กินเจ 2567 ห้ามกินผักอะไรบ้าง ข้อห้าม เครื่องปรุง ส่วนผสมที่ต้องงดเพื่อให้ถูกต้องตามหลักความเชื่อ และให้การฟื้นฟูร่างกายเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ
อีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของชาวจีน และเป็นที่รู้จักอย่างมากในประเทศไทย เพราะไม่ได้มีเพียงแค่คนไทยเชื้อสายจีนเท่านั้นที่กินเจ แต่ยังรวมไปถึงคนไทยและชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติ เพราะการกินเจได้อะไรมากกว่าที่คิด
"กินเจ 2567" เทศกาลกินเจ 2567 หรือเทศกาลถือศีลกินผัก ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ลากยาวไปจนถึง วันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติ และตรงกับวันที่ 3 - 11 ตุลาคม 2567 ตามปฏิทินสากล
เทศกาลกินเจ ของทุกปีจะมีระยะเวลารวมทั้งหมด 9 วัน แต่ละปีวันกินเจในปฏิทินสากลจะไม่ตรงกัน เพราะยึดตามปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก ก่อนอื่นชวนไปรู้จักคำว่า “เจ” (齋) กันสักหน่อย คำๆ นี้เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลตามบริบททางพระพุทธศาสนานิกายมหายาน หมายถึง “สักการะบูชาด้วยความบริสุทธิ์” ที่จะมีการรักษาศีล 8 ข้อ และไม่บริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นการไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต
โดยหลักการของ "กินเจ" ไม่ใช่เพียงแต่งดบริโภคเนื้อสัตว์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรักษาศีล และการประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ อีกด้วย
ส่วน “ธงเจ” ที่ใช้เป็นธง “สีเหลือง” ก็มีความหมายซ่อนอยู่เช่นกัน คือ “สีแห่งผู้ทรงศีล” เมื่อประกอบกับคำว่า “เจ” ที่เขียนด้วยอักษรสีแดง รวมกันแล้วมีความหมายสื่อถึงการเตือนสติผู้ที่กินเจ ให้งดบริโภคเนื้อสัตว์ ไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต และปฏิบัติตัวอยู่ในศีลในธรรม
3. งดบริโภคอาหารรสจัด เนื่องจากตามวัฒนธรรมการกินของชาวจีน มักจะกินอาหารที่รสไม่จัด เพราะชาวจีนถือว่าอาหารรสจัดไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาหารเผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด เนื่องจากส่งผลเสียต่อกระเพาะอาหารและการทำงานของไต
4. ห้ามใช้ภาชนะร่วมกับผู้ที่ไม่ได้กินเจ อาจจะทำได้ยากสักหน่อย แต่สำหรับคนที่อยาก "ถือศีลกินเจ" ให้บริสุทธิ์จริงๆ ก็ต้องปฏิบัติตามข้อนี้ให้ได้ นั่นคือ ต้องรับประทาน "อาหารเจ" ที่ปรุงจากคนที่ถือศีลกินผักเหมือนกัน หรือไปรับอาหารเจจากศาลเจ้าเท่านั้น
5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ตลอดช่วงเวลา 9 วันนี้ ผู้ที่ "ถือศีลกินเจ" ต้องงดสิ่งมึนเมาต่างๆ ด้วย เช่น งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งเหล้า เบียร์ ไวน์ งดสูบหรือบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของใบยาสูบ ใบกัญชง เป็นต้น
6. ห้ามใช้น้ำหอม ห้ามแต่งหน้า ห้ามประทินผิวด้วยเครื่องหอมต่างๆ ห้ามแต่งหน้า และห้ามใช้น้ำหอม เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นการปรุงแต่งทางกาย และส่งผลให้จิตปรุงแต่งตามไปด้วย ทำให้ศีลไม่บริสุทธิ์
7. ชำระร่างกายให้สะอาด ก่อนเข้าศาลเจ้า ผู้คนที่เคร่งการถือศีลกินเจมักจะเข้าร่วมพิธีกรรมไหว้เจ้าตามศาลเจ้าต่างๆ ในชุมชนด้วย ดังนั้นก่อนถึงวันกินเจวันแรก ผู้คนจะรวมตัวกันไปทำความสะอาดศาลเจ้าใกล้บ้าน และเมื่อถึงเทศกาลกินเจก็จะไปร่วมพิธีกรรมต่างๆ ในศาลเจ้า และต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อนเข้าร่วมพิธีในศาลเจ้าเสมอ
8. ผู้ไว้ทุกข์ ห้ามเข้าร่วมพิธีกรรมช่วงกินเจ บุคคลที่อยู่ระหว่างการไว้ทุกข์ ห้ามเข้าร่วมพิธีกรรมช่วงเทศการกินเจโดยเด็ดขาด ส่วนบุคคลที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์กำลังจะคลอดบุตร และบุคคลที่มีประจำเดือน สามารถเข้าร่วมประเพณีถือศีลกินผักได้ แต่ห้ามเข้าพระเข้าทรง (ม้าทรง) และห้ามร่วมพิธีกรรมในศาลเจ้า
9. ถือศีลและประพฤติชอบทั้งกาย วาจา และใจ ผู้ที่ถือศีลกินเจต้องประพฤติชอบทั้งกาย วาจา และใจ แสดงออกทางความคิด การพูด และทำในสิ่งที่ดี เช่น ช่วยเหลือผู้อื่น บริจาคทาน เข้าโรงเจไหว้เจ้า เป็นต้น และห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตแม้จะเป็นสัตว์เล็กๆ เช่น ยุง มด แมลง ฯลฯ
10. ห้ามร่วมรักในช่วงถือศีลกินผัก ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่ถือศีลกินเจ (ในประเพณีดั้งเดิมพบว่าคนที่เป็นคู่สามีภรรยาจะมีการแยกห้องนอนในระหว่างเทศกาลถือศีลกินเจด้วย)
“เทศกาลกินเจ” มีอีกชื่อหนึ่งว่าประเพณีถือศีลกินผัก และยังนิยมนุ่งขาวห่มขาว เพื่อชำระล้างร่างกายและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ จนเกิดเป็นธรรมเนียมที่เกิดขึ้นทุกปี แต่ก่อนที่จะเริ่มกินเจ ก็จะมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ หนึ่งในนั้นคือ “การล้างท้อง”
สาเหตุที่ต้องล้างท้องก่อนเริ่มกินเจในวันแรก ก็เพื่อให้ร่างกายชำระล้างเนื้อสัตว์และอาหารคาวต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ในร่างกายออกไปให้หมด ให้ร่างกายค่อยๆ ปรับสภาพ รับอาหารแบบใหม่ที่ไม่มีเนื้อสัตว์ ร่างกายจะได้คุ้นชินและย่อยอาหารได้ดี
อีกทั้งในทางความเชื่อทางศาสนาพุทธนิกายมหายาน เชื่อว่าการล้างท้องเป็นการเตรียมร่างกายให้บริสุทธิ์ผ่องใสท้องภายในและภายนอก ให้พร้อมสู่การเริ่มต้น "ถือศีลกินผัก" ตามประเพณีอย่างถูกต้อง โดยส่วนใหญ่จะเริ่มล้างท้องกันก่อนช่วงกินเจประมาณ 1-2 วัน
เปิดข้อมูลจาก กรมอนามัย ระบุว่าวิธีที่ถูกต้องจริงๆ ควร "ล้างท้อง" ก่อนกินเจ อย่างน้อย 2 วัน และต้องค่อยๆ ปรับอาหารไปทุกๆ มื้อ ไม่ควรเปลี่ยนอาหารแบบทันทีทันใด
การกินเจให้ประโยชน์หลายอย่างแก่ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่
ที่มา : สสส. , กระทรวงสาธารณสุข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง