SHORT CUT
รู้เท่าทันกรณี "บีม ศรัณยู" ประกาศเลิก "กัญชา" ถาวร เพราะกระทบสมอง น้ำลายไหลไม่รู้ตัว พบช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีคนไทยเข้ารับการบำบัดกัญชาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์ไม่น้อย กับกรณีนักแสดงหนุ่ม "บีม ศรัณยู" หรือ "บีม พลังใบ" ได้ประกาศ "เลิกกัญชา" อย่างถาวร เพราะสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อการหลั่งสารเคมีในสมอง ทำให้อารมณ์สวิง น้ำลายไหลไม่รู้ตัว พูดวน จำเรื่องที่พูดไม่ได้ ไปจนถึงไม่มีความสุขในชีวิต
ข่าวดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลากหลายมุม หนึ่งในนั้นมีชาวเน็ตบางส่วนเจออาการเหมือนบีม จนต้องพบแพทย์ทำการรักษา และเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับหนุ่มบีมนั้น ไม่ใช่รายแรกที่ได้รับผลกระทบจาก "กัญชา" เพราะมีข่าวคราวในลักษณะนี้ให้ได้ยินเสมอ
ทั้งนี้หากย้อนไปช่วง 2-3 ปีหลังมีการ "ปลดล็อกกัญชา" นั้น พบสถิติประชาชนชาวไทยเข้ารับการบำบัดกัญชากับทางสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) อยู่เรื่อยๆ
โดย นพ.ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ได้เผยในงานเวทีเสวนา "มุมมองและเสียงสะท้อน ภายหลังกัญชา กระท่อม ออกจากบัญชียาเสพติด" เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 เผยถึงตัวเลขสถิติการเข้ารับการบำบัดกัญชากับ สบยช. ไว้ว่า
สถิติการเข้ารับการบำบัดกัญชา ปี 2565 และ 2566 สูงขึ้น คือ 22,083 ราย และ 41,516 ราย ส่วนปี 2567 เฉพาะเดือนมกราคมนี้ มีจำนวนคนเข้ารับการบำบัดกัญชาถึง 14,545 ราย (ข้อมูล วันที่ 23 ม.ค.67)
ขณะทางด้าน รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยสถิติการใช้กัญชาและกระท่อมของคนไทยอายุ 18-65 ปี เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ตั้งแต่ช่วงปลดล็อกกัญชาและกระท่อม
ข้อมูล : นพ.ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช, รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ จากเวทีเสวนา มุมมองและเสียงสะท้อน ภายหลังกัญชา กระท่อม ออกจากบัญชียาเสพติด
แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมีการปลดล็อกกัญชา (เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565) แล้ว แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจถึงประโยชน์และโทษในการบริโภค เพราะแม้กัญชาจะมีสรรพคุณมากมาย แต่ใช่ว่าใครก็จะสามารถกินได้
เพราะกัญชามีสาร THC จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ มีฤทธิ์ต่อสมอง ทำให้ร่างกายอารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป ผู้เริ่มกินเมนูกัญชาควรเริ่มในปริมาณน้อย แค่ครึ่งใบ-1 ใบต่อวันก่อน
การตอบสนองของร่างกาย เมื่อได้รับกัญชามีความแตกต่างกันแต่ละบุคคล ดังนั้นควรสังเกตอาการตนเองทุกครั้งเมื่อใช้ 1-3 ชั่วโมง โดยให้เน้นใช้เพื่อการแพทย์ในการรักษาโรคเท่านั้น สำหรับอาการผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ง่วงนอนมากกว่าปกติ, ปากแห้ง, คอแห้ง, วิงเวียนศีรษะ และ คลื่นไส้อาเจียน
สำหรับผู้ที่บริโภคกัญชาแล้วมีอาการ "เมากัญชา" มีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีแก้อาการเมากัญชาหรืออาการผิดปกติเล็กน้อยในเบื้องต้น ดังนี้
ข้อมูล : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง