svasdssvasds

ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส

ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาพ้นจากการปกครองของสยามเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส เกิดความแตกแยกและประชาชนกลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ในประเทศของตัวเอง

SHORT CUT

  • ปลายรัชกาลที่ 4 ช่วงรอยต่อถึงรัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนเป็นจำนวนมากให้กับเจ้าอาณานิคม
  • เช่นการเสียดินแดน มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับอังกฤษ และกัมพูชาให้กับฝรั่งเศส
  • กระนั้นดินแดนกัมพูชาเป็นดินแดนที่เจ็บปวดที่สุด เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาปกครองประชาชนกลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ในประเทศตนเอง

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาพ้นจากการปกครองของสยามเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส เกิดความแตกแยกและประชาชนกลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ในประเทศของตัวเอง

วันนี้ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2411 (ค.ศ.1938) หรือเมื่อ 156 ปีที่แล้ว ประเทศสยามตรงกับช่วงรอยต่อของรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเ้จาอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กำลังเผชิญกับยุคล่าอาณานิคม

ณ ช่วงเวลานี้เอง คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนไทย-พม่า ได้ทำสนธิสัญญาให้ดินแดนเมืองมะริด เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี ขึ้นบังคับกับอังกฤษ ที่กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่นั้นมาไทยต้องเสียดินแดนดังกล่าวไปโดยไม่อาจหวนคืนกลับมา

ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส

ขณะเดียวกันทางด้านตะวันออกของสยามกัมพูชาตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร กษัตริย์แห่งกัมพูชา ซึ่งเคยเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ได้หลุดพ้นจากอำนาจของสยามและกลายเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในที่สุด

สะท้อนภาพให้เห็นว่าในยุคนั้นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังสภาวะเสียดินแดน หรือเสียอำนาจการปกครองให้กับชาติตะวันตกที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่ามาก ไม่ว่าจะเป็นเรือรบ ตลอดจนปืนใหญ่

ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส

แต่กระนั้นเมื่อมองการเสียดินแดนของสยามหรือไทยแล้วนั้นอาจเรียกว่าเจ็บน้อยกว่ากัมพูชามากนัก เพราะหากมองลึกลงไป ไทยเสียดินแดน เช่นมะริด ทวาย ตะนาวศรี ที่เป็นดินแดนส่วนนอก และเป็นดินแดนที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจตลอดเวลา

ก่อนที่สยามจะเสียดิแดนให้กับอังกฤษนั้น ย้อนกลับมามองที่คาบสมุทรอินโดจีน ในปี 2406 ายามเองก็เสียดินแดนที่ ณ ปัจจุบันส่วนหนึ่งเป็นดินแดนในกัมพูชาให้กับฝรั่งเศส

และในอนาคตดินแดนแห่งนี้เกิดความแตกแยก ประชากรกลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ในประเทศของตนเอง

 

เหตุการณ์ไทยเสีย มะริด ทวาย ตะนาวศรี

ต้องบอกก่อนว่า หัวเมืองชายฝั่งอันดามันอย่าง มะริด ทวาย ตะนาวศรี นี้เป็นภูมิศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการค้า เพราะมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน และสามารถเชื่อมต่อเส้นทางการค้าทางบกเข้าสู่เมืองหลวงของไทย อย่างอยุธยา หรือกรุงเทพมหานครได้

พบหลักฐานว่าหากต้องการเชื่อมต่อการค้าสู่ดินแดนตะวันตกต้องใช้เส้นทางนี้ลำเลียงสินค้าไม่ว่าจะเป็น ช้าง ของป่า ตลอดจนเครื่องเทศ ผ่านทั้ง 3 เมืองไปค้าขายกับอินเดีย ตะวันออกกลาง อิหร่านตลอดจนชาติตะวันตก โดยมีพระยาจุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าซ้ายเป็นผู้ดูแลกิจการ

แต่กระนั้นด้วยยุทธศาสตร์สำคัญทางการค้า ทำให้ไทยต้องคอยแย่งชิงพื้นที่นี้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่ามาตลอดเวลา

ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส

แต่กระนั้นเมื่อชาติตะวันตกย่างกรายเข้ามาอย่างแข็งขันเพื่อช่วงชิงดินแดนและทรัพยากร ทำให้พม่าต้องเสียดินแดนให้กับอังกฤษและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษและกลายเป็นมณฑลหนึ่งของบริติชอินเดีย นำไปสู่การสิ้นสุดของราชวงศ์คองบอง

ขณะที่ดินแดน มะริด ทวาย ตะนาวศรี เป็นดินแดนแหลมทองคำตลอดเวลา เพราะเป็นยุทธศาสตร์ทางการค้าเชื่อมดินแดนภายในแผ่นดินและดินแดนที่ไกลออกไป อังกฤษเองเล็งเห็นส่วนนี้เช่นเดียวกันขอแกมขู่ดินแดนดังกล่าวจากสยาม ทำให้สยามต้องยอมยกมะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับอังกฤษ

หากย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2406 หรือก่อนหน้าเหตุการณ์ที่ไทยเสียดินแดน มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับอังกฤษนั้น ในคาบสมุทรอินโดจีน สยามต้องเผชิญการเสียดินแดนฝั่งตะวันออก พื้นที่บางส่วนที่ปัจจุบันคือกัมพูชาให้กับประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย

กัมพูชาเสียดินแดน เจ็บตัว เป็นพลเมืองชั้น 2 ในประเทศของตัวเอง

ขณะที่กัมพูชาอดีตประเทศราชของไทยทางด้านตะวันออก นับตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมาหลุดพ้นจากอำนาจจากสยามก็จริง ตามสนธิสัญญาอารักขาระหว่างฝรั่งเศส-กัมพูชาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 ในสมัยพระนโรดม โดยสยามพยายามคัดค้านแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ในช่วงแรก ฝรั่งเศสปกครองกัมพูชาโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการภายในมากนัก และช่วยค้ำจุนราชบัลลังก์ของกัมพูชา โดยช่วยปราบกบฏต่าง ๆ

ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส

จน พ.ศ. 2426 - 2427 หลังจากยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด โดยพยายามลิดรอนอำนาจของกษัตริย์และยกเลิกระบบไพร่ทาส ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนอย่างรุนแรง จนต้องเจรจากับพระนโรดม กษัตริย์ในขณะนั้น ให้ประกาศสันติภาพ และระงับการแทรกแซงกัมพูชา จนกระทั่งพระนโรดมสวรรคต ฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้พระสีสุวัตถ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งมอบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ฝรั่งเศส

ในเวลาต่อมาเมื่อฝรั่งเศสปกครองกัมพูชาอย่างเบ็ดเสร็จแทนที่จะใช้ข้าราชการที่เป็นคนพื้นถิ่นกัมพูชากลับนำข้าราชการชาวเวียดนามเข้ามาในกัมพูชาแทน พัฒนาพื้นที่ในเวียดนามมากกว่าพื้นที่ในกัมพูชา และให้การศึกษาชาวเวียดนามมากกว่าคนกัมพูชาอีกด้วย

เรียกได้ว่า ณ ขณะนั้นฝรั่งเศสมีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือกัมพูชา และทำให้คนกัมพูชากลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ภายในประเทศของตนเอง โดยไม่มีปากเสียงในบ้านของตัวเองอีกด้วย

การตั้งคำถามกับคำว่าอาณานิคมทางอ้อม

ในทางกลับกัน หลายคนบอกว่าการเมืองโลกปัจจุบันเป็นโลกเสรี ประเทศอาณานิคมหลายๆ ประเทศได้รับเอกราช มีรัฐประชาชาติเป็นของตนเอง รวมถึงกัมพูชา พม่าและเวียดนามด้วย

ตามหลักการของการเป็นประเทศ ต้องประกอบด้วยการมีประชากร ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ประชากร ดินแดน รัฐบาล อาจเป็นสิ่งที่เราสามารถจับต้องได้และเห็นเป็นที่ประจักษ์

ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส

แต่กระนั้นเมื่อมองไปในเรื่องของอธิปไตย ก็อาจพูดได้ไม่เต็มปากนักในสภาวะที่โลกมีการเลือกข้าง มีการแข่งขันในแง่อุดมการณ์ทางการเมือง ตลอดจนเศรษฐกิจ

อำนาจอธิปไตย นั้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คืออำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึง การที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเองและมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการใดๆ ในประเทศ อย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระ มีเอกราชสามารถจะดำเนินความสัมพันธ์กับ

ปัญหาคือ ประเทศต่างๆ สามารถพูดเต็มปากได้หรือไม่ว่ามีอธิปไตยเป็นของตนเอง ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือช่วงสงครามเย็น ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ตลอดจนประเทศไทย ล้วนอยู่ใต้อำนาจพี่ใหญ่โลกประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา ดำเนินนโยบายโน้มเอียงไปทางสหรัฐอเมริกา เช่นให้มีการตั้งฐานทัพ ตลอดจนสนับสนุนยุทธปัจจัยในการทำสงครามของสหรัฐอเมริกา

ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส

ในยุคปัจจุบันเอง อำนาจทางเศรษฐกิจเป็นผลทำให้ประเทศต่างๆ โน้มเอียงไปตามประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ กัมพูชา ลาว รวมถึงหลายๆ ประเทศแถบทวีปแอฟริกา ที่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้จากจีน ทำให้มีนโยบายภายที่เอื้อต่อจีนเช่นการให้เช่าท่าเรือ การให้สัมปทานระบบขนส่ง ตลอดจนมีนโยบายต่างประเทศที่โน้มเอียงเข้าข้างประเทศจีนในระดับเวทีโลกด้วย ที่เห็นได้ชัดคือหลายๆ ประเทศที่พึ่งพาแหล่งเงินจากจีน เริ่มตัดขาดความสัมพันธ์กับไต้หวัน

นี่จึงเป็นคำถามว่าในยุคปัจจุบันประเทศต่างๆ ไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้น ไม่ได้เป็นอาณานิคม ทางตรงก็จริงแต่กระนั้นเริ่มตกเป็นเมืองขึ้นทางอ้อมแล้วหรือไม่ เพราะหากพูดเรื่องอำนาจอธิปไตยหลายๆ ประเทศก็ไม่ได้ทำอะไรตามใจชอบแต่กลับโน้มเอียงไปตามประเทศที่มีอิทธิพลมากกว่า

ไทยเสียดินแดนให้อังกฤษ กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส

สุดท้ายแล้วประเทศที่พูดว่าตนเองนั้นมีเอกราชมาโดยตลอด แต่ในทางกลับกันเรามีอำนาจอธิปไตยอยู่หรือเปล่า และไม่ถูกแทรกแซงจากภายนอกจริงๆ หรือไม่

อ้างอิง

Britannica  / SilapaMag / SilpaMag1 /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related