svasdssvasds

อุทาหรณ์ "ต้าเอส" ป่วยไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่น พบแพทย์ยาก สุดท้ายเสียชีวิต

อุทาหรณ์ "ต้าเอส" ป่วยไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่น พบแพทย์ยาก สุดท้ายเสียชีวิต

ไทม์ไลน์ "ต้าเอส หรือ สวีซีหยวน" นักแสดงชื่อดังไต้หวัน ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุA เสียชีวิต เผยไปโรงพยาบาล ถึง 4 ครั้ง แต่ไม่ได้ให้นอนโรงพยาบาล จนทรุดหนักถึงชีวิต

อุทาหรณ์ \"ต้าเอส\" ป่วยไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่น พบแพทย์ยาก สุดท้ายเสียชีวิต กรณีข่าวเศร้า "ต้าเอส" (สวี ซีหยวน)  ผู้รับบทบาท "ซานไช่" ในซีรีส์ดัง เรื่อง รักใสใสหัวใจสี่ดวง(2001)  เสียชีวิต ขณะไปเที่ยวญี่ปุ่นกับครอบครัวช่วงเทศกาลตรุษจีน ด้วยโรคไข้หวัดใหญ่และมีภาวะแทรกซ้อนปอดบวม 

เพจข่าวสารบันเทิงจีน อ้างอิง ETtoday สื่อชื่อดังของไต้หวัน ว่า  "ต้าเอส" ไป รพ.ถึง 4 ครั้ง แต่ขอให้ถูกกลับมากินยาที่โรงแรมทุกครั้ง จนกระทั่งทรุดหนักและเสียชีวิตในที่สุด

ซู่ อี้เฟิง แพทย์โรคทรวงอก แสดงความเสียใจว่า

“การรักษาพยาบาลในต่างประเทศไม่สะดวก และเธอไม่ได้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เธอไปหาหมอถึง 4 ครั้ง แต่ถูกขอให้กลับบ้านซ้ำแล้วซ้ำเล่า การดูแลทางการแพทย์ของไต้หวันดีที่สุดในโลกอย่างแท้จริง ไม่ต้องสงสัยเลย” 
 

ไทม์ไลน์การป่วยและรักษา ของ "ต้าเอส" 

  • 29 ม.ค. เดินทางมาถึงญี่ปุ่น เมืองฮาโกเนะ และมี อาการเป็นหวัดอยู่แล้วในขณะนั้น รู้สึกไม่สบาย 
  • 30 - 31 ม.ค. โรงพยาบาลจ่ายยาให้เธอมากินที่ห้อง แต่อาการทรุดลง ครอบครัวเรียกรถพยาบาลและถูกนำตัวไปโดยรถพยาบาลกลางดึก แล้วก็ถูกส่งกลับ
  • 1 ก.พ. ต้าเอสไปโรงพยาบาลเล็กๆ ไม่สามารถรักษาเธอได้ จึงแนะนำให้ไปโรงพยาบาลใหญ่แทน โดยบอกว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ และสั่งยาให้ต้าเอสทาน 
  • 1 ก.พ. กลางคืน  อาการของต้าเอส ทรุดอย่างรวดเร็ว  จึงโทรเรียกรถพยาบาลมานำตัวส่งโรงพยาบาล   
  • 2 ก.พ. เช้า เสียชีวิตท่ามกลางความโศกเศร้าของครอบครัว

อุทาหรณ์ \"ต้าเอส\" ป่วยไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่น พบแพทย์ยาก สุดท้ายเสียชีวิต

ตามรายงานของสื่อไต้หวันเหตุที่ "ต้าเอส" จึงไม่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  เชื่อว่ามีประเด็นสำคัญ สองประการ  

  • ประการแรก รพ.ในญี่ปุ่น ใช้ระบบการวินิจฉัย และการรักษาแบบลำดับชั้นอย่างเข้มงวด ในสถานที่ชนบท เช่น ฮาโกเนะหรือฮอกไกโด รพ.ในชนบทอาจไม่มีห้องฉุกเฉิน แพทย์ประจำเวร หรือห้องไอซียู ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องถูกส่งตัวไปยังสถาบันการแพทย์ระดับสูงกว่า  
  • ประการที่สอง แพทย์ญี่ปุ่นค่อนข้างไม่อยากรับคนไข้ชาวต่างชาติ ไม่เพียงแต่จะคิดเงินแพงกว่าถึง 300% เท่านั้น แต่ยังไม่เต็มใจที่จะรับคนไข้ชาวต่างชาติอีกด้วย  กรณีนี้แม้ว่าต้าเอส จะเข้าโรงพยาบาลหลายครั้ง แต่เธอก็ไม่สามารถรับการรักษาที่เหมาะสมได้ทันเวลา

สำหรับ ความคิดเห็นประชาชน เชื่อว่าที่ ต้าเอส ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในญี่ปุ่นนั้น  เพราะ ข้อบกพร่องของระบบการแพทย์ของญี่ปุ่น การขาดแคลนทรัพยากรทางการแพทย์ของญี่ปุ่นเนื่องจากเป็นสังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับกำลังเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง ทำให้ขาดแคลนยา และบุคลากรทางการแพทย์ 
.
ความคิดเห็นจากชาวเน็ตไทย - ญี่ปุ่น  
- รพ. ที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้เปิด 24 ชม. และกลางคืนรพ. ที่เปิดไม่ได้เปิดทุกแผนก ไม่ได้มีหมอเยอะ
 -เรียกรถพยาบาล  ส่วนใหญ่ รพ. เค้าก็จะให้กลับมาบ้านค่ะ ยกเว้นโชคดีรพ.ได้แอดมิทกลางดึกคือ คุณโชคดีค่ะ
- คนไทยเราเองก็โดนสปอยโดยรพ.ไทยมาเยอะ เวลามาเที่ยวญี่ปุ่น เตรียมหน่อยก็ดีนะคะ
- ที่ญี่ปุ่นเป็นแนวคนไข้ active  -> ฉีดวัคซีน / ตรวจสุขภาพ/ รักษาสุขภาพ ใครมีโรคประจำตัวก็ต้องระวังเอง ออกไปไหนต้องแมสก์เอง 
 

related