svasdssvasds

รู้จักพระราชพิธีสมมงคล ราชประเพณีโบราณ สัญลักษณ์แห่งความกตัญญู

รู้จักพระราชพิธีสมมงคล ราชประเพณีโบราณ สัญลักษณ์แห่งความกตัญญู

รู้จัก "พระราชพิธีสมมงคล" ราชประเพณีโบราณ สัญลักษณ์แห่งความกตัญญูของพระมหากษัตริย์ถึงสมเด็จพระบรมราชบูรพการี 14 มกราคม 2568 พิธีสมมงคลแรกในรัชสมัย โอกาสในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมายุเท่ากับพระชนมายุของในหลวงรัชกาลที่ 1

SHORT CUT

  • ทำความรู้จัก "พระราชพิธีสมมงคล" โบราณราชประเพณีที่สะท้อนถึงความกตัญญู
  • ในวันที่ 14 มกราคม 2568 นี้ จะมีการพระราชพิธีสมมงคลอีกครั้ง ในวาระพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่ากับพระชนมวารของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
  • รัฐบาลจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีสมมงคล รวมทั้งสิ้น 7 กิจกรรมสำคัญ

รู้จัก "พระราชพิธีสมมงคล" ราชประเพณีโบราณ สัญลักษณ์แห่งความกตัญญูของพระมหากษัตริย์ถึงสมเด็จพระบรมราชบูรพการี 14 มกราคม 2568 พิธีสมมงคลแรกในรัชสมัย โอกาสในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมายุเท่ากับพระชนมายุของในหลวงรัชกาลที่ 1

“พระราชพิธีสมมงคล” (อ่านว่า สะ-มะ-มง-คน) เป็นราชประเพณีอันทรงเกียรติที่มีมาแต่โบราณ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะทรงอนุสรณ์ถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชบูรพการีในโอกาสพิเศษ เช่น วันดำรงสิริราชสมบัติเวียนมาพ้องกัน หรือวันพระชนมพรรษาเสมอกัน พระราชพิธีนี้สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงมีต่อชาติบ้านเมือง



วันที่ 14 มกราคม 2568 เป็นวันมหามงคลสมัยพิเศษที่ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมายุ 26,469 วันซึ่งเท่ากับพระชนมายุของ "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งราชวงศ์จักรี อันเป็นโอกาสสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย ถือเป็นการแสดงวัฒนธรรมที่ดีงามของพระมหากษัตริย์ของชาติไทยในการที่ทรงสร้างแบบอย่างความกตัญญูกตเวทิตา แสดงความเคารพรําลึกถึงบรรพชนปู่ย่าตายายที่ประกอบคุณความดีไว้แก่บ้านเมืองให้ราษฎรยึดถือเป็นแบบแผน

พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นพระราชประเพณีที่ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมา ในรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีในลักษณะเดียวกันนี้มาแล้ว 4 วาระ คือ การพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 การพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2528   การพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และ การพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งนับพระชนมวารได้ 26,467 วัน
 

ในปีนี้ รัฐบาลได้เตรียมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีสมมงคลครั้งนี้ รวมทั้งหมด 7 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่

 

พิธีสืบพระชะตาหลวง

  • จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 20 มกราคม 2568 ณ สวนสราญรมย์และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยมีพระราชพิธีตามราชประเพณีเพื่อความเป็นสิริมงคล

บูรณปฏิสังขรณ์วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี

  • การฟื้นฟูและอนุรักษ์วัดสำคัญที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานในจังหวัดอุทัยธานี

การจัดแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์

  • จัดแสดง ณ ลานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในวันที่ 14 มกราคม 2568 เพื่อถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่า

การจัดทำเหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึก

  • เป็นของที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ อันแสดงถึงความภาคภูมิใจในพระราชพิธีครั้งนี้

พิธีทางศาสนาและกิจกรรมถวายพระราชกุศล

  • จัดขึ้นในศาสนสถานที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทั่วประเทศ

พิธีเจริญพระพุทธมนต์และจิตตภาวนา

  • การรวมพลังศรัทธาของพสกนิกรเพื่อถวายพระราชกุศล

กิจกรรมปลูกต้นไม้

  • จัดขึ้นที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

related