svasdssvasds

กัญชา Soft Power หรือ อคติ By คิตตี้ ช่อผกา

กัญชา Soft Power หรือ อคติ By คิตตี้ ช่อผกา

กัญชkไทย Soft Power หรือเป็นเพียงอคติที่รับบาลไทยมองข้ามไป By คิตตี้ ช่อผกา จากดราม่าการเมืองกระทบถึงกระเป๋าเงินของประชาชน

SHORT CUT

  • กัญชากลายเป็นประเด็นกลายเมืองที่ส่งผลกระทบถึงประชาชนว่าจะเอาอย่างไรดี กับการที่จะกัญชากลับไปเป็นสารเสพติดอีกครั้ง
  • คิตตี้ ช่อผกา ผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท Elevated Estate ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพกัญชา แนะนำว่าทางออกที่ดีที่สุดคือการออกกฎหมายควบคุมและถกเถียงกันในรัฐสภา
  • เพราะสุดท้ายแล้วไทยอาจเป็นผู้เสียโอกาสในเรื่องของกัญชาก็ว่าได้

กัญชkไทย Soft Power หรือเป็นเพียงอคติที่รับบาลไทยมองข้ามไป By คิตตี้ ช่อผกา จากดราม่าการเมืองกระทบถึงกระเป๋าเงินของประชาชน

ภายหลัง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเตรียมนำกัญชากลับมาเป็นสารเสพติดนั้น ได้สร้างกระแสดราม่า ทางด้านการเมืองเกิดการวัดพลังทางการเมืองกับ อนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยเจ้าของนโยบายกัยชาเสรี

กัญชา Soft Power หรือ อคติ By คิตตี้ ช่อผกา

แต่ถึงแม้นักการเมืองจะตีกันจบ แต่เรื่องนี้มีผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้ลงทุนกับเรื่องกัญชาไปแล้ว

SPRiNG มีโอกาสได้พูดคุยกับ คิตตี้ ช่อผกา ผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท Elevated Estate ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพกัญชา ซึ่งให้คำแนะนำอุตสาหกรรมกัญชา และยังเป็นผู้ผลักดันกัญชาให้ถูกกฎหมาย ถึงมุมมองของเธอต่อประเด็นนี้

กัญชา Soft Power หรือ อคติ By คิตตี้ ช่อผกา

 

จากเสรีกัญชาสู่ยาเสพติด?

หลังจากรัฐบาลจะดึงกัญชาไปเป็นสารเสพติดนั้น คิดตี้ รู้สึกไม่ดี เพราะเหมือนกับว่ารัฐบาลกำลังมองว่าผู้ประกอบการกำลังเล่นขายของกัน ประชาชนหลายคนทำถูกกฎหมายและต้องการที่จะลืมตาอ้าปาก เพราะเขาคิดว่าเป็นสิ่งที่กำลังทำเรื่องกัญชานั้นถูกกฎหมาย แต่ตอนนี้เหมือนรัฐบาลจะดึงกลับไปให้ผิดกฎหมายจะทำให้เราเป็นผู้ค้ากัญชากลายเป็นผู้ค้ายาเสพติดหรือเป็นผู้ใช้ยาเสพติดหรือเปล่า

นั่นเท่ากับว่าคุกจะมีพื้นที่พอไหม และหากชาวบ้านเป็นผู้ปลูกกัญชา 2-3 ต้น เขาจะกลายเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย อันนี้น่าคิดว่ารัฐบาลคิดดีแล้วหรือเปล่า

กัญชา Soft Power หรือ อคติ By คิตตี้ ช่อผกา

คิตตี้ชวนมองว่า เมื่อทำให้เรื่องกัญชาผิดกฎหมายยิ่งสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น เพราะปกติกฎหมายเรื่องกัญชามีอยู่แต่มีปัญหาเพราะไม่ได้บังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่ปล่อยให้ละเลย ซึ่งกรณีนี้ไม่ต่างจากบุหรี่ไฟฟ้า ปัญหามันเป็นจากระบบ แต่เราแก้ปัญหาแบบผิวเผิน ทำไมเราไม่ทำพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่เป็นกฎหมายควบคุมกัญชาโดยเฉพาะ ตั้งแต่การปลูก การเข้าถึงและการใช้ หรือสถานที่ที่ใช้ เพราะทางเราเองยังไม่เห็นด้วยกับการใช้ในที่สาธารณะเพราะในบางทีต้องมีพื้นที่ให้ใช้ด้วยเหมือนกัน เราต้องยอมรับด้วยว่ามีผู้ใช้กัญชาจริงๆ คิตตี้กล่าว

คิตตี้โชว์ข้อมูลว่า ล่าสุดมีรายงานของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ออกมาบอกว่าในเมืองไทยมีผู้ใช้กัญชาอยู่ประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ประมาณ 11 ล้านคน เรางงว่าจำนวนผู้ใช้จำนวนมากไปหรือเปล่า หรือหากมีผู้ใช้จริงๆ 11 ล้านคน จะเอาเขาเข้าคุกหรือ การแก้ไขปัญหาจึงไม่ใช่การเอากลับไปเป็นสารเสพติด แต่ควรเข้าไปนั่งถกเถียงร่วมกัน เพราะตอนนี้มีร่างกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาอยู่ 4 ฉบับ มีทั้งฉบับภูมิใจไทย ก้าวไกล และภาคประชาชนอีก 2 ฉบับ สาธารณสุขควรทำเพิ่มไปอีก 1 ฉบับ นำทั้ง 5 ฉบับไปถกเถียงกันในรัฐสภา อยากให้ถกเถียงเสร็จภายใน 2-3 เดือน ประชุมไปเลย 3 วันเช้าเย็น

กัญชา Soft Power หรือ อคติ By คิตตี้ ช่อผกา

คิตตี้กล่าวเพิ่มว่าควรนำที่ปรึกษาที่เป็นภาคประชาชนเข้าไปประชุมร่วมด้วย ไม่ใช่แค่หมอหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแค่ฝั่งเดียว ต้องฟังเสียงจากทุกฝั่ง ไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องอันตรายหรือปัญหาต่อเยาวชนแต่มันคือปัญหาปากท้องและเรื่องของสิทธิของประชาชนอีกด้วย

ส่วนเรื่องข้อถกเถียงนั้น คิตตี้มองว่าต้องไปพิจารณาที่ในรัฐสภาอยู่ดี ตอนจบของเรื่องนี้ควรทำกฎหมายขึ้นมา อย่างน้อยต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมการออกกฎพวกนี้บ้าง ไม่ใช่อยู่ดีๆ เอากฎหมายอะไรไม่รู้มากำกับประชาชนคณะกรรมการยาเสพติดบอกว่าจะเอากัญชากลับไปเป็นสารเสพติดก็ควรต้องไปพิจารณาที่ในรัฐสภาอยู่ดี ตอนจบของเรื่องนี้ควรทำกฎหมายขึ้นมา อย่างน้อยต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมการออกกฎพวกนี้บ้าง ไม่ใช่อยู่ดีๆ เอากฎหมายอะไรไม่รู้มากำกับประชาชน

 

ตอนนี้ประชาชนเดือดร้อนด้วยเรื่องการเมือง

ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนอย่างไร

ไม่ใช่เพียงผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น เพราะถึงแม้จะเคยให้สามารถปลูกกัญชาได้ ยังมีปัญหาหลัก ๆ ของเกษตรกรที่ต้องการปลูกกัญชา นอกจากเรื่องเงินทุนและการรวมตัวเพื่อเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้ว สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญก็คือ ขั้นตอนของการขออนุญาตที่ใช้เวลานาน ต้องยื่นเอกสารกับหน่วยงานหลายแห่งกว่าจะได้รับการอนุญาตให้ปลูกกัญชาได้ ตั้งแต่ 1.การยื่นคำขอ พร้อมเอกสารหลักฐานที่ อย. 2.เจ้าหน้าที่ตรวจประเมินเอกสาร 3.เจ้าหน้าที่ตรวจประเมินสถานที่ปลูกกัญชา 4.กรณีพื้นที่ปลูกตั้งอยู่ต่างจังหวัด เสนอให้คณะกรรมการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานให้พิจารณาเห็นชอบ 5.อย. รวบรวมผลการประเมินเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรอง 6.อย. เสนอกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเพื่อพิจารณาให้เห็นชอบ และ 7.ต้องรอ อย. ออกใบอนุญาต ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอย่างมาก

นอกจากนี้ คิตตี้มองว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนคือเรื่องของรายได้ที่หายไป อย่าลืมว่ามันมีอยู่ช่วงที่เขาถูกหลอกมาทำเรื่องแบบนี้แต่ไม่ได้พาพวกเขาไปตลอดรอดฝั่ง ตอนนี้พวกเขาได้รับผลกระทบเรื่องของราคาที่ตกลง ของไม่ได้คุณภาพ เป็นการเริ่มให้แต่ไม่ดูแล

นอกเหนือจากรัฐปล่อยให้กัญชาออกโดยไม่มีอะไรมารองรับมากำกับดูแลเรื่องนี้ด้วย เปรียบเสมือนการเอาใส่เรือแล้วผลักเขาเข้าไปในพายุ ตรงนี้ทำให้พวกเขามีปัญหาอยู่แล้วตรงนี้มาจะเป็นปัญหาหนักขึ้นไปกว่าเดิม

เกษตรกรต้องปรับให้เป็นพืชตัวอื่นหรือการทำอย่างอื่นไปเลย เพราะถ้ากัญชากลายเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย อย่าลืมประเด็นเรื่องลูกจ้าง เช่นบริษัทเรามีลูกน้อง 4-5 คน อยู่ในประกันสังคมหมด แสดงว่าระบบประกันสังคมจะได้รับผลกระทบหรือเปล่า

มีใบอนุญาตประกอบการเป็นหลักหมื่น ลูกจ้างในบริษัทนั้นมีกี่คนมีตั้งแต่บริษัทต่างชาติ มีลูกจ้างคนไทยอย่างน้อยกี่คน ตรงนี้เป็นจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อระบบประกันสังคมแน่นอน

ธุรกิจโดยรอบของกัญชาได้รับผลกระทบหมด

ธุรกิจรอบๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันเช่นธุรกิจแท่นบรรจุพันธุ์ โรงพิมพ์ อุปกรณ์เกษตร คนที่เขาลงทุนกับเรื่องกัญชา พวกเขาต้องเสียทุน เสียเวลาในการดำเนินธุรกิจไป ร้านกัญชา 1 ร้านต้องมีอะไรมาสนับสนุนอีกตั้งเยอะ

กัญชา Soft Power หรือ อคติ By คิตตี้ ช่อผกา

ทั่วโลกปรับตัวเรื่องกัญชาแล้วไทยอยู่ตรงไหน

คิตตี้ ชวนมองว่า สมมติในอีก 20 ปี กัญชากลายเป็นเหมือนแอลกอฮอล์ใช้ไปทั่วโลก แล้วบ้านเรามีโอกาสเป็นผู้นำได้ในส่วนนี้ เวลานี้ แต่เราเลือกว่าจะไม่ทำ กลัวอะไร กลัวขี้ปากชาวบ้านหรือ แต่อย่าลืมว่าประเทศไทยคนมาเที่ยวเพื่อปาร์ตี้ก็เยอะ เราต้องยอมรับ ควรที่จะออกกฎมาดูแล และมองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากกัญชา

เหตุที่รัฐบาลทำแบบนี้

ในมุมของ คิตตี้ มองว่าเหตุที่รัฐบาลดึงกัญชากลับมาเป็นสารเสพติดเป็นเพราะว่าอคติมากกว่าสิ่งอื่นใด และรอประเทศพี่ใหญ่ทำให้ดูก่อน เช่นสหรัฐอเมริกากำลังปรับกัญชาให้เท่ากับโคเคน หรือเยอรมนีเปิดให้ประชาชน ที่เป็นคนเยอรมันใช้ แต่นักท่องเที่ยวยังใช้ไม่ได้

ว่าประชาชนของเขาสามารถใช้หรือสูบกัญชาได้ แต่ของเราออกมาเน้นขายของ ขายนักท่องเที่ยว ซึ่งพอเป็นเช่นนี้หลายๆ คนมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมากๆ เพราะมันเป็นสิ่งที่กำลังเริ่ม

กัญชา Soft Power หรือ อคติ By คิตตี้ ช่อผกา

หลายๆ ประเทศในสหภาพยุโรปกำลังคุยกันเรื่องกระท่อมกับกัญชาเป็นเรื่องหลักไปแล้ว โดยจะควบคุมอย่างไร แต่ไม่ได้ทำให้ผิดกฎหมาย

มันน่าแปลกในประเทศไทยเรื่องของกัญชาเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องการกฎหมายกันเอง เพราะประชาชนเข้าใจว่ามีทั้งดีและโทษ เราต้องการกฎมาควบคุมกัญชาที่ต้องการใช้ประโยชน์จากกัญชา

ตัดผลประโยชน์ของชาติ

คิตตี้กล่าวอีกว่า ข้าวเราก็เสียแชมป์ ทุเรียนก็เสียแชมป์ให้เวียดนาม และจีนกำลังมา เมื่อมองมาที่กัญชาคือ Soft Power ไทยเพราะว่าคำว่า “บ้อง” เป็นคำที่ใช้กันทั่วโลกและเป็นภาษาไทยเพราะตั้งแต่ปี ค.ศ.1971 ภาษาไทยใช้คำว่าบ้อง เมื่อพูดถึงคำว่าบ้องฝรั่งไม่ว่าจะเป็นยุโรปหรือสหรัฐอเมริการู้จักหมด

ที่จริงแล้วต้องมีกัญชาอยู่ใน Soft Power ด้วยซ้ำ

ข้อเรียกร้องเรื่องกัญชาคือ?

คิตตี้เรียกร้องให้มี พ.ร.บ. เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเซ็นรับ พ.ร.บ.ทั้ง 4 ฉบับบวก 1 จากกระทรวงสาธารณสุขเข้าไปถกกันในรัฐสภา เราจะได้หาทางออกกันในสภา อยากรู้อะไรเรียกท่านทูตหรือคนต่างประเทศที่ได้ผ่านเรื่องนี้แล้วมาอธิบายมาร่างกฎหมายไปด้วยกันทำให้ทุกคนยอมรับกฎหมายได้

กัญชา Soft Power หรือ อคติ By คิตตี้ ช่อผกา

เพื่อฝั่งที่ต้องการและฝั่งที่ไม่ต้องการมาออกกฎหมายร่วมกันยึดจุดร่วมที่โอเคกันทั้ง 2 ฝ่ายเพราะเรื่องของกัญชามีส่วนได้ส่วนเสียเยอะ

เป็นพืชที่มีประโยชน์หลายด้านและหากเราไม่มี พ.ร.บ. เราจะไม่สามารถเติบโตได้ในอุตสาหกรรมนี้เราจะไปต่อในเรื่องของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ เรื่องของจ้างงานก็ไม่ได้ เรื่องของการวิจัยก็ไม่ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related