า FIFA มีดังนี้

- ทีมชาติกรีซ ถูกแบน 4 กรกฎาคม 2006 / ยกเลิกโทษแบน 12 กรกฎาคม 2006 
สาเหตุ : รัฐบาลออกกฎหมายแทรกแซงการบริหารจัดการของสมาคมฟุตบอลกรีซ ซึ่งถือเป็นการละเมิดความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิกฟีฟ่า


- ทีมชาติอิหร่าน ถูกแบน 26 พฤศจิกายน 2006 / ยกเลิกโทษแบน 17 ธันวาคม 2006 
สาเหตุ : ไร้อิสระในการบริหารงานในสมาคมฯ และจัดเลือกตั้งสมาคมฯ ได้ไม่เหมาะสม

- ทีมชาติเอธิโอเปีย ถูกแบน กันยายน 2008 / ยกเลิกโทษแบน สิงหาคม 2009
สาเหตุ : แก้ไขปัญหาในสมาคมไม่ได้ทันตามที่ฟีฟ่ากำหนด

- ทีมชาติอิรัก ถูกแบนก่อนฟุตบอลโลก 2010 โซนเอเชีย รอบคัดเลือก / ยกเลิกโทษแบน พฤษภาคม 2008
สาเหตุ : รัฐบาลแทรกแซง สั่งยุบคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติและสหพันธ์กีฬาแห่งชาติ 

- ทีมชาติอิรัก ถูกแบน 2009 / ยกเลิกโทษแบน ตุลาคม 2010
สาเหตุ : คณะกรรมการโอลิมปิกอิรักตัดสินใจยุบสหพันธ์ฟุตบอลของประเทศ และการตัดสินใจครั้งนี้ทำให้ฟีฟ่า FIFA เลือกที่จะแบนประเทศในเอเชียตะวันตกเนื่องจากการแทรกแซงของรัฐบาล

- ทีมชาติ ไนจีเรีย ถูกแบน 2014 / ยกเลิกโทษแบน กรกฎาคม 2014 
สาเหตุ : หลังจากผลงานย่ำแย่ในฟุตบอลโลก 2014 สหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรีย (NFF) ตัดสินใจปลดคณะกรรมการบริหาร และศาลไนจีเรียสั่งให้ข้าราชการคนหนึ่งบริหารสหพันธ์ ทำให้ฟีฟ่าแบนทันที

- ทีมชาติกัวเตมาลา ถูกแบน ตุลาคม 2016 / ยกเลิกโทษแบน 2018
สาเหตุ : ผู้อำนวยการสหพันธ์ฟุตบอลปฏิเสธที่จะรับรองคณะกรรมการ โดยให้เหตุผลระบุว่าขัดต่อกฎหมายของประเทศ 

- ทีมชาติ คูเวต, อินโดนีเซีย ถูกแบน 2015
สาเหตุ : แบนคูเวต รัฐบาลของประเทศกำลังแทรกแซงการทำงานของสมาคมฟุตบอลที่มีอยู่ในประเทศ ยกเลิกโทษแบน ธันวาคม 2017
สาเหตุ :  แบนอินโดนีเซีย รัฐบาลได้แทรกแซงมาดูแลกิจการฟุตบอลเป็นหลัก ยกเลิกโทษแบน พฤษภาคม 2018 

- ทีมชาติ ปากีสถาน ถูกแบน 2017 / ยกเลิกโทษแบน มีนาคม 2018 
สาเหตุ : การแทรกแซงของบุคคลที่สามที่ไม่เหมาะสม

- ทีมชาติซิมบับเว ถูกแบน 2022 / ยังไม่ยกเลิกโทษแบน
สาเหตุ : คณะกรรมาธิการกีฬาและนันทนาการ (SRC) ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลของประเทศ เข้าแทรกแซงหลังจากมีข้อกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศผู้ตัดสินหญิงโดยเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค และข้อกล่าวหาเรื่องการฉ้อโกงภายใน

- ทีมชาติอินเดีย ถูกแบน 2022 / ยกเลิกโทษแบน 27 สิงหาคม 2022
สาเหตุ : ศาลในประเทศยุบ สมาคมฟุตบอลฯ ชั่วคราว และแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาควบคุมแทน

ทั้งนี้ "ลุงป้อม" พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน , ขณะที่ พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นนายก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นคนที่ 17 โดยขึ้นรั้งตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 2559 

ส่วน เคสของทีมชาติไทย จะถูก ฟีฟ่า FIFA ลงโทษแบนตามระเบียบที่ไม่อนุญาตให้มีบุคคลที่สาม แทรกแซงการบริหารงานสมาคมกีฬาฟุตบอลหรือไม่? ต้องติดตามกันต่อไป 

related