ก่อนจะไปฟังคำตัดสินเกี่ยวกับกฎหมายมาตรา 112 ของนาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ วันที่ 31 มกราคม วันนี้ Spring จะพามาทำความรู้จักกับกฎหมายและอัตราโทษ ม.112 พร้อมกับเปิดรายชื่อผู้ที่โดนตัดสินจำคุกภายในเดือนมกราคมนี้ หนักที่สุดมีใครและ เหตุผลใดบ้าง
มาตรา 112 เป็นมาตราหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติไว้ว่า มาตรา 112 บางครั้งถูกเรียกย่อๆ ว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
มาตรา 112 มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี ไม่มีโทษปรับและโทษอื่นๆ หมายความว่า สำหรับการกระทำ 1 ครั้ง หรือในทางกฎหมายเรียกว่า 1 กรรม เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นความผิด ศาลก็มีดุลพินิจที่จะกำหนดโทษจำคุกเท่าไรก็ได้ระหว่าง 3-15 ปี การวางอัตราโทษเอาไว้กว้างๆ เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้เหมาะสมแตกต่างกันไปในแต่ละคดีเช่นนี้เป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกับการกระทำความผิดฐานอื่นๆ ในทางกฎหมาย ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีจะต้องดูความร้ายแรงขอการกระทำ ความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งสถานะของจำเลย โอกาสที่จำเลยจะสำนึกผิดหรือกลับตัวกลับใจแล้วค่อยกำหนดโทษให้แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละคดี
ผู้พิพากษาที่พิจารณา คดีม.112 ในศาลระบบปกติ ไม่ว่าจะเป็นศาลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆ หรือศาลอาญา การดำเนินคดีอาญา หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “ยี่ต๊อก” คือ เมื่อตัดสินว่าจำเลยมีความผิด ก็จะกำหนดบทลงโทษ จำคุก 5 ปี ต่อการกระทำ 1 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการโพสข้อความบนเฟซบุ๊ก หรือการนำข้อความขึ้นบนเว็บไซต์ การส่งอีเมล์ หรือปราศรัยในที่ชุมนุมทางการเมือง ศาลปกติก็วางโทษตาม “ยี่ต๊อก” ที่ 5 ปีเช่นเดียวกัน
ถ้าจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ ก็จะเป็นคดีที่เราเคยเห็นๆกันดี เช่น
คดี “อากง SMS” อายุ 61 ปี ถูกฟ้องว่าส่งข้อความสั้น SMS ไปหาเลขานุการของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งหมด 4 ครั้ง ศาลพิพากษาให้จำคุก การกระทำละ 5 ปี รวมโทษจำคุก 20 ปี
คดีของ “ดา ตอร์ปิโด” หรือคดีที่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ถูกฟ้องว่ากล่าวปราศรัยที่ท้องสนามหลวง 3 ครั้ง เมื่อปี 2551 ศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุก การกระทำละ 5 ปี รวมโทษจำคุก 15 ปี
เมื่อมกราคมที่ผ่าน ศาลได้มีการตัดสินคดีม.112 ที่สิ้นสุดลงแล้วรวม 13 ราย วันนี้Sprigได้
รวบรวมผู้ที่โดนโทษตัดสินจำคุกมากที่สุด 5 รายด้วยกันได้แก่
1.นาย นัฏฐพล ตัดสินเมื่อ 11 ม.ค. เวลา 9.00 น. ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 3 ปี
เลขคดี อ.2626/2566 คอมเมนต์โพสต์เฟซบุ๊ก "Somsak Jeamteerasakul" หลังจากอัยการสั่งฟ้องคดีและนัดตรวจพยานหลักฐาน นายนัฏฐพลก็ได้เข้ารับคำสารภาพ จึงลดโทษเหลือ 1 ปี 6เดือน
2.นาย พิทักษ์พงษ์ ตัดสินเมื่อ 16 มกราคม เวลา 9.00 น. ศาลลงโทษจำคุก 5 ปี
ได้โพสต์โพสต์ข้อความวิจารณ์กลุ่มปกป้องสถาบันฯ พาดพิงถึงความประพฤติของรัชกาลที่ 10 ศาลเห็นว่ากระทำผิดครั้งแรก จึงลดโทษเหลือ 2 ปี 6 เดือน
3.นาย อานนท์ นำภา ตัดสินเมื่อ 17 มกราคม เวลา 9.00 น. ลงโทษจำคุก 4 ปี ไม่รอลงอาญา
ได้โพสต์ข้อความ 3 ข้อความในเฟซบุ๊กซึ่งเปิดสาธารณะ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจคลาดเคลื่อน เป็นการบิดเบือนดูหมิ่น ให้ร้าย จาบจ้วง ล่วงละเมิดสถาบัน ถือเป็นความผิดร้ายแรง
4.นาย มงคล ถิระโคตร (บัสบาส) ตัดสินเมื่อ 18 มกราคม เวลา 9.00 น. ลงโทษจำคุก 50 ปี ไม่ได้รับการประกันตัว
ได้มีการโพสต์ใช้ถ้อยคำหยาบคายลงในเฟซบุ๊ก ลงภาพการทำให้พระบรมฉายาลักษณ์เสียหาย จำนวน 27 ข้อความ
5.สุทธิเทพ ตัดสินเมื่อ 25 มกราคม จำคุก 3 ปี ลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน รอลงอาญา 3 ปี
ได้โพสต์ข้อความโซเชียล วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ลงในกลุ่มเฟซบุ๊ก "คณะประชาชนปลดแอก - Free People"
ทั้งนี้ทั้งนั้น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยการตัดสินคดีความที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 มีจำนวน 7 นัดหมาย
และนัดหมายฟังคำพิพากษาคดีอื่นๆ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ชุมนุม ละเมิดอำนาจศาล อีก 10 นัดหมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง