SHORT CUT
เปิดโครงข่าย “ส่วยพนัน” ใต้ดิน เงินหมุนเวียนหมื่นล้านแต่ไร้การจัดเก็บภาษี ถูกใช้ซื้ออำนาจ คุ้มกันบ่อน จนกลายเป็นทุนการเมืองเถื่อนที่รัฐไทยไม่กล้าแตะ
“ใครบ้างที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจผิดกฎหมายขนาด 1.1 ล้านล้านบาท รู้…แต่ทำไมไม่จัดการ?”
ในเงามืดของเศรษฐกิจไทย ยังมีระบบขนาดใหญ่ที่ไม่มีอยู่ในงบประมาณแผ่นดิน ไม่มีตัวเลขในบัญชีรายรับของรัฐ แต่มูลค่ามหาศาลถึง เกือบ 8 หมื่นล้านบาท/ปี ระบบนี้เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ส่วย”
ส่วย…คือระบบเศรษฐกิจคู่ขนานของผู้มีอำนาจ
ภายใต้การเติบโตของบ่อนการพนันและเว็บพนันออนไลน์ ระบบ “ส่วย” กลายเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างดำเนินต่อได้อย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็น การเปิดบ่อนในเมืองใหญ่ การโฆษณาเว็บพนันผ่านโซเชียล รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายเงินจำนวนมากโดยไม่มีใครตรวจสอบ
ข้อมูลจากเอกสารลับภายในระบุว่า โครงสร้างการจ่ายส่วยในไทย แบ่งได้ 2 กลุ่มหลัก
เงินเหล่านี้ไม่เข้าคลัง ไม่ถูกตรวจสอบ ไม่สามารถตรวจสอบย้อนหลัง และ ไม่สามารถฟ้องร้องผู้รับได้ในทางกฎหมาย
“เงินส่วย” เดินทางอย่างไร?
จากการรวบรวมข้อมูลของทีมข่าวเชิงสืบสวน พบเส้นทางการจ่ายส่วยแบ่งเป็น 3 ชั้นสำคัญ:
1.เจ้าของบ่อน/เว็บ → จ่ายตรงให้ “พี่ใหญ่” หรือกลุ่มคุ้มกันในพื้นที่
2.เครือข่ายเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ → ตำรวจ-ฝ่ายปกครอง-บางส่วนในฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น
3.ส่งต่อส่วนแบ่งสู่ระดับบน → โดยเฉพาะในพื้นที่บ่อนขนาดใหญ่หรือเว็บรายใหญ่ ที่อาจมีสายตรงไปถึงนักการเมือง-ข้าราชการระดับสูง
“ยิ่งบ่อนใหญ่ ยิ่งอยู่ในเมือง ยิ่งต้องจ่ายมาก เพราะการคุ้มกันแพง” — แหล่งข่าวในวงการให้ข้อมูล
คำถามใหญ่ที่สังคมตั้งคือ ทำไมรัฐจึงปล่อยให้เงินมหาศาลไหลไปในระบบส่วย ทั้งที่ สามารถเก็บภาษีได้ปีละ 2.2 แสนล้านบาท ปราบปรามได้หากต้องการจะทำ ที่สำคัญสามารถควบคุมความเสียหายทางสังคมได้
แต่นักวิเคราะห์ชี้ว่า ปรากฏการณ์ “Policy Inertia” หรือภาวะที่รัฐไม่กล้าเปลี่ยนแปลงระบบ เกิดจากการที่บางคน มีส่วนได้เสียกับสภาพที่เป็นอยู่
เมื่อส่วยไม่ใช่แค่เรื่องเงิน…แต่คืออำนาจ เงินจากส่วยจำนวนหลายหมื่นล้านบาทต่อปี กลายเป็นแหล่งทุนการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ใช้เลี้ยงเครือข่าย ใช้ซื้ออำนาจต่อรอง และอาจถูกนำกลับมาใช้ในการเลือกตั้ง
“ระบบนี้ซับซ้อนเกินจะล้มได้ ถ้าไม่ตัดอำนาจของคนที่คุ้มกันมันอยู่” — ข้อสรุปจากอดีตนายตำรวจระดับสูง
อ้างอิง