svasdssvasds

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ส้มเจาะไข่แดง

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ส้มเจาะไข่แดง

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ในวันที่ส้มเจาะไข่แดง เดือดไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ เลยทีเดียว

SHORT CUT

  • ความจริงแล้วอยุธยาเองเติบโตได้ด้วยเพราะชายชื่อ มนตรี พงษ์พานิช โดยก่อนหน้าจะมีหน่วยงานที่เรีกยว่า อบจ. ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาจังหวัดผันงบเข้าจังหวัดคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ สส.
  • แต่เมื่อสิ้นบุญ มนตรี ถือได้ว่าเป็นโอกาสของบ้านใหญ่วังน้อยที่กำลังผงาดขึ้นมาแทนเขา และคนคนนั้นคือนักการเมืองหญิงที่มีนามว่า สมทรง พันธุ์เจริญวรกุล
  • แต่ปรากฎว่าพรรคก้าวไกลสามารถเจาไข่แดง ส่ง ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ และ ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง เป็น สส. ในนามพรรคก้าวไกลได้สำเร็จ และล่าสุดหลายฝ่ายต่างจับมือถล่มบ้านใหญ่วังน้อยเขย่าเก้าอี้ อบจ.

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ในวันที่ส้มเจาะไข่แดง เดือดไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ เลยทีเดียว

อบจ. พระนครศรีอยุธยา ออกประกาศกำหนดวันเลือกตั้งนายก อบจ. ในวันที่ 4 สิงหาคม ภายหลัง ‘ซ้อสมทรง’ ชิงลาออก

เป็นสถานการณ์ยอดฮิตทั่วฟ้าเมืองไทยที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ส่วนใหญ่ที่มั่นใจว่าสามารถรักษาเก้าอี้ไว้ได้มักจะทิ้งทวนก่อนหมดวาระ

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ส้มเจาะไข่แดง

ซ้อสมทรง หรือ สมทรง พันธุ์เจริญวรกุล ย่อมพกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า เพราะผูกขาดตำแหน่งนายก อบจ. มาอย่างยาวนาน แถมยังส่ง สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนเป็น สส. เขต 4 อยุธยาและเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในโควตาพรรคภูมิใจได้สำเร็จในสภาวะส้มแลนสไลด์ เรียกได้ว่าเป็นบ้านใหญ่ที่ถือว่ายังเหนียวไม่ธรรมดาอีกหนึ่งหลัง

แต่กระนั้นภาพความเป็นจริงของอยุธยา ซ้อสมทรง ยิ่งใหญ่ก็จริงอยู่ แต่ก่อนหน้ายุคซ้อสมทรง ก็มีบุุคคลที่เป็นที่เรื่องลืออย่าง มนตรี พงษ์พานิช มาก่อน

นั่นหมายความว่าเราอาจพูดได้หรือไม่ว่าอยุธยามีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปอาจย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งนายก อบจ. ก็เช่นกัน

 

อยุธยากับตำนานชายที่ชื่อ “มนตรี พงษ์พานิช”

เมื่อพูดถึงอยุธยา คนมักจะนึกกลิ่นอายเมืองหลวงเก่า มีท้องนาให้บรรยากาศแบบชนบท แต่ความจริงแล้วอยุธยาเองเติบโตได้ด้วยเพราะชายชื่อ มนตรี พงษ์พานิช โดยก่อนหน้าจะมีหน่วยงานที่เรีกยว่า อบจ. ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาจังหวัดผันงบเข้าจังหวัดคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ สส.

มนตรี เป็น สส. ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 จนถึง ปี พ.ศ. 2539 เป็น สส. จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเกือบ 20 ปีเรียกได้ว่าผูกขาดตำแหน่ง สส. จังหวัดนี้มาอย่างยาวนาน แน่นอนว่าผลงานเขาย่อมเป็นที่ชื่นชอบของคนในจังหวัดรวมถึงมีเครือข่ายที่สามารถเรียกคะแนนเสียงได้อย่างแน่นอน

ในยุคที่เขารุ่งเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีแนวคิดทันสมัย มีผลงานในการผลักดันโครงการพัฒนาจังหวัดหลายโครงการ เช่น ผลักดันงบประมาณสร้างสถานีตำรวจภูธรปากท่า อำเภอท่าเรือ การก่อสร้างสถานีอนามัยตำบลโพธิ์เอนแห่งที่สอง ผลักดันงบประมาณก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อเชื่อมการคมนาคมระหว่างอำเภอท่าเรือ-อำเภอนครหลวง เพื่อมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ส้มเจาะไข่แดง

การบำรุงซ่อมแซมเส้นทางท่องเที่ยวสายนครหลวง-บ้านไผ่หนองต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมีดอรัญญิก การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอท่าเรือเพื่อเชื่อมเทศบาลท่าเรือเข้ากับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสักที่ตำบลโพธิ์เอน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางแก่ประชาชนและความสะดวกในการรักษาความสงบในชุมชน การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสักที่อำเภอนครหลวงเพื่อเชื่อมอำเภอภาชี นครหลวง และบางปะหัน เข้ากับถนนสายเอเชีย การขยายเส้นทางสายเอ 32 หรือสายเอเชียเป็นถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ที่มุ่งสู่ภาคเหนือ

ผลักดันงบประมาณในการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลมากกว่า 200 แห่งรวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลให้กลายเป็นระบบประปาหมู่บ้านและตำบล นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการจำนำข้าวเปลือกให้แก่เกษตรกร บทบาทในสภาผู้แทนราษฎรที่ส่งผลต่อกฎหมายระดับชาติที่สำคัญคือ การแก้ไขกฎกระทรวงคมนาคม เพื่ออนุญาตให้รถกระบะขนาดไม่เกินหนึ่งตันสามารถวิ่งได้บนถนนหลวงโดยสามารถให้เป็นรถโดยสารส่วนบุคคลได้มาถึงปัจจุบัน

ผลงานที่โดดเด่นของเขาที่สุดในยุคนั้นคือการที่เขาพยายามผลักดันการขยายเขตไฟฟ้าเข้าสู่พื้นที่ในท้องถิ่นห่างไกล รวมถึงการผลักดันไฟฟ้าส่องสว่างตามทางสาธารณะในชนบทซึ่งในอดีตเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ถือเป็นเรื่องยากสำหรับการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในชนบท

การดำรงตำแหน่งที่สำคัญของเขาในฐานะรัฐมนตรีทำให้เขาสามารถผลักดันหรือทำโครงการต่างๆ ให้กับอยุธยาได้ เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2524) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2529) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2529)   อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ส้มเจาะไข่แดง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2531) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2538) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2539) และรองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535 , 2539)

 ซ้อสมทรง จากหัวคะแนนสู่บ้านใหญ่

แต่เมื่อสิ้นบุญ มนตรี ถือได้ว่าเป็นโอกาสของบ้านใหญ่วังน้อยที่กำลังผงาดขึ้นมาแทนเขา และคนคนนั้นคือนักการเมืองหญิงที่มีนามว่า สมทรง พันธุ์เจริญวรกุล

ซ้อสมทรง เป็นคนวังน้อยโดยกำเนิด ครอบครัวทำธุรกิจค้าไม้ และค้าวัสดุก่อสร้าง ต่อมาสามีผลักดันให้ลงสมัครผู้ใหญ่บ้านแทนสามี ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านมายาวนาน และเป็น “หัวคะแนน” คนสำคัญของมนตรี พงษ์พานิช ในพื้นที่ อ.วังน้อย

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ส้มเจาะไข่แดง

ซ้อสมทรง ถือได้ว่าเป็นสตรีแกร่งที่มีบทบาททางการเมืองในอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยเขาเธอมีแนวคิดผลักดันลูกหลานของเธอให้เขาสู่สนามการเมือง

ปี 2544 ซ้อสมทรง ส่งลูกสาวคือ “สุวิมล” ลงสมัคร สส. เขต 3 (วังน้อย, อุทัย และภาชี) ในนามของพรรคไทยรักไทย และในปี 2550 ยังผลักดันลูกชายอย่าง สุรศักดิ์ ให้รับไม้ต่อการเมืองจากพี่สาว เป็น สส. ผูกขาดพื้นที่ เขต 3 อยุธยา มาโดยตลอด

ซ้อสมทรงเองยังปั้นหลานสาว พิมพฤดา ตันจรารักษ์ ลูกสาว สมศรี พันธ์เจริญวรกุล และเอนก ตันจรารักษ์ ประธานสภา อบจ.อยุธยา ให้เป็น สส. อยุธยา ได้อีก 1 คน

ซ้อสมทรง ถือได้ว่าเป็นนักปั้นมือทองและยังเป็นผู้กุมบังเหียนตระกูล “พันธ์เจริญวรกุล” ส่งทั้งลูกและหลานหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าสู่สนามการเมืองทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น

 ยุคไทยรักไทยรุ่งเรืองเคยกวาดทั้งจังหวัด

ขณะเดียวกันในยุคที่ซ้อสมทรง กลายเป็นบ้านใหญ่แทนที่ตำนาน มนตรี พงพานิชย์ การเมืองในระดับชาติเป็นยุคที่ทักษิณกับพรรคไทยรักไทยกำลังรุ่งเรืองเช่นเดียวกัน

ในพื้นที่อยุธยาเองพรรคไทยรักไทยกวาดจำนวน สส. ทั้งจังหวัด กล่าวคือในปี พ.ศ. 2544-2548 พรรคไทยรักไทยสามารถกวาด สส. ทั้ง 5 เขตได้ทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร, พ้อง ชีวานันท์, สุวิมล พันธ์เจริญวรกุล, วิทยา บุรณศิริ และบุญพันธ์ แขวัฒนะ ต่างเป็น สส. ในสังกัดพรรคทั้งรักไทย

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ส้มเจาะไข่แดง

ถึงแม้ ทักษิณ ชินวัตร จะถูกรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 และพรรคไทยรักไทยถูกยุบ แต่กระนั้นมนต์ขลังของเขาก็ยังอยู่ในนามของพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทยที่สืบต่อจากพรรคไทยรักไทยก็ยังสามารถรักษาเก้าอี้ สส. ในอยุธยาได้เกือบทั้งจังหวัดอีกเช่นเคยทั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 และปี พ.ศ. 2554 มีเพียง เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ที่ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาเป็น สส. หนึ่งเดียวจากพรรคอื่นที่อยู่ในดงสีแดงเท่านั้น

 กระแสฝ่ากระสุน! ก้าวไกลเจาะได้ 2 เขต

หลายคนอาจคิดว่าซ้อสมทรงรวมถึงพรรคไทยรักไทย-เพื่อไทย คงจะเป็นเจ้าถิ่นที่ไม่ยอมปล่อยพื้นที่อยุธยาหลุดจากมือ ด้วยการเมืองท้องถิ่นผูกติดกับซ้อสมทรง และการเมืองระดับชาติผูกติดกับพรรคเพื่อไทยยากที่จะมีพรรคอื่นเข้ามาเจาะไข่แดงได้

การเมืองอยุธยาส่อแววแตกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 แล้วเมื่อซ้อสมทรงขนพลพรรคบ้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทยส่งลูกชายคือ สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เป็น สส. และ เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ก็ยังได้เป็น สส. ในสังกัดพรรคภูมิใจไทยเช่นเดียวกัน ทำให้พรรคเพื่อไทยเหลือ สส. ในอยุธยาเพียง 2 คนเท่านั้นและในเวลาต่อมา นพ ชีวานันท์ ก็ยังย้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทยอีกด้วย เรียกได้ว่าจังหวะนี้มนต์ทักษิณ ได้เสื่อมลงไปแล้ว เหลือเพียงพลังจากท้องถิ่นอย่างซ้อสมทรงเท่านั้นที่ยังมีมนต์ขลังอยู่

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ส้มเจาะไข่แดง

แต่กระนั้นเซียนการเมืองต้องคิดผิด เรียกได้ว่าหักปากกาเซียนหลายชั้นก็ว่าได้เพราะในเมื่อเพื่อไทยหมดพลังลงไปใครๆ ต่างก็คิดว่าเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566 บ้านใหญ่อยุธยาอย่างซ้อสมทรงคงจะนำทีมกวาด สส. ยกจังหวัดให้กับพรรคภูมิใจไทยแต่สถานการณ์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่

เพราะปรากฎว่าพรรคก้าวไกลสามารถเจาไข่แดง เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอพระนครศรีอยุธยาและอำเภอบางบาล เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอบ้านแพรก, อำเภอมหาราช, อำเภอบางปะหัน, อำเภอนครหลวง และอำเภอท่าเรือ ส่ง ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ และ ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง เป็น สส. ในนามพรรคก้าวไกลได้สำเร็จ เอาชนะ เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร และนพ ชีวานันท์ ตามลำดับ

เล่นหักปากกาเซียนแบบเซียนการเมืองเหงื่อตกกันเลยทีเดียว ทำให้บ้านใหญ่วังน้อยต้องคิดใหม่และคาดว่าต้องเตรียมจัดทัพเตรียมทำศึกเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศใหม่อย่างแน่นอน

 บ้านใหญ่ถูกท้าทายภายใต้การจับมือจากหลายฝ่าย

สนามที่วัดใจซ้อสมทรง ที่น่าจับตาคือสนามเลือกตั้งนายก อบจ. ที่ซ้อสมทรงนั่งอยู่นั่นเอง ดูเหมือนว่าซ้อสมทรงคงจะมั่นใจถึงได้ลาออกเพื่อจะสู้ศึกเลือกตั้งสนามนี้ เหตุเพราะรู้ข่าววงใน ก้าวไกลกรุงเก่าไม่เป็นเอกภาพ และพรรคยังไม่ได้วางตัวผู้สมัครนายก อบจ. ด้อมส้มกรุงเก่า

แต่กระนั้นได้มีผู้ที่โผล่ขึ้นมาท้าชิงเก้าอี้นายก อบจ. ของซ้อสมทรง 1 คนที่น่าจับตา นั่นก็คือ วัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ นายกอุ๊ อดีตนายก อบต.บ้านใหม่ อ.มหาราช จ.อยุธยา ที่ใช้ทีมก้าวใหม่อยุธยา จากเดิมคือกลุ่มอาสาก้าวไกลอยุธยา ที่มี สส.ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง และ สส. อีกหลายท่าน สมาชิกพรรคก้าวไกลจำนวนมากร่วมทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคมในพื้นที่อยุธยาอยู่ตลอด

อบจ. อยุธยา ศึกชนช้างสนามกรุงเก่า จากมนตรีถึงซ้อสมทรง ส้มเจาะไข่แดง

บวกกับมีข่าวลือสะพัดมีนักการเมืองท้องถิ่นจากหลากพรรคหลายขั้วพร้อมใจกันเอาใจช่วย นายกอุ๊ แบบห่างๆ หวังโค่นซ้อสมทรงเพื่อให้อยุธยามีที่ทางสำหรับตนเองและกลุ่มก๊วนของตนเอง

เรียกได้ว่าสนามเลือกตั้ง นายก อบจ. อยุธยา น่าจับตาไม่ใช่เพียงแต่วัดพลังส้มหรือพลังกลุ่มใหม่ๆ ในท้องถิ่นอย่างเดียว เพราะหากซ้อสมทรงล่วงนั่นย่อมหมายความว่าการเมืองท้องถิ่นและการเมืองแบบเครือข่ายเปลี่ยนไป แต่หากซ้อสมทรงยังเหนียว นั่นหมายความว่าเครือข่ายท้องถิ่นยังมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง อบจ. เป็นโจทย์หินที่ก้าวไกล คณะก้าวหน้า หรือพรรคใดๆ ก็ตามที่ท้าชิงต้องรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายจะเจาะเก้าอี้ท้องถิ่นเหมือนระดับประเทศ และยากต่อการเปลี่ยนแปลงถ้าไม่รู้จักหากลยุทธใหม่ๆ เข้าท้าชิง

อ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ / คมชัดลึก /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related