SHORT CUT
เลือกตั้งฝรั่งเศสสำคัญอย่างไร และเหตุใดจึงให้ความสำคัญกับเรื่องการคานอำนาจ ขนาดที่กระแสขวาทั่วยุโรปมาแรงแล้วฝรั่งเศสจะผ่านมรสุมการเมืองนี้ไปอย่างไร
วันที่ 30 มิถุนายน ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม เป็นการเลือกตั้งฝรั่งเศสที่ทั่วโลกกำลังจับตา เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ย่อมมีผลต่อสหภาพยุโรป ต่อสงครามยูเครน และโลกอย่างแน่นอน
เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติฝรั่งเศสมีการช่วงชิงเก้าอี้รวม 577 ที่นั่ง และโดยปกติแล้วจะจัดขึ้น 2 รอบ
สาเหตุของการยุบสภาเกิดจากที่กระแสฝ่ายขวาจัดยุโรปมาแรง โดย เอ็มมานูเอล มาครง ให้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมาว่า เกี่ยวข้องกับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรป ผลคะแนนที่ออกมา “ไม่ดีตามที่คาดการณ์ไว้ สำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายต้องปกป้องยุโรป” และเตือนว่า อนาคตของยุโรป “เสี่ยงที่จะถูกปิดกั้น” จากการที่เอ็กซิตโพลของการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรปในหลายประเทศ เป็นไปในทางเดียวกัน นั่นคือ พรรคการเมืองขวาจัดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ซึ่ง 2 ปีที่แล้วที่มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี มาครง ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฝรั่งเศส ชนะการเลือกตั้งโดยมีชัยเหนือ มารีน เลเปน คู่แข่ง ส่งผลให้นายมาครงได้ครองตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ถือเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ชนะเลือกตั้งได้ดำรงตำแหน่งต่อ นับตั้งแต่ที่ ฌัก ชีรัก ทำได้ในปี 2002ผลการนับคะแนนพบว่า มาครง ชนะ เลอเปน ด้วยคะแนนเสียง 58.55% ต่อ 41.45%
ปฏิเสธไม่ได้ว่าขณะนี้กระแสฝ่ายขวาในยุโรปกำลังมาแรง เพราะเกิดจากเหตุการณ์รับผู้อพยพมาเป็นจำนวนมาก ภาษีที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสังคมยุโรปเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้นทำให้มีแนวคิดยืดอายุเกษียณของคนในชาติเพื่อจะได้มีคนที่สามารถทำงานได้ต่อไป
แต่ในทางตรงกันข้ามมีเสียงเรียกร้องจากประชาชนว่าพวกเขาต้องการใช้สวัสดิการจากที่พวกเขาต้องยอมจ่ายภาษีเป็นจำนวนมาก และพวกเขาต้องการเกษียณเพื่อใช้ภาษีที่เขาจ่ายให้กับรัฐไม่ใช่ต้องทำงานมากขึ้น
เลือกตั้งรัฐสภายุโรปที่ผ่านมากินเวลาตลอด 4 ส่งสัญญาณว่าฝ่ายขวากำลังครองยุโรป โดยภาพรวมพบว่าคะแนนเสียงส่วนใหญ่ตกอยู่ที่พรรคที่มีอุดมการณ์ขวากลางพวกเขารักษาเสียงข้างมากในรัฐสภายุโรปไว้ได้ อันเนื่องมาจากชัยชนะในเยอรมนี กรีซ โปแลนด์ และสเปน รวมถึงคะแนนโหวตที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในฮังการี
ขณะเดียวกัน พรรคขวาจัดในยุโรปอาจได้เก้าอี้เพิ่มขึ้น หลังจากพรรคเสรีภาพออสเตรีย (Austria's Freedom Party) ได้ชัยชนะมาอย่างหวุดหวิดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่วนพรรคชุมนุมแห่งชาติ (National Rally) ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดของฝรั่งเศส เป็นพรรคที่ประสบความสำเร็จในการเลือกครั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปมากที่สุด
พรรคชุมนุมแห่งชาตินำโดย มารีน เลอ เปน และ จอร์แดน บาร์เดลลา ชนะด้วยคะแนนเสียงมากกว่า 31% ถือว่ามากกว่าคะแนนที่พรรคเรเนซองส์ของ มาครง ซึ่งเป็นพรรคสายกลางที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองค่อนไปทางเสรีนิยม เกือบ 2 เท่า เรียกได้ว่าการเลือกตั้งรัฐสภาสหภาพยุโรปเล่นเอาเอ็มมานูเอล มาครง หวั่นใจเลยทีเดียว
ต้องบอกก่อนว่าการเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศสครั้งนี้สำคัญอย่างมาก เพราะอาจส่งผลต่อนโยบายภายในและภายนอกประเทศของฝรั่งเศสเลยทีเดียว
นโยบายภายในประเทศที่ต้องเปลี่ยนแปลง หากพรรคเสรีนิยมของ มาครง พ่ายแพ้การเลือกตั้งย่อมส่งผลต่อนโยบายการรับผู้อพยพ อย่างแน่นอน
และที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าฝรั่งเศสเองก่อนที่ มาครง จะก้าวเข้าสู่ตำแแหน่ง ฟร็องซัว เฌราร์ ฌอร์ฌ นีกอลา ออล็องด์ เป็นประธานาธิบดีที่มาจากพรรคฝ่ายซ้าย จนต่อเนื่องมาถึงตัว มาครง ผู้ซึ่งเป็นเสรีนิยมสายกลาง
นั่นย่อมหมายความว่าฝรั่งเศสก่อนยุคยุโรปเอียงขวา ค่อนข้างชอบนโยบายของฝ่ายซ้าย รวมถึงค่อนไปทางเสรีนิยมมากกว่า
แต่มาครงอาจตกม้าตายได้โดย ผศ.ดร.ณัฐพร ไทยจงรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายว่าจริงๆ แล้ว มาครง ชอบเคลมว่า ตัวเองไม่ได้ซ้ายจ๋ามาก ๆ แค่บอกว่า จริง ๆ มีความเป็นลิเบอรัลที่เอียงซ้ายนิด ๆ (การเมืองในฝรั่งเศสมันชัดเจนว่า มีหลายเฉดมาก ไม่อาจระบุได้ว่า ซ้าย ขวา กลางที่ชัดเจนได้ ยกเว้นพรรคของนางเลอเปนที่ยืนหยัดมาตลอดว่า เป็นขวาจัด)
ในขณะที่นโยบายฝ่ายขวาของฝรั่งเศสชัดเจนมาก ตั้งแต่ ฌอง มารี เลอเปน จนสู่ลูก มารีน เลอเปน สนับสนุนชาตินิยมทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ ต่อต้านโลกาภิวัตน์และพหุวัฒนธรรม ใช้นโยบายการจำกัดผู้อพยพ
ครั้งนี้ฝ่ายขวามีโอกาสมากที่สุดที่จะได้เป็นประธานาธิบดี โดยเฉพาะตัวหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การผ่านกฎหมายเรื่องผู้อพยพ ซึ่งมีการพูดถึงเรื่องสิทธิพลเมืองด้วย
ผศ.ดร.ณัฐพร อธิบายว่า หากฝ่ายขวาขึ้นมามีอำนาจอาจทำให้การเป็นพลเมืองของฝรั่งเศสยากขึ้นสำหรับผู้อพยพ หลายคนบอกว่า มันเริ่มเห็นว่า ฝ่ายขวากุมอำนาจแล้ว
มาครง ได้รับเสียงสนับสนุนในการเป็นประธานาธิบดีจากพรรคหัวกลาง แต่ตอนนี้พรรคพวกนี้ก็ไม่แฮปปี้ นโยบายหลายอย่างที่ มาครง ทำมันไม่ได้โชว์ความซ้าย
ผศ.ดร.ณัฐพร มองว่านโยบายของ มาครง ทำให้เป็นเสรีมากขึ้น ซึ่งเดือดร้อนกับชีวิตของคนฝรั่งเศส เช่น การเพิ่มภาษี การขยายอายุคนเกษียณ ไปวุ่นวายกับกองทุนเงินเกษียณ การเก็บภาษีพวกพลังงานเพิ่ม
โดยอ้างว่า จะทำให้เป็นกรีน ตัว มาครง เองไม่เคยมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน บวกกับอัตราคนตกงานเยอะ มันเลยทำให้คนเบื่อหน่ายพอสมควร
เมื่อมองผ่านมุมมองประวัติศาสตร์จะเห็นเสมอว่า เวลาที่ประเทศมันแย่ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจ คนมักจะหันไปหาเผด็จการหรือชาตินิยม เพื่อแก้ไขเรื่องปากท้องของตัวเองก่อน
สถานการณ์ของมาครงในการเลือกตั้งหนนี้อาการหนักแน่นอน
ยิ่งกว่านั้นถ้าพรรคฝ่ายขวาในฝรั่งเศสชนะเลือกตั้งคือ ส่งผลกระทบต่ออียูแน่นอน มาครง ให้คุณค่าต่อความเป็นอยู่ มาครง เชื่อในเรื่องเสรีนิยมและคิดว่า อียูตอบสนองได้ มาครง เป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของฝรั่งเศสในอียู ตอบสนองต่อ Eurovision มาก ๆ ถ้าฝ่ายขวาได้ชนะ อียูน่าจะไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีเท่าไหร่จากฝรั่งเศส
ด้าน ดร.จิราพร ร่วมพงษ์พัฒนะ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรัสเซียศึกษา ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มองว่าหากฝ่ายขวาชนะการเลือกตั้งฝนรัสเซียคิดว่าไม่มีผลมาก เพราะท้ายสุดฝรั่งเศสจะอยู่ในกรอบตามผลประโยชน์ของอียู
อียูมีนโยบายหลักชัดเจนคือคว่ำบาตรรัสเซียต่อเนื่องและมากขึ้นตามสหรัฐฯ การมีขวาจัดเป็นแกนนำอาจมีผลต่อการเมืองภายในฝรั่งเศสมากกว่า
ทั้งนี้ทั้งนี้ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสเคยมีช่วงเวลาที่เรียกว่า “การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ” (Cohabitation) ซึ่งหมายถึงกรณีที่ประธานาธิบดีไม่ได้มาจากพรรคที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาอยู่ 3 ช่วง โดยช่วงเวลาดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายในช่วงปี 1997-2002 ที่ประธานาธิบดี ฌากส์ ชีรัก มีเสียง สส.น้อยกว่า และมีอำนาจรองจากนายกรัฐมนตรี ลียอแนล ฌ็อสแป็ง ในกรณีแบบนี้นายกรัฐมนตรีของพรรคเสียงข้างมากจะกลายเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดในประเทศ ส่วนประธานาธิบดีจะมีอำนาจตัดสินใจด้านกลาโหมและการต่างประเทศ
ซึ่งหากวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวอาจคาดการณ์ได้ว่านโยบายภายในประเทศของฝรั่งเศสย่อมมีการผันแปรอย่างแน่นอน แต่ระดับนโยบายระหว่างประเทศต้องดูในระดับใหญ่คือสหภาพยุโรปว่าจะมีการเปลี่ยนนโยบายมาน้อยแค่ไหน เพราะหากฝ่ายขวาไม่ได้มีอำนาจเต็มในรัฐสภายุโรปนั่นย่อมหมายความว่าฝรั่งเศสยังโอนอ่อนไปในทางช่วยเหลือยูเครน
เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ทางออกที่พอเป็นไปได้สำหรับ มาครง คือต้องใช้ความพยายามในการดึงพรรคพันธมิตรต่อต้านพรรคฝ่ายขวา มารวมกันตั้งรัฐบาล รวมไปถึงการที่เขาอาจจะเสนอตำแหน่งและเก้าอี้ในฝ่ายบริหารให้พรรคฝ่ายซ้ายจัด พรรคสังคมนิยม และพรรคกรีน เพื่อให้เข้ามารวมกันเป็นกลุ่มเสียงข้างมากอันดับ 2 ในสภา รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่จะตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย
อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลเสียงข้างน้อยไม่มีประสิทธิภาพ ฝรั่งเศสอาจเสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาออกกฎหมายยากขึ้น อาจจะมีกฎหมายที่ผ่านสภาไปได้ในจำนวนน้อยหรืออาจจะไม่มีเลย รวมไปถึงรัฐบาลจะบริหารประเทศได้ยากขึ้น
ความเป็นไปได้ที่มาครงจะลาออกนั้นมีอยู่ในฐานะทางเลือกของตัวประธานาธิบดีเอง แต่สภาไม่สามารถบังคับหรือบีบให้เขาลาออกได้
หากสถานการณ์ดำเนินไปจบลงที่สภาแขวน หรือการมีรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภา รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสได้ระบุว่าจะไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาใหม่ภายในอีก 1 ปี ดังนั้นการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งทันทีจึงไม่ใช่ทางเลือกที่เป็นไปได้ จึงทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า ภายใต้สมการเช่นนี้การเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมจึงมีความเป็นไปได้สูงมาก
ยามมีวิกฤตการเมืองหรือเกิดความสับสนวุ่นวายทางการเมือง ระบบการคานอำนาจที่ฝรั่งเศสวางไว้จึงสำคัญมาก
เพราะฝรั่งเศสใช้ระบบการปกครองแบบ สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดีจึงต้องมีกระบวนการคานอำนาจประธานาธิบดี รวมถึงฝ่ายบริหารที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส
องค์กรหลัก ในระบบการคานอำนาจมี 3 ฝ่าย ดังนี้:
เราจะเห็นได้ในบางโอกาสที่ นายกรัฐมนตรีจะมาจากพรรคที่ไม่ใช่พรรคเดียวกันกับประธานาธิบดี เห็นได้จาก กาบรีแยล อาตาล เขาเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยม ซึ่งเป็นพรรคที่อุดมการณ์ค่อนข้างเอียงไปทางซ้าย ไม่ใช่พรรคเดียวกันกับที่ มาครง สังกัด
และ ผศ.ดร.ณัฐพร ให้ข้อมูลว่า นายกรัฐมนตรีเองที่ส่วนใหญ่ต้องคล้อยตามประธานาธิบดี แต่เราจะเห็นว่าตัวกฎหมายที่ออกมาบางที เห็นคนละทิศทางกับประธานาธิบดีก็มีไม่น้อยเช่นเดียวกัน
ทำให้เราเห็นว่ามีการคานอำนาจในการเมืองของฝรั่งเศสจริง และผลในหลายๆ ครั้งก็สามารถสร้างเสถียรภาพให้กับการเมืองฝรั่งเศสได้ ถึงแม้จะมีความรุนแรงและความเห็นต่างทางการเมืองมากขึ้น แต่ที่จริงแล้วกระบวนการนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ก็จะคอยคานอำนาจกันเสมอๆ ทำให้ประชาชนยังมีความหวังกับสามเสาหลักทางการเมืองดังกล่าว
กระนั้นหากพรรคฝ่ายขวาขึ้นมามีบทบาทจริงๆ ก็ยังมีฝ่ายนิติบัญญัติ ตุลาการ ที่คอยคานอำนาจอยู่ นโยบายหลายประการของฝ่ายขวาอาจจะไปได้สุดไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับว่านายกรัฐมนตรีและเสียงในรัฐสภาจะเอียงไปฝ่ายไหนมากกว่ากันนั่นเอง
อ้างอิง
กรุงเทพธุรกิจ / BBC1 / BBC2 / ผศ.ดร.ณัฐพร ไทยจงรักษ์ / ดร.จิราพร ร่วมพงษ์พัฒนะ /
ข่าวที่เกี่ยวข้อง