ประมวลสถานการณ์โลก 2567 "โลกรวน" ส่งผลกระทบทางธรรมชาติแก่ประเทศใดบ้าง? แต่ละสิ่งที่เจอสร้างผลกระทบ-ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตผู้คนอย่างไร?
‘เพลิงพิโรธ’ รับปีมังกร 2024 ประเทศชิลี เกิดเหตุไฟป่าครั้งรุนแรงถึงขนาดถูกเรียกขานว่า เป็นไฟป่าครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ หนักหนาสากรรจ์ถึงขั้นประธานาธิบดี กาเบรียล บอริก (Gabriel Boric) ประกาศว่า
“ชิลีกำลังเผชิญกับโศกนาฏกรรมครั้งเลวร้าย”
สำหรับสาเหตุของไฟป่านั้น ทางการตั้งข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เป็นการเผาโดยฝีมือมนุษย์ในแวงแคบ ๆ แต่เนื่องจากชิลี ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้กำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรง ผนึกกำลังความร้อนกับภัยแล้งจากเอลนีโญ ทำให้จากไฟที่ไหม้แค่จุด 4 จุด (ตามที่ทางการรายงาน) ก็ลุกลามมอดไหม้ป่าอย่างรวดเร็วถึง 161 จุด
สื่อต่างประเทศหลายสำนักรายงานว่า ภัยแล้งใน ‘สเปน’ ดินแดนกระทิงดุครั้งนี้ น่าจะเป็นครั้งที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 100 ปี อันสืบเนื่องมาจากคลื่นความร้อนที่ทำให้สเปนอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ โดยเมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา อากาศร้อนทะลุ 28 องศา
นอกจากนี้ เมืองเฟรเดส (Fredes) และเมืองวาเลนเซีย (Valencia) ซึ่งตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร อุณหภูมิกลับพุ่งสูง 1,200 เมตร ขณะเดียวกัน แคว้นบาร์เซโลน่าก็ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินภัยแล้ง แม่น้ำหลายแห่งแห้งเหือด เพราะไม่มีฝนตก (หนัก) มานาน 3 ปีติดต่อกัน
สำหรับสหรัฐ อาจเรียกได้ว่าเป็นปีแห่ง ‘สภาพอากาศเลวร้าย’ ทั้งเจอพายุหิมะพัดถล่ม ในบางรัฐอุณหภูมิติดลบ 50 องศา ถนนหนทาง บ้านเรือนกลายเป็นน้ำแข็ง แม้สถานการณ์จะดีขึ้นแล้ว แต่รัฐแคลิฟอร์เนียก็รับไม้ต่อภัยพิบัติไปแล้วเรียบร้อย
เพราะล่าสุด เกิดปรากฏการณ์ ‘แม่น้ำในชั้นบรรยากาศ’ อันเป็นจุดเริ่มต้นของสภาพอากาศแปรปรวน ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ที่รัฐแคลิฟอร์เนียเป็นปกติอยู่แล้ว ก่อให้เกิดอะไรบ้างเช่น พายุหลายลูก ฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง 112 กม./ชม. มิหนำซ้ำยังมีการรายงานว่า ‘หิมะจะตกหนัก’ อีกรอบ
อีกทั้งยังเกิดน้ำท่วม ดินถล่ม ต้นไม้ใหญ่ถูกโค่น รถหลายคันต้องจอดทิ้งไว้กลางถนน ด้วยเหตุนี้ 10 เมืองในรัฐแคลิฟอร์เนียประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว
ข้ามไปฟากยุโรป ที่ก็เจอโลกรวนเล่นงานไม่น้อยหน้าไปกว่าใคร แต่งานนี้หากเราเงยหน้าขึ้นไปมองน้ำแข็ง-หิมะบนเทือกเขาสูง จาก ‘ขาวโพลน’ สู่ ‘เกลี้ยงเตียน’ สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) ชี้ว่า ทวีปยุโรปอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วง 2 ถึง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา
Daily Mail ระบุว่า ลานสกีกว่า 90% ในประเทศอิตาลีต้องหันมาใช้หิมะเทียมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีหิมะมากเพียงพอ ให้คนยังสามารถไถสกีได้ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว อากาศร้อนระอุทำให้ปริมาณหิมะละลายลงมาก ขณะเดียวกันประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็สูญเสียจำนวนหิมะไปกว่า 50% ฝรั่งเศส 39%
ซึ่งหากสถานการณ์ ‘ลานสกีไร้หิมะ’ ยังเป็นแบบนี้ต่อไปสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งปกติแล้วสามารถดดึงดูดนักท่องเที่ยวจากอุตสาหกรรมการเล่นสกี (อย่างเดียว) กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินส่วนนี้จะหายวับเข้ากลีบเมฆ
ทางฟากของแดนน้ำหอม ชาวบ้านในอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับสกีรีสอร์ทตั้งคำถามว่า เราเดินทางมาถึงยุคที่ หิมะบนภูเขาละลายจนหมดจริง ๆ แล้วงั้นหรือ?
หลังจากที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ได้ออกมาประกาศเตือน ‘ภัยหิมะ’ ที่คาดว่าจะถล่มอย่างหนักในภูมิภาคคันโต-โคชิน ซึ่งกระทบถึงกรุงโตเกียวและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งก็เป็นดั่งคำคาดหมาย กรุงโตเกียวเฟื่องไปด้วยหิมะ
สำหรับสาเหตุนั้น สื่อทางจากแดนปลาดิบรายงานว่า เกิดจากความกดอากาศต่ำที่ขณะนี้กำลังก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ จากนั้นจะค่อย ๆ เคลื่อนไปทางตะวันออกไล่ไปตามแนวชายฝั่งของเกาะฮนซู เรื่องนี้เป็นปัญหาเพราะว่า ขณะนี้ปริมาณหิมะที่ตกหลงมานั้นมากเกินไป
เมืองมาเอะบาชิในจังหวัดกุมมะ มีปริมาณหิมะสูงสุดที่ 11 เซนติเมตร ในขณะที่กรุงโตเกียวและไซตามะมีหิมะสูงถึง 8 เซนติเมตร
ที่มา: Euro News, Reuters, Daily Mail
ข่าวที่เกี่ยวข้อง