คนเผชิญหน้าช้างป่า ที่อุทยานเขาใหญ่ เกิดขึ้นได้เมื่อต้องอยู่ร่วมกัน ลดความเสี่ยงสร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่กันด้วยการสังเกตอารมณ์และคู่มือปฏิบัติ 9 วิธีเมื่ออยู่ในสถานการณ์ไม่คาดฝัน
จากข่าว รถเบิ้ลเครื่องยั่ว ช้างป่า จนหวิดโดนช้างเหยียบ เพียงเพื่อถ่ายภาพอวดลูกที่บ้าน ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ มาตรา 20 พ.ศ.2562 เป็นเงิน 5,000 บาท แม้ทั้งคนและสัตว์จะไม่มีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ตาม แต่การพฤติกรรมดังกล่าว มีให้เห็นปรากฏให้ข่าวอยู่เป็นประจำทุกปี ซึ่งคนมักมองว่าสัตว์ป่าดุร้าย เข้ามาทำร้ายมนุษย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปิดตำนาน แดงซ่า ช้างประจำเขาสอยดาวล้มแล้ว จากเหตุรั้วไฟฟ้าช็อต
ช่วยเหลือเร่งด่วน แพนด้าในสวนสัตว์เมมฟิสของสหรัฐฯ หลังพบภาวะเครียดรุนแรง
แต่ถ้ามองกันดีๆ พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่มนุษย์เข้าไปใช้งานตัดสร้างเส้นทางภายหลัง จึงสมควรที่จะให้ความเคารพ เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสงบ ปลอดภัย
โดยทาง เฟซบุ๊กเพจของ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้โพตส์ให้คำแนะนำนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าไปยังในอุทยานแห่งชาติ เพื่อย้ำเตือนไม่ให้เกิดความสูญเสียทั้งสองฝ่าย ดังนี้
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้ออกข้อแนะนำเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์เผชิญหน้ากับช้างป่า ไว้ 2 วิธีดังนี้
1.สังเกตอารมณ์ของช้าง
หูจะสะบัดไปมา หางจะแกว่ง และใช้งวงสะบัดไปมา หรือเกี่ยวดึงต้นไม้กิน ไม่ค่อยสนใจเรา ปกติช้างจะวิ่งไล่ผู้รบกวนเป็นระยะทางสั้นๆ เพียง 2-3 ครั้ง หากวิ่งตามผู้รบกวนไม่ทันก็จะเลิกวิ่งไล่ไปเอง และช้างอารมณ์ดีจะไม่ทำร้าย ถึงรถจะวิ่งเข้ามาใกล้ก็ตาม
หูจะตั้งกาง ไม่สะบัดหาง งวงจะนิ่งแข็ง และอยู่นิ่งจ้องมองมาทางเรา เหมือนจะพุ่งเข้าชาร์จ แต่หากช้างโกรธ หรือไม่ไว้ใจสิ่งใด เช่น ช้างแม่ลูกอ่อน อาจตรงเข้าทำร้ายผู้รบกวนได้ถึงแม้จะอยู่ในระยะไกล
2.ข้อควรปฎิบัติ 9 วิธีเมื่อพบช้างป่าในอุทยานแห่งชาติ
โดยถึงแม้ว่าจะเจอช้างป่าเพียงตัวเดียว แต่อาจมีช้างตัวอื่นๆ อยู่ในบริเวณนั้นด้วย เพราะฝูงช้างมักกระจายกันหากินอยู่ในบริเวณป่าข้างๆทางนั้น
ซึ่งวินาทีที่ช้างป่าเข้ามาหามีความเร็วมากประสาทสัมผัสของช้างที่ดีที่สุดคือ หู จมูก และตา ถ้าดับเครื่องยนต์ช้างจะเข้าใกล้เพื่อใช้ประสาทสัมผัสอย่างอื่น นั่นคือการดม ดู และสัมผัส นั่นหมายถึง ช้างเข้ามาหาแล้ว เขาแค่แตะๆ แต่ด้วยกำลังมหาศาล รถก็เสียหายได้
ที่มา