รัฐบาลแจงไทม์ไลน์ช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้แบบละเอียด ประกาศเตือนตั้งแต่ 24 พ.ย. ระดมทุกหน่วยลงหน้างาน เรียกทีมโฆษกหารือ เร่งประชาสัมพันธ์ฟื้นน้ำท่วมใต้ ใช้แม่สายโมเดล
จากกรณีกระแสดราม่านายกฯ ไม่สนใจคนใต้ ลั่นสามีก็เป็นคนใต้ น้ำตาคลอแจง ไม่ได้ละเลย เป็นนายกฯ ของคนทั้งประเทศ ต้องรักษาสัญญา ขอดูสถานการณ์ก่อนลงพื้นที่ หวั่นกระทบคนทำงาน ย้ำมาตรการความช่วยเหลือต้องถึง สำคัญกว่าต้องไปปรากฎตัว โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ว่าตั้งแต่เกิดเหตุมีรองนายกฯและรัฐมนตรีจำนวน 4 ท่านลงพื้นที่ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ได้มีการพูดคุยกับทางธนาคารซึ่งจะมีการปรับเหตุการณ์ช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมภาคเหนือไปใช้ภาคใต้ด้วย เมื่อถามว่าจะชี้แจงอย่างไรเพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้ละเลยคนในพื้นที่ภาคใต้หลังมีกระแสดราม่า
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษก ศปช. เปิดเผยว่า ตามที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะ ผอ.ศปช. ได้สั่งการให้คณะทำงาน ศปช.เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งสำรวจโดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำลดว่า มีความเสียหายรูปแบบใดและให้กำหนดแนวทางเยียวยานำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยผ่านกลไก ศปช. ซึ่งมีการทำงานต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ และสามารถเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์ในภาคใต้ได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ยังได้มีข้อสั่งการให้ประสานกรมบัญชีกลาง เพิ่มงบทดรองจ่ายของผู้ว่าราชการจังหวัดจาก 20 ล้านเป็น 50 ล้าน และ ปภ. เร่งจัดสรร สรรพกำลัง อุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ โดยเฉพาะ พาหนะทางน้ำ ตามที่ได้รับการร้องขอจากพื้นที่ทันที รวมทั้งทุกหน่วยงานอพยพผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง ไปยังจุดปลอดภัย พร้อมให้กระทรวงสาธารณสุข ระดมแพทย์และบุคลากรทั้งหมดในพื้นที่ขนย้ายผู้ป่วยออกจากพื้นที่วิกฤตและจัดตั้งศูนย์พักพิงให้ความช่วยเหลือและอยู่อาศัยได้จนเข้าสู่ภาวะปกติ
ตั้งแต่วันแรกที่ฝนตกลงมาอย่างหนัก ปภ.ได้ประสาน กสทช.และค่ายมือถือส่ง SMS ไปยังประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดที่มีความเสี่ยงประสบภัยรุนแรง ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และนครศรีธรรมราช ทำให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเตรียมตัวได้ทัน มีการขนย้ายข้าวของไปไว้บนที่สูง ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้จำนวนมาก
หลังมีกระแสดรามา ที่นายกฯ ชี้แจงกระแสโซเชียล หลังถูกกล่าวหาว่าละเลยภาคใต้ที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วม "คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้" จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง ล่าสุดวันนี้ (2 ธ.ค. 2567) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ไอจีสตอรี่ เมื่อเวลาประมาณ 08.30 น. เป็นข้อความภาษาอังกฤษ ระบุว่า "Your negativity is a reflection of your own reality." 100% ซึ่งหากแปลเป็นภาษาไทย ความหมายคือ "ความคิดเชิงลบของคุณ สะท้อนถึงความเป็นจริงของตัวคุณเอง"
นอกจากนั้น ยังมีการแชร์ไอจีสตอรี่ ต่อ ระบุข้อความภาษาอังกฤษว่า "INSECURE PEOPLE PUT OTHERS DOWN TO RAISE THEMSELVES UP" ซึ่งหากแปลเป็นภาษาไทย ความหมายคือ คนที่ไม่มีความมั่นใจ กดคนอื่นให้ต่ำลง เพื่อยกตนเองให้สูงขึ้น
วันนี้ (2 ธ.ค. 2567) เวลา 11.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 14 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์ท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ในช่วงวันที่ 3 – 5 ธ.ค. 67 โดยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ สภาพน้ำ ปริมาณฝน และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดทีมปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมอยู่เดิม ให้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างเต็มกำลัง เพื่อลดผลกระทบจากเหตุอุทกภัยให้น้อยที่สุด รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามพยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เชิญคณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะทำงานเข้าพบพูดคุยเรื่องนโยบายโดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมือง และเรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ โดยนายกรัฐมนตรีย้ำว่าให้อธิบายให้ประชาชนเข้าใจถึงนโยบายต่างๆที่รัฐบาลได้ทำกันมาโดยเฉพาะแม่สายโมเดลไม่ว่าจะเป็นการเข้าฟื้นฟูระยะแรก ระยะกลางและระยะยาว โดยที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายได้มีการอนุมัติงบประมาณกว่า 20,000 หมื่นล้านบาท แล้วหลังจากนี้นายกรัฐมนตรีบอกว่า ในพื้นที่ภาคใต้ จะต้องเข้าสู่เฟสที่สองหลังจากมีการฟื้นฟูสถานการณ์น้ำท่วม และใช้โมเดลไม่น้อยไปกว่าภาคเหนือ เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ในการแก้ไขปัญหา
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีมีดำริในการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติที่ไม่ใช่จัดการปัญหาแค่น้ำท่วมเพียงอย่างเดียวแต่ในอนาคตประเทศไทยก็อาจจะเจอกับภัยหนาวและภัยฝน ซึ่งในวันพรุ่งนี้(3 ธ.ค.67)ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรก็ตามแต่ ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ รัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างฉับพลันทันที อาจจะเป็นการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องมีการสั่งการอย่างชัดเจนโดยใช้แม่สายโมเดลที่ประสบความสำเร็จ
ส่วนการลงพื้นที่ภาคใต้ของนายกรัฐมนตรีจะมีการพูดคุยในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์น้ำลดแล้ว การลงพื้นที่มีทั้งบวกและลบ ซึ่งการลงหรือไม่ลงการสั่งการถือเป็นเรื่องที่สำคัญของทุกรัฐบาลไม่ว่าจะลงหรือไม่ลงพื้นที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการมาอย่างต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง