SHORT CUT
เช็ก 5 นิสัยการทำงาน ที่มีภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น เมื่อไหร่ที่เริ่มรู้สึกว่า มีวันที่ยากลำบาก มากกว่าวันที่ปกติ ต้องรีบหาทางจัดการด่วน!
สำหรับบางคนอาการซึมเศร้า และความผิดปกติทางอารมณ์อื่นๆ อาจมองเห็นได้จากภายนอก แต่สำหรับใครอีกหลายคนอาจสังเกตได้ยากกว่าที่คิด และนี่คือ 5 สัญญาณภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้นในที่ทำงาน ที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งมีดังนี้
1.ทำงานหนักมากขึ้น ไม่ยอมกลับบ้าน
พนักงานแต่ละคนมีการแสดงภาวะซึมเศร้าที่แตกต่างกัน บางคนอาจมีประสิทธิภาพทำงานแย่ลง ส่วนบางคนก็อาจยังทำงานได้ดีและน่าเชื่อถือเหมือนเดิม เพราะสำหรับคนทำงานเก่ง และประสบความสำเร็จ เวลามีภาวะซึมเศร้า อาจไม่ได้มีอาการเศร้าเหมือนคนทั่วไป แต่จะแสดงออกมาเป็นความกระตือรือร้นมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานที่เพิ่งหย่าร้าง หรือมีปัญหาส่วนตัวกับที่บ้าน อาจใช้เวลาอยู่ที่ทำงานมากกว่าปกติ และมักอาสาไปทำงานระยะไกล เนื่องจากรู้สึกดีกว่าการต้องกลับไปเจอเรื่องเศร้าหลังเลิกงาน ซึ่งพนักงานที่อยู่ในภาวะนี้ จะขยันผิดปกติเพื่อหลีกเลี่ยงการกลับบ้าน
การพูดคุย กินข้าว หรือสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน สามารถช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจกันมากขึ้น และยังช่วยให้พนักงานไม่ต้องเผชิญวันแย่ๆ อย่างโดดเดี่ยว แต่ถ้าพนักงานคนไหนถอนตัวจากเพื่อนฝูง หรือมักพูดคุยกับคนอื่นน้อยกว่าปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของอาการซึมเศร้าในที่ทำงานได้
กรณีนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับพนักงานที่เคยมีมนุษยสัมพันธ์ดีได้ด้วย เพราะอาการซึมเศร้าจะก่อให้เกิดความเฉื่อยชา และพูดน้อยลงกว่าเดิม เช่นเมื่อก่อนชอบมีส่วนร่วมในการนำเสนองาน แต่ตอนนี้ไม่ขอพูดอะไรในที่ประชุมแม้แต่ประโยคเดียว หรือเมื่อก่อนตอบอีเมลเร็ว แต่ตอนนี้ตอบอีเมลช้า หรือไม่ตอบเลย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ เสียงที่จะทำให้หนักงานคนนั้นตกงานมาก
หากการส่งงานให้ตรงเวลา หรือแม้แต่การมาทำงานให้ทัน กลายเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นในทุกๆ วัน ย่อมเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า พนักงานคนนั้นไม่ได้อยู่ในอารมณ์ที่พร้อมทำงาน
กรณีนี้ สังเกตได้จากพนักงานที่เมื่อก่อนเคยขยัน และมีส่วนในโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมายอย่างแข็งขัน แต่เมื่อเกิดความหดหู่ใจ เขาหรือเธอคนนั้นจะเริ่มมาทำงานสาย ส่งงานล่าช้ากว่ากำหนด ไปจนถึงไม่ใส่ใจที่จะเข้าร่วมประชุมกับคนอื่น
“อาการซึมเศร้าไม่ได้เป็นเพียงความรู้สึกหดหู่จนไม่อยากทำอะไรเท่านั้น แต่หลายครั้งก็ทำให้หงุดหงิดง่ายขึ้นด้วย เช่นพนักงานคนนั้นจะมีความรำคาญเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เวลาอยู่ในที่ทำงานตลอดเวลา และเพื่อนร่วมงานก็มักตกเป็นเป้าหมายของความโกรธนั้นอย่างไม่มีเหตุผล
มีความแตกต่างระหว่างการทนทำงานที่น่าเบื่อ กับการไม่แยแสต่องานอะไรเลย ซึ่งแบบหลังอาจเป็นสัญญาณของการ สูญเสียแรงจูงใจในงานที่เคยชอบทำ หรือคำยอดฮิตที่ใช้กันคือ “BURNOUT” ซึ่งพนักงานที่อยู่ในภาวะนี้ จะไม่สนุกกับงานอะไรเลย และส่งผลให้ผลงานที่ออกมาแย่ลงจนสังเกตได้
ทั้งหมดนี่เป็นส่วนหนึ่งของอาการซึมเศร้าที่พบได้ในตัวพนักงาน อย่างไรก็ตาม อาการซึมเศร้าในที่ทำงานเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป และไม่ใช่เรื่องน่าอายหากจะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาวิธีให้เราสามารถกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อีกครั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง