SHORT CUT
"อยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี ดีกว่าต่างคนต่างทำ" เปิด 4 ยุทธศาสตร์ “แพทองธาร” พัฒนาไทย ปลดล็อกศักยภาพอาเซียน ชูความสงบสุขเป็นเซฟโซนของนักลงทุน ทยายกำแพงกฎระเบียบ ขยายเศรษฐกิจให้เชื่อมถึงกัน
สรุป 4 ประเด็นหลักที่ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี กล่าวบนเวที ASEAN Economic Outlook 2025: The Rise of ASEAN, A Renewing Opportunity โดยกรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 ที่กล่าวถึงวิสัยทัศน์ นโยบายรัฐบาล และยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาประเทศไทย ในช่วงจังหวะที่ทั่วโลกมีความผันผวนด้านภูมิรัฐศาสตร์ เพื่อเป้าหมายให้ประเทศไทยและประชาคมอาเซียนเติบโตก้าวหน้า โดยใช้จุดแข็งที่อาเซียนเป็นตลาดที่ทั่วโลกโฟกัส ด้วยต้นทุนจีดีพีรวมทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตปีละ 4-5% มีประชากรกว่า 670 ล้านคน ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 อันดับแรกของโลก เป็นพื้นที่ที่ธุรกิจต่างๆ สามารถพึ่งพาได้ทุกระยะ น่าลงทุนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
แพทองธารระบุว่า ต้องการสร้างพื้นที่ที่ทุกคนทุกชาติสามารถสนับสนุนและพึ่งพากันและกันได้ สามารถมีพื้นที่บอกปัญหาที่พบ และข้อเสนอเพื่อช่วยพัฒนาเราทั้งหมดในอาเซียนให้มีพลังแล้วไปต่อด้วยกันได้ ไปจนถึงการให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่พูดคุยที่สันติ เช่น ที่ผู้นำจากจีนและสหรัฐอเมริกา ใช้ไทยเป็นพื้นที่หารือเมื่อปีก่อน
เพื่อให้เกิดการร่วมมือมากขึ้น ขยายการเคลื่อนตัวของเศรษฐกิจ ให้สามารถเติบโตได้ทั้งภูมิภาค รวมถึงการออกแบบมาตรการณ์ทางภาษีที่ดีขึ้น ทำให้นักลงทุนมั่นใจว่าการได้ลงทุนในประเทศไทยจะเหมือนกับการลงทุนกับคนทั้งภูมิภาค
เช่น ด้านเทคโนโลยี Data Center เพราะไทยและอาเซียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากสงครามการสู้รบ ให้นักลงทุนวางใจที่จะเก็บฐานข้อมูลเอาไว้ในที่ปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งหลังจากที่ Google ได้ประกาศลงทุนในไทยแล้วก็พบว่ายังมีเอกชนอีกหลายเจ้าที่สนใจลงทุนในไทยเช่นกัน รวมถึงการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางครัวโลก เพราะเรามีความมั่นคงด้านอาหาร นำเอา AI มาใช้ประมวลผลและดำเนินงานให้มีมาตรฐานระดับโลกเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ มีหลายประเทศให้ความสนใจแนวคิดนี้ด้วย
เช่น การพัฒนาระบบคมนาคมในภูมิภาค เพื่อยกระดับศักยภาพของอาเซียน ในอนาคตอาเซียนต้องเชื่อมระบบขนส่งซึ่งกันและกัน ทั้งจีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว ไทย เมียนมา เพื่อให้เกิดการค้าเป็นกลุ่มและเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันเมื่อเรามีตัวเชื่อมพวกนี้ก็จะทำให้ประหยัดเวลาการขนส่งได้มาก คุยเรื่องการพัฒนาระบบคมนาคมร่วมกันทั้งเรื่องรถไฟความเร็วสูงและการพัฒนาท่าเรือด้วย
แพทองธาร ทิ้งท้ายว่า อาเซียนต้องร่วมมือกันยกระดับการพัฒนาให้ไปในแนวทางเดียวกัน โดยอาศัยโอกาสและต้นทุนที่เรามี เชื่อมคน เชื่อมวัฒนธรรม เชื่อมเศรษฐกิจ และการขนย้ายแรงงานให้ง่ายขึ้น เพราะเชื่อว่า “การอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี ดีกว่าต่างคนต่างทำ”