svasdssvasds

ประกันสังคม เงินของใคร! ขอเงินคืนไม่ได้ บอร์ดใช้จ่ายฟุ่มเฟือย?

ประกันสังคม เงินของใคร! ขอเงินคืนไม่ได้ บอร์ดใช้จ่ายฟุ่มเฟือย?

ประกันสังคม เป็นเงินของใครกันแน่? เมื่อผู้ประกันตนเจ้าของผู้ส่งเงินสมทบขอคืนเงินไม่ได้ แต่กลับถูกเปิดข้อมูลว่าบอร์ดใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย ไม่คุ้มค่า

SHORT CUT

  • ประกันสังคม จากสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน สู่คำถามว่าเราจ่ายเงินสมทบไป "คุ้มค่าหรือไม่" 
  • เมื่อเกิดวิกฤตโควิด แรงงานกลุ่มหนึ่งพยายามจะขอเลือก-ขอคืน-ขอกู้ เงินสมทบของตัวเองออกมาประทังชีวิตช่วงตกงานก่อน "ก็ทำไม่ได้"
  • แต่กลับมีข่าวว่าบอร์ดประกันสังคม ใช้เงินสมทบส่วนการบริหารงานกองทุนไปอย่างฟุ่มเฟือยไม่คุ้มค่า เช่น การสร้างแอพมูลค่า 276 ล้านบาท แจกปฏิทินราคาแพงกว่าตลาด

ประกันสังคม เป็นเงินของใครกันแน่? เมื่อผู้ประกันตนเจ้าของผู้ส่งเงินสมทบขอคืนเงินไม่ได้ แต่กลับถูกเปิดข้อมูลว่าบอร์ดใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย ไม่คุ้มค่า

ประกันสังคม สวัสดิการเพื่อแรงงานที่ได้มาจากขบวนการต่อสู้ของประชาชน แต่วันนี้เต็มไปด้วยคำถามว่าเป้าหมายของกองทุนนี้ยังเป็นไปเพื่อประชาชนจริงหรือไม่ ทั้งข้อสงสัยต่อความโปร่งใสการใช้งบประมาณในการบริหาร การจัดทำแอพพลิเคชันราคา 275 ล้านบาท ทริปดูงานหรูที่ยุโรปของบอร์ดฯ ประกันที่บังคับคนทำงานในระบบบริษัทจ่ายเบี้ยเดือนละ 750 บาท เพื่อเฉลี่ยทุกข์-สุข เป็นหลักประกันให้กลุ่มอาชีพที่ไม่ใช่ข้าราชการ ยังคุ้มค่าและเป็นธรรมต่อแรงงานจริงหรือ?


ผู้ประกันตนขอเงินของตัวเองคืนออกมาไม่ได้ 


เมื่อปี 2563 เกิด "กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน" ช่วงการแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคโควิด-19 ทำให้หลายคน "ตกงาน" อย่างกระทันหันเพราะหลายธุรกิจไปต่อไม่ได้ กลุ่มดังกล่าวจึงออกมาเรียกร้อง "ขอคืนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม" ของตนเองเอามาเยียวยา เพราะหลายคนมีอายุมากเกินกว่าจะหางานใหม่ แต่ยังมีอายุไม่ถึง 55 ปี ตามเกณฑ์ขอรับเงินบำเน็จ-บำนาญ ของประกันสังคมได้ โดยมีข้อเรียกร้อง 3  ขอ คือ

  1. ขอเลือก : ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกว่าเมื่ออายุครบ 55 ปีแล้วจะขอรับเป็นเงินบำนาญหรือเงินบำเน็จ
  2. ขอคืน : เสนอขอคืนเงินสบทบ(ของตัวเอง) ในอัตรา 30% หรือ 50% จากเงินทั้งหมดที่ส่งเข้ากองทุน มาให้ผู้ประกันตนก่อนถึงวัยเกษียญ
  3. ขอกู้ : ขอกู้เงินจากเงินที่ส่งสมทบเข้ากองทุน โดยจ่ายดอกเบี้ยราคาถูก 

ประกันสังคม เงินของใคร! ขอเงินคืนไม่ได้ บอร์ดใช้จ่ายฟุ่มเฟือย?
แต่สุดท้ายก็คว้าน้ำเหลว "ทุกข้อเรียกร้อง" ไม่สามารถขอเงินคืนจากกองทุนได้แม้แต่บาทเดียว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำเพียง "รับปาก" ว่าจะมีการแก้ พรบ.ประกันสังคม แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นความคืบหน้าแม้แต่น้อย (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ นายสัตวแพทย์บูรณ์ อารยพล กลุ่มขอคืนไม่ขอทาน) 
 

จ่ายแพง สวัสดิการห่วย ขาดส่งก็ขาดสิทธิ


ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ต้องจ่ายเงินสบทบสูงสุดถึงเดือนละ 750 บาท (สำหรับผู้มีเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป) มีนายจ้างสมทบในอัตราเท่ากัน และรัฐสมทบอีก 2.75% ของรายได้ (เพดานเงินเดือน 15,000 บาท)  ทำให้เราเสียเงินให้กับประกันสังคมเฉลี่ยปีละมากกว่า 18,000 บาท (รวมเฉพาะลูกจ้างและนายจ้าง ในอัตราเงินเดือน 15,000 บาท) แต่กลับได้รับสวัสดิการที่ต่ำกว่าระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)

นอกจากนี้ หากตกงานกระทันหัน หลุดออกจากระบบ ผู้ประกันตนมาตรา 39 ขาดส่งเงินประกันสังคมติดต่อกัน 3 เดือน หรือผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนในรอบ 12 เดือน จะทำให้ "พ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนทันที" หมดโอกาสได้สิทธิรักษาพยาบาลและรับเงินบำนาญหลังเกษียณ

บอร์ดถูกแฉใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่พัฒนางานไม่ถึงไหน


ล่าสุด สส.รักชนก ศรีนอก พรรคประชาชน ออกมาแฉข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณค่าบริหารของทุนของบอร์ดประกันสังคมที่ดูฟุ่มเฟือย ไม่สมเหตุสมผล เช่น

  • การผลิตปฏิทินประกันสังคม 8 ปีย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 450 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์สิทธิของผู้ประกันตน
  • งบประมาณสายด่วน (Call Center) 1506 ใช้งบ 100 ล้านบาทในทุกปีและมักจะโทรไม่ติด
  • พัฒนาแอพลิเคชั่น SSO+ งบประมาณ 276 ล้านบาททั้งที่เคยมีแอพลิเคชันเดิมชื่อ SSO Connect อยู่แล้ว
  • งบอบรมสัมมนาที่มีความซ้ำซ้อน

ในขณะที่ถูกตั้งคำถามว่ากองทุนกำลังเสี่ยงจะล้มละลาย ผู้ประกันตนอาจไม่ได้เงินบำนาญในอนาคตเพราะผลตอบแทนจากการลงทุนที่เติบโตต่ำ

ถึงเวลาหรือยัง? ที่กฎหมายและระบบบริหารของกองทุนประกันสังคมต้องถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง เงินของแรงงาน ควรเป็นของแรงงาน เงินที่ถูกใช้เพื่อบริหารควรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใส พัฒนากองทุนให้เติบโตมั่นคงอย่างแท้จริง

related