SHORT CUT
การเลือกตั้งอังกฤษที่เกิดขึ้น พรรคแรงงาน (Labour) สามารถคว้าชัยชนะเหนือพรรคอนุรักษนิยม (Conservative) เพราะพรรคอนุรักษนิยมครองอำนาจมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตนายกรัฐมนตรี เดวิด แคเมอรอน ถึง ริชี ซูแน็ก ครองอำนาจยาวนานกว่า 14 ปี
เพราะการเมืองภายในพรรคอนุรักษนิยมเป็นเหตุสังเกตได้ ทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรค เกิดการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีจากพรรคอนุรักษนิยมหลายคนในเวลาไม่กี่ปี
ประกอบกับพรรคอนุรักษนิยมไม่สามารถดำเนินนโยบายตอบสนองด้านเศรษฐกิจ สวัสดิการ รวมถึงแก้ปัญหาสังคมให้กับประชาชนได้ หลายๆ คนจึงวิเคราะห์ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคอนุรักษนิยมต้องพ่ายแพ้แก่พรรคแรงงานแน่นอน
พรรคแรงงานชนะการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการส่งหัวหน้าพรรคขึ้นสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีได้หลังจากที่พรรคแรงงานห่างหายจากการบริหารประเทศมาเป็นเวลา 10 กว่าปีโดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคแรงงานคนสุดท้ายคือ กอร์ดอน บราวน์
ในครั้งนี้ส่ง เคียร์ สตาร์เมอร์ ขึ้นสู่นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับเขากันดีกว่าว่ามีประวัติน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน
ชื่อเต็มๆ ของเขาคือ เซอร์ เคียร์ รอดนีย์ สตาร์เมอร์ เป็นนักการเมืองสหราชอาณาจักรและอดีตทนายความซึ่งในปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานและผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภาตั้งแต่ ค.ศ. 2020 เขาเป็นสมาชิกรัฐสภาจากเขตฮอลบอร์นและเซนต์แพนคราสตั้งแต่ปี ค.ศ.2015 โดยเขามีแนวคิดสังคมนิยมและถูกจัดอยู่ในกลุ่มฝ่ายซ้ายอ่อนๆ ในพรรคแรงงาน
สตาร์เมอร์เกิดที่กรุงลอนดอน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของรัฐที่โรงเรียนรีเกตแกรมมาสคูลซึ่งต่อมาในระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้นได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนเอกชนแทน เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลีดส์เมื่อปี ค.ศ. 1985 ต่อมาได้จบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ที่เซนต์ เอ็ดมันด์ ฮอลล์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในปีค.ศ. 1986
ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาทางเนติบัณฑิตแล้ว สตาร์เมอร์ได้เริ่มทำงานเป็นทนายความเฉพาะทางด้านจำเลยคดีอาญาซึ่งเน้นคดีความด้านสิทธิมนุษยชน โดยได้เข้าเป็นสมาชิกประจำสำนักงานเนติบัณฑิตโดท์ตีสตรีทก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็น"ที่ปรึกษากฎหมายในพระราชินีฯ" (Queen's Counsel ย่อ "QC") ในปี ค.ศ. 2002 ในปีค.ศ. 2008 สตาร์เมอร์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักอัยการ (DPP) จนถึงปีค.ศ. 2013 โดยภายหลังจากเสร็จสิ้นวาระการทำงานในสำนักอัยการแล้วเขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์บาร์ธชั้นอัศวิน (Knight Commander หรือ "KCB") ในปีค.ศ. 2014
เรียกได้ว่าเป็นคนพรรคแรงงานที่ทำงานใกล้ชิดกับราชวงศ์อังกฤษเลยทีเดียว
สตาร์เมอร์ชนะการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสามัญชนตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 โดยในเหตุการณ์เบร็กซิต เขาได้เสนอให้มีการทำประชามติครั้งที่สองในเรื่องนี้โดยเขาได้ลงความเห็นว่าจะตัดสินใจเลือกลงคะแนนเพื่อที่จะคงอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป แน่นอนว่ามีนโยบายตรงข้ามกับพรรคอนุรักษนิยมในเรื่องนี
แต่ถ้าลองดูรายละเอียดนโยบายที่พรรคแรงงานใช้หาเสียงในรอบนี้ จะพบจะเน้นไปในเรื่องเศรษฐกิจเพราะเล็งเห็นว่าเป็นนโยบายที่โดนใจในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุดในปัจจุบัน ต่างจากการเลือกตั้งปี 2019 ที่เป็นเรื่องของ Brexit อย่างสิ้นเชิง
เราสามารถดูนโยบายของพรรคแรงงานทั้งหมด 8 ข้อ ที่เพจ The 1o1 World รวบรวมมาให้จะสามารถวิเคราะห์แนวทางการบริหารประเทศของพรรคแรงงานได้ ซึ่งแบ่งออกเป็นเรื่องพื้นฐาน (Foundations) 3 ข้อ และเชิงประเด็น (Mission-Based) อีก 5 ข้อ
นโยบายพื้นฐาน 3 ข้อ ประกอบด้วย
นั่นย่อมหมายความว่าพรรคแรงงานมีแนวโน้มสนับสนุนยูเครนในการต่อต้านรัสเซียต่อไป
นั่นย่อมหมายความว่าพรรคแรงงานมองเห็นปัญหาผู้อพยพเช่นเดียวกับชาติยุโรปอื่นๆ โดยมุ่งจำกัดจำนวนผู้อพยพเข้ามาในประเทศ
ซึ่งในเรื่องนี้ต้องดูกันต่อไป เพราะความเป็นจริงแล้วปัญหาเศรษฐกิจมีผลจากปัจจัยอื่นๆ ทั่วโลก ต้องดูกันว่าพรรคแรงงานจะหาส่วนไหนมาเติมเรื่องงบประมาณที่ขาดดุล
นโยบายเชิงประเด็น 5 ข้อ ประกอบด้วย
นโยบายสองข้อแรกเป็นเรื่องเศรษฐกิจและพลังงาน ในขณะที่สามข้อหลังเป็นเรื่องทางสังคม สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าพรรคแรงงานชูเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องหลัก ผิดจากในอดีตที่มักชูนโยบายด้านสวัสดิการเป็นเรื่องหลักก่อน และมีแนวโน้มที่จะนำนโยบายรัฐเป็นผู้นำการพัฒนาเศรษฐกิจอีกด้วย
การเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษครั้งนี้คือพรรคแรงงานมาครองเสียงข้างมากในรัฐสภาของอังกฤษ ส่งผลให้เคียร์ สตาร์เมอร์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เราจะได้เห็นการทำงานของพรรคแรงงานอังกฤษอีกครั้งหลังจากที่ห่างหายจากการบริหารประเทศเกือบ 14 ปี