เปิดโปรไฟล์ "อนุทิน ชาญวีรกูล-พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค" แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคภูมิใจไทย - รวมไทยสร้างชาติ ปม 40 สว. ยื่นคำร้องขอให้ถอดถอนเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี รอลุ้นศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีคุณสมบัตินายกฯ
ยังคงเป็นประเด็นร้อนที่สังคมให้ความสนใจ กรณีที่สมาชิกวุฒิสภา จำนวน 40 คน ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา ว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อโปรดเกล้าแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งๆ ที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากนายพิชิตเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลาหกเดือน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริตและมีพฤติกรรม อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้อง สว. กรณีนายกฯ แต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน ทั้งที่รู้ว่าขาดคุณสมบัติไว้พิจารณา แต่ไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
ในสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่ปกติ การเรียกร้องให้นายกฯ ต้องมีที่มาจากการเป็น ส.ส. อีกครั้งจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรื้อฟื้นประชาธิปไตย แม้จะมีกลไกใหม่จากรัฐธรรมนูญ 2560 จะสามารถให้พรรคการเมืองเสนอบัญชีรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. ไว้ก่อนการเลือกตั้งได้ก็ตาม
“แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี” เป็นข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์กติกาจำนวนมากที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญกำหนดให้พรรคการเมืองเสนอชื่อบุคคลที่พรรคเห็นสมควรให้เป็นนายกรัฐมนตรี หรือที่เรียกกันว่า “แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี” ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อให้ประชาชนได้ทราบรายชื่อบรรดาแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองต่างๆ ก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น
ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครเข้าร่วมชิงชัยในสนามเลือกตั้งจำนวนมาก ทำให้รายชื่อผู้ที่ถูกเสนอให้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งให้การรับรองมีจำนวนมากตามไปด้วย
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุชัดเจนว่า นายกฯ จะต้องมาจากบัญชีรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคที่มีจำนวน ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรืออธิบายง่ายๆ คือเฉพาะพรรคที่มี ส.ส. มากกว่า 25 คนขึ้นไป ในสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่จะมีสิทธิเสนอชื่อได้
หากย้อนไปเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2566 รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อ.ประจำคณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ม.บูรพา ได้ให้ความเห็นต่อการทำงานของรัฐมนตรี รายบุคคล ว่า ภาพรวม 2 เดือนรัฐบาล และรัฐมนตรีที่เห็นความมุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเท มีความมุ่งมั่น เรียนรู้การทำงาน มีการวางแนวทางการดำเนินการในการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนที่ชัดเจน ดังนี้
แม้ว่าผลงานนโยบายหลักๆ ของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี จะไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร มีข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเรื่องไม่ตกปก ไม่เหมือนกับตอนหาเสียงในการเลือกตั้งกับประชาชน แต่ถ้าพิจารณาจากความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ทุ่มเท การแสดงภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี ก็น่าชื่นชม สอดคล้องกับคำพูดที่ท่านบอกว่า “จะทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย”
ในตำแหน่ง มท.1 ถือว่าเป็นตำแหน่งใหม่ ถือว่าทุ่มเทเต็มที่ มีความพยายามเรียนรู้ มีภาวะผู้นำสูง มีการวางกรอบการเดินการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพล นโยบายครอบครองอาวุธปืน หรือการวางกรอบการทำงาน ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ ด้านน้ำดื่มสะอาดฟรี ลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน ด้านการลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านพลังงานสะอาด ด้านการจัดระเบียบสังคม ปราบปรามผู้มีอิทธิพล ด้านบริการประชาชนแบบ One Stop Service อำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว
ในความสำเร็จของนโยบายลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ราคาน้ำมัน แกส ก๊าซ ผลงานของรัฐบาลเป็นผลงานโดยตรงของ นายพีระพันธ์ แม้ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแต่เป็นรูปธรรม
เกิดวันที่ 13 ก.ย. พ.ศ. 2509 ปัจจุบันอายุ 57 ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง