svasdssvasds

เวลาผ่านไปเร็ว เมื่อเราอายุมากขึ้นคือเรื่องจริง ไม่นานก็ปีใหม่อีกแล้ว !?

เวลาผ่านไปเร็ว เมื่อเราอายุมากขึ้นคือเรื่องจริง ไม่นานก็ปีใหม่อีกแล้ว !?

เผลอแป๊บเดียวเดี๋ยวปีใหม่อีกแล้ว ทำไมยิ่งอายุมาก เรายิ่งรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็ว หมดวันเร็ว เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างไร และเราจะมีวิธียืดเวลาไหม ?

SHORT CUT

  • สมัยเด็ก ๆ หนึ่งปีอาจรู้สึกยาวนานราวกับชั่วนิรันดร์ แต่เมื่อเราโตขึ้น ปีหนึ่งกลับผ่านไปในพริบตา
  • คนอายุ 40 มีประสบการณ์ชีวิตอย่างลึกซึ้ง เรื่องราวต่างๆ จึงถูกประมวลผลต่างกับตอนเป็นเด็ก ยิ่งเราทำอะไรที่ซ้ำกับประสบการณ์ชีวิตเดิมๆ เวลาก็จะยิ่งผ่านไปเร็ว
  • หากไม่อยากให้แต่ละปีผ่านล่วงเลยเร็วเกินไป จงเปลี่ยนกิจวัตรซ้ำ ๆ เปลี่ยนเส้นทางเดินทาง หรือเปลี่ยนมาทำสิ่งที่ไม่เคยทำดู เพื่อสร้างให้ระบบประสาทได้ประมวลผลสิ่งใหม่ๆ 

เผลอแป๊บเดียวเดี๋ยวปีใหม่อีกแล้ว ทำไมยิ่งอายุมาก เรายิ่งรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็ว หมดวันเร็ว เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างไร และเราจะมีวิธียืดเวลาไหม ?

เผลอแป๊บเดียว ปี 2025 มาเยือนแล้ว! ทั้ง ๆ ที่ยังรู้สึกเหมือนเพิ่งฉลองปี 2024 เมื่อวานนี้อยู่เลย แก้วแชมเปญยังไม่ทันล้าง บทสวด "สุขสันต์ปีใหม่" ยังไม่ทันจบดี เวลาก็ลากเราเข้าปีใหม่ไปแบบหน้าตาเฉย

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเมื่อเราโตขึ้น เวลาถึงดูเหมือนผ่านไปเร็วขึ้นทุกที? สมัยเด็ก ๆ หนึ่งปีอาจรู้สึกยาวนานราวกับชั่วนิรันดร์ แต่เมื่อเราโตขึ้น ปีหนึ่งกลับผ่านไปในพริบตา เหตุใดความรู้สึกเช่นนี้จึงเกิดขึ้น และมันสะท้อนถึงอะไรในชีวิตของเราบ้าง?

บางคนอาจบอกว่าเป็นเพราะชีวิตที่ยุ่งเหยิง หรือกิจวัตรประจำวันที่ซ้ำซากจนทำให้เราไม่ทันสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเวลา แต่ความจริงแล้ว เรื่องนี้เกี่ยวพันกับจิตวิทยาและการรับรู้ของเราเกี่ยวกับเวลา ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและประสบการณ์ชีวิตของเราเอง

PHOTO เวลาผ่านไปเร็ว เมื่อเราอายุมากขึ้นคือเรื่องจริง ไม่นานก็ปีใหม่อีกแล้ว !?

ทำไมเวลาผ่านไปเร็วมากในแต่ละปี ?

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บอกว่า “เวลาเป็นสิ่งสัมพัทธ์” (Relative time) ซึ่งเสนอว่าเวลาไม่ได้เป็นสิ่งสมบูรณ์และคงที่สำหรับทุกคน แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่นชั่วโมงที่ใช้กับคนที่เราชอบจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่แค่เพียงชั่วครู่ที่เอามือแตะจานร้อนกลับรู้สึกยาวนานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยต่าง ๆ ชี้ให้เห็นอย่างต่อเนื่องว่าการรับรู้ของเราว่าเวลาผ่านไปเร็วแค่ไหนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจริง ๆ เมื่อเราอายุมากขึ้น

จากการศึกษาล่าสุดในรายงาน “Distortions to the passage of time for annual events” โดย “มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล จอห์น มัวร์ส (Liverpool John Moores University) พบว่าคนส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรรู้สึกว่าคริสต์มาสมาถึงเร็วขึ้นทุกปี ในขณะที่คนในอิรักรู้สึกว่ารอมฎอนก็มาถึงเร็วยิ่งขึ้นเหมือนกัน

ปรากฏการณ์นี้เรียกง่ายๆ ว่า “เวลาที่คุณรับรู้ไม่เหมือนกับเวลาที่คนอื่นรับรู้” ซึ่งเกิดจาก ปัจจัยทางสรีรวิทยา เช่นตอนเป็นเด็ก ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนดูเหมือนยาวนานราวกับใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด และช่วงบ่ายของวันว่างๆ จะยาวนานเป็นพิเศษ แต่พอเข้าสู่วัยเรียนที่สูงขึ้น หรือวัยทำงานเวลาในวันว่างๆ กับผ่านไปเร็วจนน่าใจหาย ซึ่งวิทยาศาสตร์ที่อธิบายเรื่องนี้ว่าเป็น การประมวลผลข้อมูลภาพของเราเมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งอายุมากขนาดและความซับซ้อนของเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองเพิ่มขึ้น สัญญาณไฟฟ้าจึงต้องเดินทางไกลขึ้น ทำให้การประมวลผลสัญญาณภาพต่างๆ ช้าลง ผลที่ตามมาคือ เรารับรู้ "เฟรมต่อวินาที" น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วขึ้นนั่นเอง

กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ คือ ตอนอายุน้อย ประสบการณ์ชีวิตเราน้อย สำหรับเด็กอายุ 4 ขวบ หนึ่งปีถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มากของช่วงชีวิตที่เขาเคยมีมา มีสิ่งใหม่เข้ามาในสมองมากมาย ส่วนคนอายุ 40 มีประสบการณ์ชีวิตอย่างลึกซึ้ง เรื่องราวต่างๆ จึงถูกประมวลผลต่างกับตอนเป็นเด็ก ยิ่งเราทำอะไรที่ซ้ำกับประสบการณ์ชีวิตเดิมๆ เวลาก็จะยิ่งผ่านไปเร็ว ระบบประสาทเราจึงเหมือนกับหนังสือภาพที่มีภาพน้อยลง และเราจะพลิกไปถึงหน้าสุดท้ายได้เร็วขึ้น

  วิธียืดเวลา แม้อายุมากขึ้น 

วิธียืดเวลา แม้อายุมากขึ้น 

ถึงตรงนี้สรุปได้ว่า หากไม่อยากให้แต่ละปีผ่านล่วงเลยเร็วเกินไป จงเปลี่ยนกิจวัตรซ้ำ ๆ ประจำวัน เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เปลี่ยนเส้นทางเดินทาง หากคุณใช้เส้นทางเดิมในการไปทำงานหรือกลับบ้าน ลองเปลี่ยนเส้นทางเพื่อดูวิวใหม่ ๆ และแวะร้านกาแฟที่ไม่เคยลอง หรือเปลี่ยนเวลาตื่นนอน เปลี่ยนเวลาออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนมาทำสิ่งที่ไม่เคยทำดู เพื่อสร้างให้ระบบประสาทได้ประมวลผลสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งจะช่วยให้แต่ละปีดูเหมือนยาวนานขึ้นได้มากเลยทีเดียว

ที่มา : journals

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

 

related