svasdssvasds

ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

ฮั้วแหลก-บล็อกโหวต-ล็อคผล-สังเกตการณ์ไม่ได้-จัดเลือกหลายมาตรฐาน นักวิชาการส่งเสียง ขอ กกต.เร่งให้ประชาชนมีส่วนร่วมสังเกตการณ์ เลือก สว. อดีตผู้สมัครแฉเละกระบวนการฮั้วระดับอำเภอ

SHORT CUT

  • ผู้สมัคร สว.ที่ตกรอบในระดับอำเภอ แฉความสงสัยมีการ "ฮั้ว" และ "บล็อกโหวต" การเลือก สว. ชัดเจนในหลายพื้นที่
  • นักวิชาการ เผย หน่วยเลือกไม่มีมาตรฐาน ทำไม่เหมือนกัน เอื้อประโยชน์คนบางกลุ่ม
  • ขอ กกต.เร่งเปิดให้ทุกฝ่ายสังเกตการณ์เลือกได้อย่างโปร่งใสและทั่วถึงมากขึ้น

ฮั้วแหลก-บล็อกโหวต-ล็อคผล-สังเกตการณ์ไม่ได้-จัดเลือกหลายมาตรฐาน นักวิชาการส่งเสียง ขอ กกต.เร่งให้ประชาชนมีส่วนร่วมสังเกตการณ์ เลือก สว. อดีตผู้สมัครแฉเละกระบวนการฮั้วระดับอำเภอ

วันที่ 11 มิถุนายน 2567 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดเวที “ติดตามผลและปัญหาการเลือก สว. ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขไม่ให้มีการล้มกระดาน” สะท้อนกระบวนการเลือก สว. ระดับอำเภอเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยเปิดเวทีให้อดีตผู้สมัคร สว.รอบระดับอำเภอที่ไม่ได้รับเลือก จำนวน 5 คนมาบอกเล่าประสบการณ์ ข้อสังเกตถึงความผิดปกติในการเลือก สว. และเวทีแสดงทัศนะของนักวิชาการต่อการเลือก สว. ด้วย

ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

[ฮั้วเดือด เทคะแนนให้กันในกลุ่ม แกะดำถูกบล็อค]

กลุ่มผู้สมัคร สว.ที่ตกรอบระดับอำเภอเล่าการเลือก สว.ที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พบสัญญาณแปลกตั้งแต่วันสมัครเมื่อคนในกลุ่มเดียวกัน 14 ใน 16 คน เขียนประวัติอาชีพกลุ่มประชาสังคมว่า ทำงานพระพุทธศาสนา บำรุงวัด บรรยากาศในวันเลือกของเธอเป็นไปด้วยความอึดอัด ทุกคนพยายามทำตัวเหมือนไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอตกรอบแรก ส่วนกลุ่มใหญ่นั้นเขาเลือกและเทคะแนนให้กันเอง

ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

ผู้สมัคร สว.อีกคนที่ อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ กลุ่มอิสระ พบความผิดปกติตั้งแต่วันรับสมัคร เจ้าหน้าที่รัฐกลายเป็นคนเกลี่ยผู้สมัคร คัดไปลงกลุ่มต่างๆ เอง “กลุ่มเกษตรกรรมเยอะแล้วเต็มแล้ว คุณไปลงกลุ่มนั้นดีกว่า” และพบว่าในแต่ละกลุ่มมีบุคคลวุฒิการศึกษา ประถม-มัธยม แต่จะมีคนจบปริญญาสักคนหนึ่ง เหมือนเป็นคนที่เขาวางไว้ แล้วคนนั้นก็เป็นผู้ได้รับเลือก ยังพบว่ามีการจัดตั้งกลุ่ม อสม. กลุ่มสตรี เข้ามา ตนและพวกที่มีแนวคิดเดียวกันจึงรวบรวมพยานหลักฐาน ร้องไปที่ กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วหลังจากนั้นตน “ถูกล้อม” ทั้งตำรวจ ปลัด มาพูดคุยและบล็อกกลุ่มตนอย่างผิดสังเกต บล็อกตนและพวกที่ไปร้อง กกต.ในกระบวนการเลือก “วันเลือกตั้งไม่มีใครคุยกับผม ลงจากรถก็มีเจ้าหน้าที่เข้ามาประกบทันที กลุ่มผมคือกลุ่มอิสระแต่ถูกจัดคนเป็นกลุ่มใหญ่บล็อคผมตกรอบแรก”

ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

“แหวน-ณัฏฐธิดา” ผู้สมัคร สว. อ.เมืองจันทบุรี เล่าด้วยความคับแค้นเธอถูกตราหน้าว่าสนับสนุนพรรคการเมืองพรรคหนึ่งเพราะเธอมักมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองบ่อยครั้งในฐานะพยาบาลอาสาที่รอดชีวิตจากวัดปทุมฯ เมื่อปี 2553 ถูกตรวจสอบเอกสารนานผิดปกติอ้างว่าลายมือชื่อผู้รับรองไม่ตรงกันแม้จะโทรหาผู้รับรองให้ช่วยยืนยันแล้วถูกผู้สมัครด้วยกันโน้มน้าวคนอื่นว่าตนมาจากพรรคการเมือง

ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

 

หลายมาตรฐานในการเลือก

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ศูนย์นิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า การจัดการเลือก สว.แต่ละอำเภอมีความแตกต่างกัน เช่น การแนะนำตัวของผู้สมัคร บางที่ให้แนะนำ พูดคุยกันได้อย่างอิสระ ขณะที่บางอำเภอไม่ให้คุยกัน อนุญาตให้อ่านประวัติในแบบ สว.3 จำนวน 5 บรรทัดต่อคนเท่านั้น ซึ่งมองว่า “การเลือกรอบไขว้ต้องมีการแนะนำตัว ไม่งั้นคนฮั้วก็เอาไปกิน” ดังนั้นทุกพื้นที่ต้องเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ไม่ใช่กลุ่มจัดตั้งได้นำเสนออย่างเต็มที่
ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

ด้าน ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่ามีงานวิจัยที่พบว่า การปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. มีแนวปฏิบัติที่ไม่เคยทำเหมือนกันในแต่ละพื้นที่ เป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นเสมอเมื่อ กกต.มีการจัดให้มีการออกเสียงเลือกตั้ง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากระเบียบที่บิดเบี้ยวลามมาสู่การปฏิบัติที่ไม่มีมาตรฐาน

ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

ส่วนบรรดาผู้สมัครพบว่าการ “ไม่มีมาตรฐาน” ที่ก่อให้เกิดการฮั้วอีกเรื่องหนึ่งคือ “การจับสลากแบ่งสาย” ก่อน หรือ หลัง การพักรับประทานอาหารกลางวัน เพราะเมื่อมีการจับสลากก่อนกินข้าวทำให้เกิดการนัดกันเลือก หรือไม่เลือกใครคนใดคนหนึ่งได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดควรจับสลากสายหลังพักเที่ยงแล้วเริ่มกระบวนการเลือกไขว้ทันที ป้องกันการฮั้วและบล็อคโหวต และควรมีการ “แนะนำตัว” ของผู้สมัครรอบไขว้เพื่อลดการฮั้วข้ามกลุ่ม

ภาคประชาชนไม่มีส่วนร่วม ถ่ายทอดภาพ เสียงอยู่ไหน?

อีกปัญหาที่พบคือในกฎการเลือก กกต. จะต้องถ่ายทอด “ภาพและเสียง” ของกระบวนการให้ผู้สังเกตการณ์ด้วย พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ถ่ายทอดแต่ภาพ ไม่มีเสียง และถ่ายในมุมสูงที่อยู่ไกลกระบวนการเลือกมาก ทำให้บุคคลภายนอกไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร และไม่ได้ยินเสียง

ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

ขณะที่บางหน่วยไม่อนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์เข้าไปในอาคาร ทำให้กระบวนการการเลือกไม่โปร่งใส ดังนั้นจึงเรียกร้องยัง กกต. จะต้องเปิดพื้นที่ “การมีส่วนร่วม” ที่มากขึ้นและเป็นมาตรฐานอย่างเร่งด่วนในรอบจังหวัดและประเทศที่กำลังจะถึงนี้

 

หรือนี่คือฉากหนึ่ง เพื่อยื้ออายุ สว.คสช. ?

นักวิชาการและประชาชนเห็นตรงกันว่า “หน้าตา” สว.ที่มาจากการจับสลาก(หากคะแนนเท่ากัน) การฮั้ว บล็อก ทำให้ไม่กล้าเดาเลยว่าหน้าตา สว.ชุดนี้จะเป็นอย่างไร เพราะเหมือนกติกาของ กกต. อาจจะตามไม่ทันกลเกมส์ของกลุ่มอำนาจต่างๆ ที่จัดตั้ง วางแผน มาได้แล้วอย่างทะลุทะลวง

ฮั้ว-บล็อก-ล็อก-แหลก เลือก สว.67 ปัญหาเพียบ ส่อล้มยืดอายุ สว.ชุดเดิมหรือไม่

แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ต้องยืนยันว่า “การฮั้วไม่ใช่เหตุในการเลื่อนหรือเลิกการเลือก สว.แต่อย่างใด” แต่เป็นเหตุที่ กกต. ต้องเปิดให้ “ทุกภาคส่วน” เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการโดยด่วน

 

อย่าหลงกล จนการเลือก สว.รอบนี้ "ถูกล้ม"

 

ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กระบวนการเลือก สว.นี้เคยถูกคัดค้านแล้วครั้งหนึ่งในชั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพราะมีสมาชิกเห็นว่าจะมีการฮั้วเกิดขึ้นแน่นอน แต่สุดท้ายถูกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ปรับให้กลับมาเป็นในรูปแบบนี้

 

ดังนั้นการที่ "เขา" ทำให้การเลือกเป็นแบบนี้ จะเพราะอยากให้มัน "ล้ม" ในท้ายที่สุดหรือเปล่า? แล้วคนที่จะได้ประโยชน์สูงสุดถ้าการเลือกถูกร้องจน "โมฆะ-โมฆียะ" ก็คือ สว.ชุดเดิม สว. ที่ คสช. เลือกมา...

related